วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประโยชน์และโทษของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์

ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอนินทรีย์
ข้อดี
ใช้ปริมาณเพียงเล็กน้อย ปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืชเร็ว ทำให้พืชเจริญ เติบโต และให้ผลผลิตรวดเร็ว เพราะมีปริมาณธาตุอาหารพืชสูง สามารถเลือกสูตรปุ๋ยตามต้องการ
ข้อด้อย
ถ้าใช้มากเกินไปจะมีผลทำให้ดินมีสมบัติเปลี่ยนไป เช่น ทำให้ดินเป็นกรด ดินไม่ร่วนซุย

ปุ๋ยอินทรีย์
ข้อดี
ช่วยปรับปรุงลักษณะรักษาสมบัติต่างๆ ของดิน มีอาหารพืชตามธรรมชาติทั้งสารอินทรีย์และอนินทรีย์ต่างๆ ในปริมาณพอเหมาะ ทำให้พืชเจริญเติบโต ส่งเสริมให้จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อการบำรุงดินสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อด้อย
มีกลิ่นรบกวน อาจมีจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายต่อพืชปะปนอยู่มาก มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่ำ ต้องใช้ในปริมาณมาก

ปุ๋ยอินทรีย์

ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยธรรมชาติ(Organic Fertilizer) คือ ปุ๋ยที่ได้จากสิ่งมีชีวิตที่ตายและถูกทับถมกันนานๆ จนเกิด การเน่าเปื่อยสลายตัวและให้แร่ธาตุต่างๆ ที่พืชต้องการ
ปุ๋ยอินทรีย์แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
1) ปุ๋ยหมัก คือ ปุ๋ยที่ได้จากการหมักเศษพืช เช่น หญ้าแห้ง ใบไม้ ฟางข้าว ฯลฯ ให้เน่าเปื่อยเสียก่อนจึงนำไปใส่ในดินเป็นปุ๋ย หรือปุ๋ยที่เกิดจากการหมักซากพืชและซากสัตว์ มักจะใส่แอมโมเนียมซัลเฟต (NH4)2 SO4 และแคลเซียมคาร์บอเนต CaCO3 หรือแคลเซียมไฮดรอกไซด์ Ca(OH)2 ลงไปเพื่อเป็นอาหารของจุลินทรีย์ และปรับสภาพความเป็นกรดด่างของปุ๋ย
ปุ๋ยเทศบาลที่บรรจุถุงขายในชื่อของปุ๋ยอินทรีย์เบอร์ต่างๆ คือปุ๋ยหมักที่ได้จากการนำขยะจากเมือง พวกเศษพืช เศษอาหารเข้าโรงหมักเป็นขั้นเป็นตอนจนกลายเป็นปุ๋ย
2) ปุ๋ยคอก คือ ปุ๋ยที่ได้จากมูลสัตว์ เช่น หมู วัว ควาย เป็ด ไก่ ค้างคาว เป็นต้น
ปุ๋ยคอกมีปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมค่อนข้างต่ำ โดยหยาบๆ แล้วก็จะมีไนโตรเจนประมาณ 0.5 % N ฟอสฟอรัส 0.25% P2 05 และโพแทสเซียม 0.5% K2 0
ปุ๋ยขี้ไก่และขี้เป็ด จะมีปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าขี้หมู และขี้หมูจะมีปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าขี้วัวและขี้ควาย ปุ๋ยคอกใหม่ๆ จะมีปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าปุ๋ยคอกที่เก่าและเก็บไว้นาน
3) ปุ๋ยพืชสด คือ ปุ๋ยที่ได้จากการปลูกพืชบำรุงดิน ได้แก่ พืชตระกูลถั่วต่างๆ แล้วทำ การไถกลบเมื่อพืชเจริญเติบโตมากที่สุด ซึ่งเป็นช่วงที่กำลังออกดอก พืชตระกูลถั่วที่ควรใช้เป็นปุ๋ยควรมีอายุสั้น มีระบบรากลึก ทนแล้ง ทนโรคและแมลงได้ดี เป็นพืชที่ปลูกง่าย และมีเมล็ดมาก ตัวอย่างพืชเหล่านี้ได้แก่ ถั่วพุ่ม ถั่วเขียว ถั่วลาย ปอเทือง ถั่วขอ ถั่วแปบ และโสน เป็นต้น
ข้อดีของปุ๋ยอินทรีย์ คือ
- ราคาถูก
- ช่วยกำจัดของเสีย
- ช่วยปรับสภาพของดินให้ดีขึ้น โดยเฉพาะคุณสมบัติทางกายภาพของดิน เช่น ความโปร่ง ความร่วนซุย ความสามารถในการอุ้มน้ำ และการปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
- อยู่ในดินได้นานและค่อยๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารพืชอย่างช้าๆ จึงมีโอกาสสูยเสียน้อยกว่าปุ๋ยเคมี
- เมื่อใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมี จะส่งเสริมปุ๋ยเคมีให้เป็นประโยชน์แก่พืชอย่างมีประสิทธิภาพมีธาตุอาหารรอง/เสริม อยู่ครบถ้วนตามความต้องการของพืช
- ส่งเสริมให้จุลทรีย์ในดินโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกที่มีประโยชน์ต่อการบำรุงดินให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ข้อเสียของปุ๋ยอินทรีย์ คือ
- ให้แร่ธาตุต่ำ ต้องใช้ในปริมาณมาก
- ให้ผลช้ากว่าปุ๋ยเคมี ที่จะปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ให้แก่พืช
- ราคาแพงกว่าปุ๋ยเคมี เมื่อคิดเทียบในแง่ราคาต่อหน่วยน้ำหนักของธาตุอาหารพืช
- สิ้นเปลืองค่าแรงงานและค่าขนส่งสูง
- มีกลิ่น และอาจมีเชื้อรา เมล็ดวัชพืช ไส้เดือนฝอยปนมากับปุ๋ยได้
- หายาก พิจารณาในด้านเมื่อต้องการในปริมาