วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประโยชน์และโทษของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์

ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอนินทรีย์
ข้อดี
ใช้ปริมาณเพียงเล็กน้อย ปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืชเร็ว ทำให้พืชเจริญ เติบโต และให้ผลผลิตรวดเร็ว เพราะมีปริมาณธาตุอาหารพืชสูง สามารถเลือกสูตรปุ๋ยตามต้องการ
ข้อด้อย
ถ้าใช้มากเกินไปจะมีผลทำให้ดินมีสมบัติเปลี่ยนไป เช่น ทำให้ดินเป็นกรด ดินไม่ร่วนซุย

ปุ๋ยอินทรีย์
ข้อดี
ช่วยปรับปรุงลักษณะรักษาสมบัติต่างๆ ของดิน มีอาหารพืชตามธรรมชาติทั้งสารอินทรีย์และอนินทรีย์ต่างๆ ในปริมาณพอเหมาะ ทำให้พืชเจริญเติบโต ส่งเสริมให้จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อการบำรุงดินสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อด้อย
มีกลิ่นรบกวน อาจมีจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายต่อพืชปะปนอยู่มาก มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่ำ ต้องใช้ในปริมาณมาก

ปุ๋ยอินทรีย์

ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยธรรมชาติ(Organic Fertilizer) คือ ปุ๋ยที่ได้จากสิ่งมีชีวิตที่ตายและถูกทับถมกันนานๆ จนเกิด การเน่าเปื่อยสลายตัวและให้แร่ธาตุต่างๆ ที่พืชต้องการ
ปุ๋ยอินทรีย์แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
1) ปุ๋ยหมัก คือ ปุ๋ยที่ได้จากการหมักเศษพืช เช่น หญ้าแห้ง ใบไม้ ฟางข้าว ฯลฯ ให้เน่าเปื่อยเสียก่อนจึงนำไปใส่ในดินเป็นปุ๋ย หรือปุ๋ยที่เกิดจากการหมักซากพืชและซากสัตว์ มักจะใส่แอมโมเนียมซัลเฟต (NH4)2 SO4 และแคลเซียมคาร์บอเนต CaCO3 หรือแคลเซียมไฮดรอกไซด์ Ca(OH)2 ลงไปเพื่อเป็นอาหารของจุลินทรีย์ และปรับสภาพความเป็นกรดด่างของปุ๋ย
ปุ๋ยเทศบาลที่บรรจุถุงขายในชื่อของปุ๋ยอินทรีย์เบอร์ต่างๆ คือปุ๋ยหมักที่ได้จากการนำขยะจากเมือง พวกเศษพืช เศษอาหารเข้าโรงหมักเป็นขั้นเป็นตอนจนกลายเป็นปุ๋ย
2) ปุ๋ยคอก คือ ปุ๋ยที่ได้จากมูลสัตว์ เช่น หมู วัว ควาย เป็ด ไก่ ค้างคาว เป็นต้น
ปุ๋ยคอกมีปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมค่อนข้างต่ำ โดยหยาบๆ แล้วก็จะมีไนโตรเจนประมาณ 0.5 % N ฟอสฟอรัส 0.25% P2 05 และโพแทสเซียม 0.5% K2 0
ปุ๋ยขี้ไก่และขี้เป็ด จะมีปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าขี้หมู และขี้หมูจะมีปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าขี้วัวและขี้ควาย ปุ๋ยคอกใหม่ๆ จะมีปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าปุ๋ยคอกที่เก่าและเก็บไว้นาน
3) ปุ๋ยพืชสด คือ ปุ๋ยที่ได้จากการปลูกพืชบำรุงดิน ได้แก่ พืชตระกูลถั่วต่างๆ แล้วทำ การไถกลบเมื่อพืชเจริญเติบโตมากที่สุด ซึ่งเป็นช่วงที่กำลังออกดอก พืชตระกูลถั่วที่ควรใช้เป็นปุ๋ยควรมีอายุสั้น มีระบบรากลึก ทนแล้ง ทนโรคและแมลงได้ดี เป็นพืชที่ปลูกง่าย และมีเมล็ดมาก ตัวอย่างพืชเหล่านี้ได้แก่ ถั่วพุ่ม ถั่วเขียว ถั่วลาย ปอเทือง ถั่วขอ ถั่วแปบ และโสน เป็นต้น
ข้อดีของปุ๋ยอินทรีย์ คือ
- ราคาถูก
- ช่วยกำจัดของเสีย
- ช่วยปรับสภาพของดินให้ดีขึ้น โดยเฉพาะคุณสมบัติทางกายภาพของดิน เช่น ความโปร่ง ความร่วนซุย ความสามารถในการอุ้มน้ำ และการปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
- อยู่ในดินได้นานและค่อยๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารพืชอย่างช้าๆ จึงมีโอกาสสูยเสียน้อยกว่าปุ๋ยเคมี
- เมื่อใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมี จะส่งเสริมปุ๋ยเคมีให้เป็นประโยชน์แก่พืชอย่างมีประสิทธิภาพมีธาตุอาหารรอง/เสริม อยู่ครบถ้วนตามความต้องการของพืช
- ส่งเสริมให้จุลทรีย์ในดินโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกที่มีประโยชน์ต่อการบำรุงดินให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ข้อเสียของปุ๋ยอินทรีย์ คือ
- ให้แร่ธาตุต่ำ ต้องใช้ในปริมาณมาก
- ให้ผลช้ากว่าปุ๋ยเคมี ที่จะปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ให้แก่พืช
- ราคาแพงกว่าปุ๋ยเคมี เมื่อคิดเทียบในแง่ราคาต่อหน่วยน้ำหนักของธาตุอาหารพืช
- สิ้นเปลืองค่าแรงงานและค่าขนส่งสูง
- มีกลิ่น และอาจมีเชื้อรา เมล็ดวัชพืช ไส้เดือนฝอยปนมากับปุ๋ยได้
- หายาก พิจารณาในด้านเมื่อต้องการในปริมาณมาก
- ถ้าใส่สารอินทรีย์มากเกินไป เมื่อการชะล้างจะทำให้เกิดการสะสมของไนเตรตในน้ำใต้ดินซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้
- การใช้สารอินทรีย์ที่สลายตัวยาก เช่น เมื่อใช้ขี้เลื่อยสดเป็นวัสดุคลุมดิน จะทับถมกันแน่น เกิดสภาพดินไร้ออกซิเจน ทำให้อุณหภูมิสูงมาก
- การใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากของเหลือทิ้งจากท่อระบายน้ำโสโครกตามบ้านเรือน ก่อให้เกิดการปนเปื้อนของโลหะหนักหลายชนิดที่เป็นพิษ เช่น ตะกั่ว ปรอท
- การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ยังสลายตัวไม่เต็มที่หรือยังอยู่ระหว่างการย่อยสลายจะทำให้เกิดความร้อนจากการย่อยสลาย เป็นอันตรายต่อรากพืชได้
ปุ๋ยชีวภาพ (Biofertilizer) เป็นปุ๋ยที่เป็นสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะแบคทีเรียและสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่สามารถตรึกไนโตรเจนจากอากาศได้ นักวิทยาศาสตร์จึงได้นำสิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้มาใช้ประโยชน์กับพืช
การปลูกพืชตระกูลถั่งจะช่วยในการบำรุงดิน เพราะที่ปมรากของพืชตระกูลถั่วจะมีแบคทีเรียชื่อ ไรโซเบียม (Rhizobium) อาศัยอยู่ โดยแบคทีเรียชนิดนี้มีความสามารถสร้างปมที่รากของพืชตระกูลถั่ว ละไรโซเบียมภายในปมถั่วนี้จะทำงานร่วมกับถั่วในการตรึงไนโตรเจนได้ ไรโซเบียมแต่ละชนิดมีความสามารถในการทำงานเฉพระกับถั่วแต่ละพันธุ์หรือแต่ละสกุล
การตรึงไนโตรเจน (Nitrogen Fixation) เป็นกระบวนการที่จุลินทรีย์พวกหนึ่ง เช่น แบคทีเรีย สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินและแอคติโนมัยซิส สามารถที่จะเปลี่ยนแก็สไนโตรเจนในอากาศให้เป็นสารประกบของไนโตรเจนที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้
การตรึงไนโตรเจนของพืชตระกูลถั่วจะเกิดมากขึ้นพร้อม ๆ กับการเจริญเติบโตของพืช และการตรึงไนโตรเจนนี้จะเกิดสูงสุดในช่วงของการสร้างเมล็ด

ปมรากถั่วที่มีประสิทธิภาพในการตรึงแก็สไนโตรเจนจะมีลักษณะภายในเป็นสีชมพู ปมรากถั่วจะเกิดได้มากและทำหน้าที่ได้ดีเมื่อในดินมีเชื้อไรโซเบียมอยู่มากมีธาตุไนโตรเจนน้อย มีค่า pH ระหว่าง 5.5- 6.5 (ไม่เป็นกรดหรือเบสมากเกินไป) มีน้ำและธาตุอาหารในดินมากพอ โดยเฉพาะฟอสฟอรัส และรับแสงแดดมากพออุณหภูมิประมาณ 20-30 C
การปลูกพืชตระกูลถั่วเพื่อบำรุงดิน ควรคลุกเชื้อไรโซเบียมเสมอ ในกรณีต่อไปนี้
1) เมื่อปลูกถั่วชนิดนั้นเป็นครั้งแรก
2) เมื่อจะปลูกถั่วในดินที่ไม่เคยปลุกถั่วชนิดมาเป็นเวลาหลายปี
3) เมื่อจะปลูกถั่วในดินทราย ดินเปรี้ยว หรือดินที่มีความชุ่มชื้นมากเกินไป
กรณีข้างต้นการที่ต้องคลุกเชื้อไรโซเบียมเสมอเนื่องจากสภาพดินมักจะมัปริมาณเชื้อ
ไรโซเบียมอยู่ในดินน้อย
 ข้อควรคำนึงเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ย
1) ควรใช้ปุ๋ยเมื่อดินขาดธาตุอาหารเท่านั้น ไม่ควรใช้ปุ๋ยในกรณีที่ดินมีความอุดม
สมบูรณ์อยู่แล้ว เพราะจะไปทำให้พืชพืชเจริญเติบโตทางใบมาก แต่ผลผลิตจะลดลง เช่น ข้าว พืชตระกูลถั่ว และไม้ผลชนิดต่าง ๆ
2) ควรใช้ปุ๋ยในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะจะทำให้ได้ผลผลิตสูงกำไรมาก ไม่ควรใส่
ปุ๋ยมากเกินไปเพราะถึงแม้จะให้ผลผลิตสูง แต่ก็ทำให้ได้ต้นทุนสูงขึ้นไปด้วย และไม่ควรใส่ปุ๋ยน้อยเกินไป เพราะจะทำให้ได้ผลผลิตต่ำและกำไรน้อย
3) ไม่ควรใช้ปุ๋ยเคมีติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้ดินแข็ง เม็ดดินเกาะกันแน่นเกินไปเป็นผลให้การหมุนเวียนของน้ำ อากาศ และแร่ธาตุไม่สะดวก
ดั้งนั้นวิธีที่ดีที่สุดในการใช้ปุ๋ย ก็คือ ควรใช้ปุ๋ยธรรมชาติควบคู่ไปกับป๋ยเคมีในเวลาเดี่ยวกันในสัดส่วนที่พอเหมาะกับดินที่ขาดธาตุอาหารเท่านั้น

EM(Effective Microorganisms) เป็นปุ๋ยชีวภาพ เพราะประกอบด้วยจุลินทรีย์ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ การทำ EM เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2525 เพื่อปรับปรุงดินให้สมบูรณ์ ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช โดยขบวนการธรรมชาติที่จะไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง และได้มี การประยุกต์ใช้ในด้านปศุสัตว์ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การบำบัดขยะและสุขอนามัย จุลินทรีย์ EM ยังมีความสามารถพิเศษในกระบวนการบำบัดและปรับปรุงคุณภาพน้ำอีกด้วย
จุลินทรีย์ ใน EM ได้แก่
Photosynthetic Bacteria เป็นจุลินทรีย์หลักที่อยู่ใน EM ช่วยในการย่อยสลายสารที่เป็นอันตรายรวมทั้ง สังเคราะห์สารแอนติออกซิแดนท์ ได้ด้วย
Lactic Acid Bacteria ช่วยในกระบวนการหมักสังเคราะห์กรดอินทรีย์ที่ช่วยต้านทานโรค
Yeasts ช่วยในกระบวนการหมักและสังเคราะห์วิตามินและกรดอะมิโน(โปรตีน)

Fermentative Fungi ช่วยสังเคราะห์กรดอะมิโน แป้งและน้ำตาล ปกติจะช่วยใน
การหมักเหล้า สาเก และถั่วเหลือง
Actinomycetes เป็นจิลินทรีย์ที่หลากหลายในปุ๋ยหมักและดินที่อุดมสมบูรณ์ ช่วยในกระบวนการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุต่างๆ และยับยั้งเชื้อโรค

1.1 ปุ๋ยเคมี

ปุ๋ย(Fertilizers) คือ สารอินทรีย์หรือสารอนินทรีย์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือทำขึ้นเพื่อใช้เป็นธาตุอาหารให้แก่พืช หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในดิน เพื่อบำรุงการเจริญเติบโตของพืช
ปุ๋ยแบ่งได้เป็น 3 คือ
1. ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ เป็นต้น
2. ปุ๋ยเคมี ได้แก่ ปุ๋ยแอมโมเนีย ปุ๋ยยูเรีย เป็นต้น
3. ปุ๋ยชีวภาพ ได้แก่ EM เป็นต้น
ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอนินทรีย์(Tnorganic Fertilizer) คือ ปุ๋ยสังเคราะห์มาจากสารอนินทรีย์ต่างๆ รวมทั้งสารอินทรีย์สังเคราะห์บางชนิด ปุ๋ยเคมีแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่
1. ปุ๋ยเชิงเดี่ยว เป็นปุ๋ยเคมีที่ให้แร่ธาตุที่พืชใช้เป็นอาหารได้เพียงอย่างเดียว เช่น ปุ๋ย
ยูเรียซึ่งให้ไนโตรเจน(N) ได้อย่างเดียว ปุ๋ยแคลเซียมซุปเปอร์ฟอสเฟต ให้ฟอสฟอรัส(P) ได้อย่างเดียว เป็นต้น
2. ปุ๋ยเชิงผสม เป็นปุ๋ยเคมีที่ได้จากการผสมปุ๋ยเคมีชนิดต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้ธาตุอาหารต่างๆ ตามที่ต้องการ เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟต ให้ไนโตรเจนและฟอสเฟต ปุ๋ยสูตร 15-10-20 มีไนโตรเจน 15% ฟอสฟอรัส 10% และโพแทสเซียม 20% รวมเป็นเนื้อปุ๋ย 45% ส่วนที่เหลือ 55% เป็นวัสดุอื่นๆ เช่น ดิน ทราย ขี้เลื่อย เป็นต้น
3. ปุ๋ยเชิงประกอบ เป็นปุ๋ยเคมีที่ทำขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี และมีธาตุอาหารหลักอย่างน้อยสองธาตุขึ้นไป เช่น ปุ๋ยโพแทสเซียมฟอสเฟตให้ธาตุโพแทสเซียมและฟอสฟอรัส
4. ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีปุ๋ยเคมีผสมอยู่ด้วย แต่ไม่รวมถึงปูนขาก ดินมาร์ล ปูนพลาสเตอร์ หรือยิปซัม
ธาตุอาหารหลักที่พืชต้องการมากได้แก่ ธาตุไนโตรเจน(N) ฟอสฟอรัส(P) และโพแทสเซียม(K)
ข้อดีของปุ๋ยเคมี คือ ให้ผลรวดเร็ว ใช้ในปริมาณน้อย สามารถเลือกสูตรของปุ๋ยให้เหมาะสมกับชนิดของพืช ให้แร่ธาตุมากกว่าปุ๋ยอินทรีย์ ใช้ง่าย สะดวก และสามารถเลือกใช้ได้เฉพาะแร่ธาตุที่ต้องการ
ข้อเสียของปุ๋ยเคมี คือ ราคาแพง เก็บรักษายาก ปลอมแปลได้ง่าย และมักจะมีสารตกค้าง ถ้าใช้มากเกินไปจะมีผลทำให้ดินมีสมบัติเปลี่ยนไป เช่น ทำให้ดินแข็ง ทำให้ดินเป็นกรดหรือด่างมากเกินไป

28

การใช้ปุ๋ยควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1) คุณสมบัติของปุ๋ย ปุ๋ยแต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกัน เช่น ปุ๋ยไนเตรตเมื่อละลายน้ำจะทำให้เคลื่อนที่ได้ ปุ๋ยฟอสเฟตมักจะอยู่กับที่จึงทำให้เกิดการสะสม พืชจึงนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อย เป็นต้น
2) คุณสมบัติของดิน ก่อนใส่ปุ๋ยควรคำนึงถึงสมบัติของดิน ปริมาณของธาตุอาหารที่อยู่ในดิน รวมทั้งสภาพความเป็นกรด – ด่างของดิน เช่น ถ้าดินมีสภาพเป็นเบสสูง ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในรูปของแอมโมเนียม หรือดินอยู่ในสภาวะเป็นกรดก็ไม่ควรใช้ปุ๋ยที่มีผลตกค้างเป็นกรด เป็นต้น
3) สภาพภูมิอากาศ เช่น ปริมาณน้ำฝน น้ำในดิน น้ำที่จัดหาให้ ถ้ามีปริมาณต่ำไม่ควรใสปุ๋ยลงไปมากๆ เพราะสูญเสียโดยเปล่าประโยชน์ นอกจากนี้แสงแดดก็ต้องคำนึงถึงด้วย ถ้าแสงแดดจัดควรให้ปุ๋ยในปริมาณที่มาก โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน
4) ชนิดและอายุของพืช พืชต่างชนิดกันและในช่วงระยะการเจริญเติบโตต่างกัน ความต้องการธาตุอาหารจะแตกต่างกัน
5) ลักษณะการเตรียมดิน การเตรียมดินดีจะทำให้รากพืชแพร่กระจายไปทั่ว เมื่อใส่ปุ๋ยลงไปรากจะดูดซึมปุ๋ยไปใช้มาก และการให้ปุ๋ยแก่พืชที่ปลูกหนาแน่นและปลูกเว้นระยะห่างๆ กันก็แตกต่างกันโดยจะต้องให้ปุ๋ยในปริมาณมากแก่พืชที่ปลูกหนาแน่น และให้ปุ๋ยในปริมาณน้อยลงไปเมื่อเว้นระยะต้นพืชมากขึ้น)
ปุ๋ยเคมีมาตรฐาน คือ ปุ๋ยเคมีที่รัฐมาตรีประกาศกำหนดสูตรและปริมาณขั้นต่ำหรือขั้นสูงของธาตุอาหารหรือสารเป็นพิษ และลักษณะจำเป็นอย่างอื่นของปุ๋ยเคมีแต่ละชนิด และมีแร่ธาตุตรงตามสูตรปุ๋ยที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช บางทีเรียกว่า ปุ๋ยจริง
ปุ๋ยเคมีเสื่อมคุณภาพ คือ ปุ๋ยเคมีที่ล่วงอายุหรือถูกกระทบกระเทือนด้วยปัจจัยใดๆ อันทำให้เสื่อมคุณภาพโดยธาตุอาหารลดน้อยลงหรือเปลี่ยนสภาพไป
ปุ๋ยเคมีด้อยมาตรฐาน คือ ปุ๋ยที่มีส่วนประกอบของแร่ธาตุมากกว่าสิบเปอร์เซ็นต์ แต่ไม่เต็มตามจำนวน ที่กำหนดไว้
ปุ๋ยปลอม คือ ปุ๋ยที่ไม่มีธาตุอาหารหลักที่พืชต้องการมีแต่ดิน แคลเซียมคาร์บอเนต แคลเซียมไฮดรอกไซด์ หรือสารชนิดอื่น ซึ่งไม่เป็นประโยชน์ต่อพืช หรือเป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารหลักที่พืชต้องการ แต่มีปริมาณไม่ถึงสิบเปอร์เซ็นต์ของปริมาณที่บอกไว้
ปุ๋ยปลอมมักจะมีลักษณะเม็ดปุ๋ยไม่สม่ำเสมอ แข็ง และไม่แตกยุ่ยง่ายๆ ส่วนปุ๋ยจริงมักจะมีลักษณะเม็ดปุ๋ยสม่ำเสมอ แตกยุ่ยง่ายเมื่อใช้มือบีบหรือเปียกน้ำ
วิธีสังเกตลักษณะปุ๋ยปลอมอาจใช้วิธีต่อไปนี้
1. ราคาถูกกว่าปกติ
2. ไม่มีเลขที่อนุญาต ชื่อผู้ผลิตจำหน่าย
3. การระบุเปอร์เซ็นต์ธาตุอาหารแต่ละชนิดบนกระสอบปุ๋ยไม่ชัดเจน
4. ถุงที่บรรจุปุ๋ยมักจะฉีกขาดได้ง่าย และการเย็บปากถุงมักไม่เรียบร้อย
การตรวจสอบปุ๋ย สามารถตรวจสอบด้วยวิธีง่ายๆ มีดังนี้
1) สังเกตเม็ดปุ๋ย ถ้าเป็นปุ๋ยจริงขนาดของเม็ดปุ๋ยจะโตสม่ำเสมอกัน
2) ใช้นิ้วมือบีบ ถ้าเป็นปุ๋ยจริงจะแตกยุ่ยง่าย แต่ถ้าเป็นปุ๋ยปลอมจะแข็งไม่แตกยุ่ยง่าย
3) หยดน้ำไปบนเม็ดปุ๋ย ถ้าเป็นปุ๋ยปลอม เมื่อถูกน้ำจะอ่อนนุ่มทันทีและละลายน้ำได้ง่าย
4) นำเม็ดปุ๋ยมา 10 เม็ด แล้วหยดสารละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์ (Ca(OH)2) หรือน้ำปูนใสลงไปหรือจะใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) แทนก็ได้ แล้วทิ้งไว้สักครู่ ถ้าเป็นปุ๋ยจริงจะมีกลิ่นแอมโมเนียม ซึ่งแสดงว่าเป็นธาตุไนโตรเจน
5) นำปุ๋ยมาประมาณ 10 เม็ด หยดกรดแอซิติก(น้ำส้มสายชู) ลงไปที่เม็ดปุ๋ย ถ้ามีฟองแก๊สเกิดขึ้น แสดงว่าเป็นปุ๋ยปลอม ถ้าไม่มีฟองแก๊สแสดงว่าเป็นปุ๋ยจริง
หลักการใช้ปุ๋ย มีดังนี้
1. ใส่บริเวณรอบเขตของรากพืช แต่ไม่ชิดกับโคนต้นมากเกินไป
2. ควรใส่ในขณะที่ดินมีความชื้น หรือให้น้ำตามหลังจากใส่ปุ๋ย
3. ปรับปรุงสภาพดินที่เป็นกรด เป็นด่างให้เหมาะสมก่อนที่จะใส่ปุย
4. พื้นดินที่เป็นทราย ควรใส่ปุ๋ยทีละน้อยหลายๆ ครั้ง เพื่อป้องกันการชะล้าง
5. ถ้าใส่ปุ๋ยแบบหว่าน ควรไถกลบปุ๋ยนั้นด้วย
6. ปุ๋ยฟอสเฟตควรใส่ใกล้รากพืช เพื่อพืชจะได้ดูดซึมง่าย เพราะปุ๋ยฟอสเฟตเคลื่อนที่ได้ยาก
7. การใช้ปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพสูง ควรใช้ทั้งปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีร่วมกัน
Fertilizers. วัตถุที่ใส่ลงไปในดินเพื่อให้สารประกอบของธาตุที่จำเป็นต่อชีวิตของพืช; โดยเฉพาะก็มีธาตุไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม. ไนโตรเจนได้จากไนเตรต, เกลือแอมโมเนียต่างๆ, แคลเซียมไซยานาไมด์ เป็นต้น, ฟอสฟอรัสได้จาก superphosphate, basic slag, ฟอสเฟตต่างๆ ฯลฯ โพแทสเซียม. โพแทสเซียมได้จากเกลือโพแทสเซียมในธรรมชาติ, ผลผลิตจากการสลายตัวทางอินทรีย์ของของทิ้ง, มูลสัตว์ ฯลฯ, มีธาตุเหล่านี้และธาตุอย่างอื่นที่จำเป็นสำหรับพืช, และเป็นปุ๋ยได้อย่างดี

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ( Science Process Skill ) เป็นกระบวนการทางความคิด เป็นกระบวนการทางปัญญา( Intellectual Skill ) เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนใช้ค้นคว้าหาองค์ความรู้(body of knowledge)
เป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่นักวิทยาศาสตร์นำมาใช้ในการศึกษาค้นคว้า สืบเสาะหาความรู้ การค้นคว้า การทดลอง และแก้ปัญหาต่าง ๆ โดยผู้ศึกษาได้ฝึกฝนทั้งในด้านการปฏิบัติ การพัฒนาทางด้านความคิด อย่างเป็นระบบ
ความสำคัญของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1. เพื่อใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
2. เพื่อปลูกฝังทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นในการเรียนวิทยาศาสตร์
3. เพื่อให้เห็นคุณค่าสูงสุดในการเรียนวิทยาศาสตร์ เพราะทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเนื้อหาวิชาและใช้ทักษะในการแก้
ปัญหาที่เกิดขึ้นได้
สมาคมเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ( American Association for Advancement of Science: AAAS) ได้ระบุกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในหลักสูตร SAPA 13 ทักษะ (มังกร ทองสุขดี. 2535: 222-223) ดังนี้

1. ทักษะกระบวนการขั้นพื้นฐาน ( The Basic Process Skill) ประกอบด้วย

1.1 การสังเกต (Observating) เป็นกระบวนการที่ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน
อาจใช้เครื่องมือช่วยในการสังเกตให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องตามความเป็นจริงโดยไม่มีการใส่ความคิดเห็นใดๆ ของ ผู้สังเกตลงไปด้วย สิ่งที่ควรสังเกตมีดังนี้
1.1.1 การสังเกตเชิงคุณภาพ (Qualitative Observation)เป็นวิธีการที่ต้องการให้นักเรียนบอกรูปร่างของสิ่งที่สังเกตและคุณสมบัติของสิ่งต่างๆ โดยไม่ต้องบอกปริมาณ เช่น สี กลิ่น รส เสียง และความรู้สึกต่อผิวหนัง ในการระบุคุณลักษณะต่างๆ ต้องใช้ประสาทสัมผัสให้มากและควรระบุด้วยว่าข้อมูลนั้นได้มาจากประสาทส่วนใด ซึ่งไม่สามารถระบุออกมาเป็นตัวเลขได้ เช่น เมื่อใช้ตาดูลูกอมมีรูปร่างเป็นรูปสี่เหลี่ยม รูปกลม มีสีแดง สีเขียว
1.1.2 การสังเกตเชิงปริมาณ (Quanlitative Observation)เป็นการบอกคุณลักษณะที่ทำให้ทราบแต่เพียงรูปร่างลักษณะทั่วไปว่าเป็นอย่างไร การบอกปริมาณที่เกี่ยวข้องกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร มวล อุณหภูมิ และค่าต่างๆ ที่เป็นตัวเลข หรือข้อมูลอาจบอกได้โดย การกะปริมาณที่ได้จากการสังเกต เช่น ไม้หนัก 1.5 กรัม ยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1.0 เซนติเมตร และหนาประมาร 0.5 เซนติเมตร
1.1.3 การสังเกตเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Observation)เป็นการสังเกตที่ไม่บอกคุณสมบัติหรือปริมาณโดยตรง จะบอกว่าอันนี้เมื่อเปรียบเทียบกับอันโน้นแล้วเป็นอย่างไร เช่น เสาธงสูงประมาณตึกสามชั้น ปลาวาฬมีน้ำหนักเท่ากับแม่ควายสิบตัว
1.1.4 การสังเกตการเปลี่ยนแปลง(Observation of Chang)จะต้องสังเกตอย่างน้อย 2 ระยะขึ้นไป ระยะแรกเป็นการสังเกตก่อนการทดลอง ระยะที่สองเป็นการสังเกตขณะที่ทำการทดลองได้เริ่มขึ้นหรือเป็นการสังเกตภายหลังการทดลอง ต้องสังเกตเชิงคุณลักษณะและเชิงปริมาณ เพื่อนำข้อมูลทั้งสองระยะไปเปรียบเทียบกัน ควรสังเกตอย่างละเอียดและสังเกตหลายๆครั้งควรใช้ประสาทสัมผัสมากกว่าหนึ่งอย่าง และให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้


1.2 การวัด (Measuring)
เป็นกระบวนการที่ใช้เครื่องมือวัดไปทำการวัดหาปริมาณของสิ่งที่เราสังเกต ที่ต้องการวัดออกมาเป็นจำนวนที่มีหน่วยเปรียบเทียบ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วนคือ เครื่องมือวัด ตัวเลขที่แน่นนอน หน่วยของการวัดซึ่งอาจเป็นหน่วยมาตรฐาน (Standard Unite) หรือหน่วยกลาง (Arbitrary Unite)

1.3 การคำนวณ (Using Numbers)
เป็นการนำเอาตัวเลขที่ได้จากการสังเกต การทดลองหรืออาจจากแหล่งอื่นมาจัดกระทำเสียใหม่ เพื่อให้ได้ค่าใหม่ซึ่งจะมีความหมายต่อการนำไปใช้ต่อไป การจัดกระทำตัวเลขอาจจะเป็นการบวก การลบ การคูณ การหาร การหาค่าเฉลี่ย การยกกำลัง การถอดกรณฑ์

1.4 การจัดจำแนก (Classificating)
เป็นกระบวนการจัดวัตถุหรือเหตุการณ์ออกเป็นประเภทต่างๆ ตั้งแต่สองประเภทขึ้นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
เกณฑ์ที่ใช้อาจถือตามลักษณะแห่งความเหมือน ความสัมพันธ์ภายในประโยชน์ เช่น รูปร่าง ขนาดพื้นที่ น้ำหนัก สถานะ สี รส กลิ่น คุณสมบัติทางฟิสิกส์

1.5 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา(Using Space / Space and Space / time Relationship)
เป็นการสังเกตรูปร่างลักษณะของวัตถุ โดยเปรียบเทียบตำแหน่งของผู้สังเกตจากการมองในทิศต่างกัน จากการหมุนและการเคลื่อนที่ของวัตถุ ผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ระหว่างรูปร่างลักษณะหรือวิธีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับวัตถุในกรณีต่างๆกับเวลาที่เปลี่ยนไปบอกชื่อของรูปทรงและรูปทรงทางเรขาคณิตได้
บอกความสัมพันธ์ระหว่าง 2 มิติ กับ 3 มิติได้ บอกตำแหน่งหรือทิศทางของวัตถุหนึ่งได้ บอกความสัมพันธ์ของสิ่งที่อยู่หน้ากระจกเงา ภาพที่ปรากฏในกระจกว่าเป็นซ้ายหรือขวาของกันและกันได้ บอกความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนตำแหน่ง และ
ขนาดหรือปริมาณสิ่งต่างๆกับเวลาได้


1.6 การสื่อความหมายข้อมูล (Communicating)
เป็นการนำข้อมูลจากการสังเกตมาจัดกระทำเสียใหม่ในรูปใหม่ จัดทำเป็นตารางความถี่ จำแนกเป็นหมวดหมู่ คำนวณหาค่าใหม่
เลือกสื่อใดสื่อหนึ่งหรือหลายอย่างผสมกันมาถ่ายทอดให้คนอื่นเข้าใจง่ายและรวดเร็ว เช่น แผนภูมิ การเขียนบรรยาย การแสดงเป็นตาราง กราฟเส้น แผนที่ แผนผัง วงจร สมการทางคณิตศาสตร์

1.7 การลงความคิดเห็นจากข้อมูล (Inferring)
เป็นการอธิบายข้อมูลที่อยู่อย่างมีเหตุผลโดยอาศัยความรู้และประสบการณ์เดิมให้มาสัมพันธ์กับข้อมูลที่ตนเองมีอยู่
การลงความเห็นจะต้องเป็นไปอย่างสมเหตุสมผลกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นหรือข้อมูลที่สังเกตได้
การที่จะตัดสินว่าการลงความคิดเห็นใดถูกต้องหรือสมเหตุสมผลมากที่สุดต้องมีการตรวจสอบหาหลักฐานหรือข้อมูลอื่นมาประกอบ

1.8 การพยากรณ์ (Predicting)
เป็นการณ์คาดคะเนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอนาคต โดยอาศัยข้อมูลในปัจจุบันเป็นตัวบอกเหตุ ข้อมูลที่เป็นหลักการ กฎหรือทฤษฎีที่มีอยู่ได้ ข้อมูลเชิงปริมาณที่มีอยู่ พยากรณ์ผลที่จะเกิดขึ้นภายนอกขอบเขตข้อมูลเชิงปฏิบัติการที่มีอยู่

2. ทักษะขั้นบูรณาการ (The Integrated Process Skill) ประกอบด้วย

2.1 การตั้งสมมติฐาน (Formulating Hypothesis)
เป็นการหาคำตอบก่อนการทดลองโดยอาศัยการสังเกต ความรู้ และประสบการณ์เดิม ปัญหาหนึ่งอาจมีสมมติฐานได้มากกว่าหนึ่งสมมติฐานต้องทำ การทดสอบยืนยันในความเป็นจริงต่อไป สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการตั้งสมมติฐานคือ การบอกความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม ในการเขียนสมมติฐานมักจะใช้ข้อความดังนี้
“ถ้า...................................ดังนั้น..........................................”

2.2 การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining Operationally)
เป็นกำหนดความหมายและขอบเขตของคำหรือตัวแปรที่สังเกตและวัดได้ ซึ่งสามารถแยกคำนิยามเชิงปฏิบัติการออกจากคำนิยามทั่วไปได้ สามารถบ่งชี้ตัวแปรหรือคำที่ต้องการใช้ในการให้คำนิยามเชิงจากสมมติฐาน นิยามเชิงปฏิบัติการให้นิยามเฉพาะในลักษณะที่เป็นรูปธรรม โดยบรรยายให้เห็นการกระทำที่สังเกตและทดสอบสิ่งนั้นได้

2.3 การกำหนดและควบคุมตัวแปร (Controlling Variable)
หมายถึง การบ่งชี้ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องควบคุมในสมมติฐานหนึ่งๆ การควบคุมตัวแปรเป็นการควบคุมปัจจัยที่นอกเหนือจากตัวแปรต้นที่จะทำให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อน ถ้าหากว่าไม่ควบคุมให้เหมือนกัน ตัวแปรมี 3 ชนิด ดังนี้
1. ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ( Independent Variable) เป็น สิ่งที่มีอิทธิพลต่อผลที่ต้องการศึกษา หรือตัวแปรที่ต้อง การทดลองดูว่าจะก่อให้เกิดผลการศึกษาเช่นนั้นจริงหรือไม่
2. ตัวแปรตาม( Dependent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นผลเนื่องมาจากตัวแปรต้น
3. ตัวแปรควบคุม( Controlling Variable) เป็นตัวแปรอื่นๆที่ยังไม่สนใจศึกษาที่อาจมีผลต่อตัวแปรตามในขณะนั้น จึงจำเป็น ต้องควบคุมให้คงที่ไว้ก่อน

2.4 การทดลอง (Experimenting)
เป็นการสร้างเหตุการณ์หรือสถานการณ์ขึ้นมาอย่างหนึ่งเพื่อจะให้สังเกตผลที่เกิดขึ้นภายใต้การควบคุมและเงื่อนไขที่กำหนดขึ้น การทดลองสามารถทำซ้ำได้อีก การทดลองมีวัตถุประสงค์ที่จะทดสอบสมมติฐานโดยทำให้วัตถุหรือเหตุการณ์เกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบ การทดลองจะต้องประกอบด้วยกิจกรรมภาคปฏิบัติการทดลอง การออกแบบตารางบันทึกผลการทดลอง และการสังเกต

2.5 การตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป (Interpreting Data and Making Conclusion)
เป็นการนำเสนอข้อมูลจากการสังเกต การทดลอง การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งอื่นมาทำการหาข้อสรุปตาม วิธีอนุมานขึ้นเป็นความรู้วิทยาศาสตร์ซึ่งอาจจะเป็นมโนคติ หลักการ กฎ หรือทฤษฎีแล้วแต่กรณี โดยแปลความหมายหรือบรรยายลักษณะและสมบัติของข้อมูลที่มีอยู่ได้ บอกความสัมพันธ์ของข้อมูลที่มีอยู่ได้
นิยาม
ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่
เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
เงื่อนไขเพื่อให้เกิดความพอเพียง
1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกันเพื่อประกอบ
การวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
2. เงื่อนไขคุณธรรมที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม เช่น มีความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความเพียร ใช้สติปัญญาใน การดำเนินชีวิต
การนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในสถานศึกษา
หลักปฏิบัติด้านเศรษฐกิจ
หลักปฏิบัติ ตัวอย่างกิจกรรม
1. รู้จักการใช้จ่ายของตนเอง
• ใช้จ่ายอย่างมีเหตุมีผล
• ใช้จ่ายอย่างพอประมาณ
• ใช้จ่ายอย่างประหยัด
• ใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น • บันทึกบัญชีรายรับและรายจ่าย
• วิเคราะห์บัญชีรายรับและรายจ่าย
• แลกเปลี่ยนประสบการณ์
• ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อลดรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือย
2. รู้จักออมเงิน มีกลไกลดความเสี่ยง
• ระบบสวัสดิการ
• ระบบออมเงิน
• ระบบสหกรณ์
• การประกันต่าง ๆ • ออมวันละหนึ่งบาท
• สัปดาห์การออม
• จัดตั้งกลุ่ม/สหกรณ์ออมทรัพย์
• จัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน

3. รู้จักประหยัด
• ใช้และกินอย่างมีเหตุผลไม่ฟุ่มเฟือย
• ใช้พลังงานเท่าที่จำเป็น
 ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า • ปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้
• เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ไว้กิน ไว้ขาย
• ใช้สินค้าที่ประหยัดพลังงาน
• รีไซเคิลขยะเพื่อนำมาใช้ใหม่
• นำของเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์
4 . พึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจโดยผลิตหรือสร้างรายได้ที่
• สอดคล้องกับความต้องการ
• สอดคล้องกับภูมิสังคม
• สอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
• สอดคล้องกับทรัพยากรท้องถิ่น เน้นการผลิตเพื่อพึ่งตนเองให้พอเพียงกับ
การบริโภคและการผลิตที่หลากหลาย เช่น
• ปลูกพืชผักผสมผสาน
• ปลูกพืชสมุนไพรไทย
• ผลิตสินค้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
• จัดอบรมพัฒนาอาชีพในชุมชน
หลักปฏิบัติด้านสังคม
5. รู้จักช่วยเหลือสังคมหรือชุมชน
• ปลูกจิตสำนึกสาธารณะ
• ปลูกฝังความสามัคคี
• ปลูกฝังความเสียสละ
• เผยแพร่องค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง • จัดกิจกรรมลด ละ เลิกอบายมุข
• จัดกิจกรรมช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส
• จัดค่ายพัฒนาเยาวชน
• จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ในชุมชน

หลักปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม
6. สร้างสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติ
• ปลูกจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม
• ฟื้นฟูแหล่งเสื่อมโทรมในท้องถิ่น
• ฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรในท้องถิ่น
• ฟื้นฟูดูแลสถานที่ท่องเที่ยวในท้องถิ่น • พัฒนาความรู้เกี่ยวกับดิน น้ำ ป่า เพื่อฟื้นฟูรักษา
• โครงการชีววิถี
• จัดอบรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
• จัดทำฝายแม้ว
หลักปฏิบัติด้านวัฒนธรรมและศาสนา

7. สืบสานวัฒนธรรมไทย
• สร้างจิตสำนึกรักษ์ไทย รักบ้านเกิด
• ฟื้นฟูและอนุรักษ์อาหารประจำท้องถิ่น
• ฟื้นฟูและอนุรักษ์ดนตรีไทยและเพลงไทย
• ฟื้นฟูและอนุรักษ์วัตถุโบราณและโบราณสถาน
• ปลูกฝังมารยาทไทย
• ส่งเสริมอาหารประจำท้องถิ่น
• ส่งเสริมการใช้ภาษาประจำท้องถิ่น
• ทำนุบำรุงโบราณวัตถุและโบราณสถาน
8. ส่งเสริมพระพุทธศาสนา
• ปลูกจิตสำนึกความรักชาติ
• ตระหนักถึงคุณค่าของพระพุทธศาสนา
• จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ • ให้ความสำคัญกับการรักษาศีลหรือสวดมนต์เป็นประจำ
• ส่งเสริมการฝึกอบรมสมาธิ ภาวนา
• ร่วมกันทะนุบำรุงศาสนา
• พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น
• รณรงค์การใช้สินค้าไทย

คุณธรรมในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช พระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่และเป็นที่เคารพรักอยู่สูงสุดของปวงชนชาวไทย ทรงพระราชทานพระบรมราโชวาทให้คนไทยมีคุณธรรมประจำใจ 4 ประการ ได้แก่
1. รักษาความสัตย์ ความจริงต่อตนเองที่จะประพฤติปฏิบัติต่อสิ่งที่เป็นประโยชน์
2. รู้จักข่มใจตนเอง ให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัตย์ ความดี
3. อดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลประการใด
4. รู้จักระวังความชั่วความทุจริต และรู้จักเสียสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อ
ประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงยังระบุไว้ในเงื่อนไขสำหรับเป็นปัจจัยพื้นฐานของ
การประพฤติปฏิบัติตนที่มีความชัดเจน 2 เงื่อนไขสำคัญ คือ
1. เงื่อนไขความมีคุณธรรม ที่จะต้องประกอบด้วย
(1) ความซื่อสัตย์สุจริต ดำรงอยู่อย่างมั่นคงต่อความดีงามปราศจากอกุศลจิตที่คิดคดทรยศ และทุจริตต่อผู้อื่น
(2) การใช้สติปัญญาที่รอบคอบระมัดระวังไตร่ตรองใคร่ครวญอย่างละเอียดถี่ถ้วนทั้งก่อนและหลังทำกิจกรรมใด ๆ ก็ตาม
2. เงื่อนไขการดำเนินชีวิต ที่จะต้องประกอบด้วย
(1) ความขยันขันแข็ง อดทน อดกลั้นต่อสภาพความยากลำบาก หรือปัญหาอุปสรรคที่เผชิญอยู่ รวมทั้งเป็นผู้รู้จักอดออม ประหยัดใช้ทรัพยากรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด
(2) ความรู้จักแบ่งปันและแลกเปลี่ยน มีความเอื้ออาทรระหว่างกัน สงเคราะห์ผู้ด้อยกว่าโดยมิหวังผลตอบแทนด้วยความมีน้ำใจมีความเมตตา และยึด ความเป็นกัลยาณมิตรต่อเพื่อนร่วมโลก

การเขียนเค้าโครงของโครงงานวิทยาศาสตร์

การเขียนเค้าโครงของโครงงานเป็นการวางแผนการจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เพื่อให้การดำเนินการทำกิจกรรมเป็นไปอย่างรัดกุมและรอบคอบ แล้วจึงลงมือทำโครงงาน เขียนรายงานโครงงาน และนำเสนอโครงงานซึ่งอาจแสดงผลงานในรูปของการจัดนิทรรศการ การอธิบายหรือรายงานปากเปล่า
เค้าโครงของโครงงานวิทยาศาสตร์โดยทั่วไปมีองค์ประกอบต่อไปนี้
1. ชื่อโครงงาน อาจได้จากปัญหา คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัว
2. ประเภทโครงงาน จะสอดคล้องกับชื่อเรื่องโครงงานว่าเป็นประเภทใด เช่น
2.1 โครงงานประเภทการทดลอง ได้แก่ มดดำไล่มดแดง
2.2 โครงงานประเภทการสำรวจ ได้แก่ การศึกษาปูลมบริเวณหาดตะโละกาโปร์ พฤติกรรมมดแดง(ศึกษาโครงสร้างภายนอกทั่วไปของมดและสังเกตลักษณะภายนอกของวรรณะทั้ง 4 คือ ราชินี มดงานเพศเมีย มดเพศผู้ มดงาน(ตอนที่ 1))
2.3 โครงงานประเภทการพัฒนาหรือการประดิษฐ์ ได้แก่ เครื่องสาวไหมไฟฟ้าแบบ 2 หัวสาว, กระสวยอัดอากาศ, จรวดขวดน้ำ
2.4 โครงงานประเภทการสร้างทฤษฎีหรือการอธิบาย ได้แก่ กำเนิด ของทวีปและมหาสมุทร
3. ชื่อผู้ทำโครงงาน ส่วนใหญ่โครงงาน 1 โครงงานจะมีสมาชิกจำนวน 3 คน
4. ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน ส่วนใหญ่เป็นครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ในชั้นนั้นๆ หรือครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ที่ให้คำปรึกษาแก่นักเรียน
5. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน เป็นการอธิบายถึงเหตุผลที่เลือกทำโครงงานนี้ โครงงานเรื่องนี้มีความสำคัญอย่างไร มีหลักการและทฤษฎีอะไรที่เกี่ยวข้อง เรื่องที่ทำเป็นเรื่องใหม่หรือมีผู้อื่นได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องทำนองนี้ไว้บ้างแล้ว
ถ้ามีได้ผลเป็นอย่างไร เรื่องที่ทำนี้ได้ขยายเพิ่มเติมปรับปรุงจากเรื่องที่ผู้อื่นทำไว้อย่างไรหรือเป็นการทำซ้ำเพื่อตรวจสอบผล(กระทรวงศึกษาธิการ, 2544)
6. วัตถุประสงค์ เขียนให้ชัดเจนว่าโครงงานเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร
7. สมมติฐานและการกำหนดตัวแปรต่าง ๆ ส่วนใหญ่การตั้งสมมติฐานและ การกำหนดตัวแปรจะมีในโครงงานประเภทการทดลอง ซึ่งเป็นการตรวจสอบสมมติฐาน
8. วิธีดำเนินการ
8.1 วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ โครงงานวิทยาศาสตร์ทุกประเภทต้องกำหนดวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้มีอะไรบ้าง วัสดุอุปกรณ์เหล่านั้นมีอยู่ที่ใด วัสดุอุปกรณ์อะไรบ้างที่ต้องจัดซื้อหรือยืมมาจากที่ต่างๆ อะไรบ้างต้องจัดทำเอง ซึ่งต้องกำหนดให้ชัดเจนเพื่อ ความสะดวกในการเก็บรวบรวมข้อมูล
8.2 แนวการศึกษาค้นคว้าและทดลอง อธิบายเกี่ยวกับวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ออกแบบการทดลอง วิธีการสร้างสิ่งประดิษฐ์ การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล
9. แผนปฏิบัติการ เป็นการกำหนดระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมแต่ละขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้นโครงงานตามขั้นตอนที่กำหนดไว้
10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ เขียนให้มีความหมายสอดคล้องกับหัวข้อวัตถุประสงค์ในการทำโครงงานเรื่องนี้
11. เอกสารอ้างอิง(บรรณานุกรม) ควรเขียนข้อความหรือเนื้อหาที่สืบค้นมาได้ไว้ให้ถูกต้อง และพิจารณาว่าเนื้อหาที่ได้สอดคล้องกับชื่อโครงงาน วัตถุประสงค์สมมติฐานและการกำหนดตัวแปรต่าง ๆ วิธีดำเนินการ และผลที่คาดว่าจะได้รับหรือไม่ พร้อมทั้งเขียนอ้างอิงไว้ให้ชัดเจน
การเขียนอ้างอิงมี 2 ลักษณะคือ การเขียนอ้างอิงในข้อความของเนื้อเรื่องและการเขียนเป็นรายงานเอกสารอ้างอิงซึ่งมักอยู่ส่วนท้ายของเอกสาร
11.1 การเขียนอ้างอิงในเนื้อเรื่อง นิยมอ้างอิงแบบ ชื่อ – ปี (ชื่อผู้แต่ง – ปีที่พิมพ์) โดยเขียนได้ 2 แบบคือ
1) อ้างไว้หน้าข้อความ เขียนดังนี้
ชื่อผู้แต่ง(ปีที่พิมพ์)......................ข้อความ.....................................
เช่น สุระ พัฒนเกียรติ(2545) แสดงความเห็นไว้ว่า การนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้ในงานด้านต่าง ๆ นั้น ปัจจัยด้านทรัพยากรบุคคลนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
2) อ้างไว้หลังข้อความ เขียนดังนี้
ข้อความ.....................................................................(ชื่อผู้แต่ง,ปีที่พิมพ์)
เช่น การนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้ในงานด้านต่าง ๆ นั้น ปัจจัยด้านทรัพยากรบุคคลนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง(สุระ พัฒนเกียรติ, 2545) ( อัจฉรา ธรรมถาวร, 2549)
11.2 การเขียนเป็นรายงานเอกสารอ้างอิง มักอยู่ส่วนท้ายของเอกสาร เช่น
1) เอกสารที่เป็นหนังสือหรือตำรา มีรูปแบบการเขียนดังนี้
ชื่อผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์. ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
2) ข้อความจากอินเตอร์เน็ต มีรูปแบบการเขียนดังนี้
ชื่อผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์. ชื่อเรื่อง. (ชื่อแหล่งข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต). วัน เดือน ปี ที่ค้นข้อมูล.
( อัจฉรา ธรรมถาวร, 2549)
การเขียนเค้าโครงของโครงงานจึงเป็นการวางแผนการจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ที่ทำให้การดำเนินการทำกิจกรรมเป็นไปอย่างรัดกุมและรอบคอบ ซึ่งทำให้โครงงานวิทยาศาสตร์สำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง

“เด็กๆ นอกจากจะต้องเรียนความรู้แล้วยังต้องหัดทำการงานและทำความดีด้วย เพราะการทำงานจะช่วยให้มีความสามารถ มีความขยันอดทนพึ่งตนเองได้ และการทำดีนั้นจะช่วยให้มีความสุขความเจริญทั้งป้องกันตนไว้ไม่ให้ตกต่ำ”(คำพ่อสอน. 2543)
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พระราชทานเพื่อเชิญลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็ก ประจำปี 2530

โครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์ หมายถึง การศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยตนเองของนักเรียน โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ภายใต้คำแนะนำปรึกษาของครู
**กิจกรรมการทำโครงงานวิทยาศาสตร์อาจเรียกได้ว่า เป็นการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เบื้องต้นสำหรับนักเรียน

หลักการของกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์
1. เน้นการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยนักเรียนจะเป็นผู้ริเริ่ม วางแผน และดำเนินการศึกษาด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ชี้แนะแนวทาง และให้คำปรึกษา
2.เน้นกระบวนการแสวงหาความรู้โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยเริ่มจากการกำหนดปัญหา เลือกหัวข้อที่ตนสนใจจะศึกษา วางแผนการศึกษาค้นคว้า ดำเนินการรวบรวมข้อมูล ทำการทดลอง และสรุปผลการศึกษาค้นคว้า
3.เน้นการคิดเป็น ทำเป็น และการแก้ปัญหาเป็นด้วยตนเอง
คุณค่าของโครงงานวิทยาศาสตร์
1. สร้างสำนึกและความรับผิดชอบในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง
2. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาและ แสดงความสามารถตามศักยภาพ ของตนเอง
3. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษา ค้นคว้า และเรียนรู้ใน เรื่องที่นักเรียนสนใจได้อย่างลึกซึ้งกว่าการเรียนใน
ห้องเรียนปกติ
4. ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการคิด การแก้ปัญหา การตัดสินใจ รวมทั้งการสื่อสาร
5. กระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ และมีความสนใจที่จะประกอบอาชีพทางวิทยาศาสตร์
6. ส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้เวลาอย่าง เป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์
7. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับ ครูและชุมชน รวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชน สนใจวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
8. ให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหา สาระของวิชาวิทยาศาสตร์
9. ให้นักเรียนมีทักษะในการศึกษาค้นคว้า มีความสนใจวิทยาศาสตร์ มีเจตคติและ ค่านิยมทางวิทยาศาสตร์
10. ส่งเสริมให้จุดมุ่งหมายของหลักสูตร สัมฤทธิ์ผลโดยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

วิธีการทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ขั้นที่ 1 การคิดและเลือกชื่อเรื่องหรือปัญหาที่จะศึกษา
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นที่สำคัญที่สุดและยากที่สุด ตามหลักการแล้ว นักเรียนควรเป็นผู้คิดและเลือก หัวข้อเรื่องที่จะศึกษาด้วยตนเอง
แต่นักเรียนสามารถคิดหัวข้อเรื่องได้ด้วยตนเองหรือให้ครูส่วนช่วยเหลือ

ขั้นที่ 2 การวางแผนในการทำโครงงาน
ได้แก่ การวางแผนดำเนินงานในการศึกษาค้นคว้าทั้งหมด เช่น วัสดุอุปกรณ์ ที่จำเป็นต้องใช้ในการออกแบบการทดลอง และควบคุมตัวแปร วิธีดำเนินการรวบรวม ข้อมูล การวางแผนปฏิบัติงานอย่างคร่าว ๆ ว่าจะดำเนินการอย่างไรบ้างเป็นขั้นตอน แล้วนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมและขอความเห็นชอบ

ขั้นที่ 3 การลงมือทำโครงงาน
ได้แก่ การวางแผนดำเนินงานในการศึกษาค้นคว้า ทั้งหมด เช่น วัสดุอุปกรณ์ ที่จำเป็นต้องใช้ในการออก แบบการทดลอง และควบคุมตัวแปร วิธีดำเนินการรวบรวม ข้อมูล การวางแผนปฏิบัติงานอย่างคร่าว ๆ ว่าจะดำเนิน การอย่างไรบ้างเป็นขั้นตอน แล้วนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม และขอความเห็นชอบ

ขั้นที่ 4 การเขียนรายงาน
เป็นการเสนอผลของการศึกษาค้นคว้าเป็นลายลักษณ์อักษรหรือเป็นเอกสาร เพื่ออธิบายให้ผู้อื่นทราบรายละเอียดทั้งหมดของการทำโครงงาน ซึ่งจะประกอบด้วย ปัญหาที่ทำการศึกษาวัตถุประสงค์ของการศึกษา วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ ข้อมูลต่าง ๆ ที่รวบรวมได้ ผลที่ได้จาก การศึกษาค้นคว้า ตลอดจนประโยชน์และ ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่ได้จากการทำโครงงานนั้น ๆ วิธีเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ มีลักษณะและแนวทางในการเขียน เช่นเดียวกับ การเขียนรายงาน
ผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของ นักวิทยาศาสตร์นั่นเอง

ขั้นที่ 5 การแสดงผลงาน
เป็นการเสนอผลงานที่ได้ศึกษาค้นคว้าสำเร็จลงแล้วให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจ ซึ่งอาจกระทำได้หลายรูปแบบเช่น การจัดนิทรรศการ การสาธิตแสดงประกอบรายงานปากเปล่า ฯลฯ

โครงงานวิทยาศาสตร์แบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ
1. โครงงานประเภทการสำรวจ
เป็นการศึกษารวบรวมปัญหาจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อศึกษาหาความรู้ที่มีอยู่หรืออยู่ในธรรมชาติ โดยใช้วิธีสำรวจและรวบรวมข้อมูล แล้วนำข้อมูลที่ได้มาจัดกระทำให้เป็นระบบระเบียบและ สื่อความหมาย แล้วนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ตาราง กราฟ แผนภูมิ และคำอธิบายประกอบ อาจกระทำในลักษณะใดลักษณะหนึ่งต่อไปนี้

2. โครงงานประเภทการทดลอง
เป็นการศึกษาหาคำตอบของปัญหาใดปัญหาหนึ่ง โดยการออกแบบการทดลอง และดำเนินการทดลอง ลักษณะของโครงงานประเภทนี้ คือ มีการออกแบบการทดลอง เพื่อศึกษาผลของตัวแปรที่มีต่อ ตัวแปรอีกตัวหนึ่งที่ต้องการศึกษา โดยควบคุมตัวแปรอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อตัวแปรที่ต้องการศึกษา

3. โครงงานประเภทการพัฒนาหรือสิ่งประดิษฐ์
เป็นการพัฒนา ประดิษฐ์ การสร้างอุปกรณ์ หรือเครื่องมือเครื่องใช้เพื่อประโยชน์ในการใช้สอย โดย การประยุกต์ทฤษฎี หรือหลักการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการพัฒนาหรือการประดิษฐ์ดังกล่าว อาจเป็นการประดิษฐ์สิ่งใหม่ หรือการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น หรืออาจเป็นการเสนอแบบจำลองทางความคิดเพื่อแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง

4. โครงงานประเภทการสร้างทฤษฎีหรือการอธิบาย

เป็นโครงงานที่เสนอทฤษฎีหรือคำอธิบายสิ่งต่าง ๆ หรือ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นแนวคิดใหม่ ๆ โดยมีหลักการวิทยาศาสตร์ หรือทฤษฎีอื่น ตลอดจนข้อมูลต่าง ๆ สนับสนุน อาจเป็นคำอธิบายปรากฎการณ์เก่าในแนวใหม่ หรือเสนอในรูปของคำอธิบาย สูตร หรือสมการ แต่จะต้องมีข้อมูลหรือทฤษฎีอื่นมาสนับสนุนอ้างอิง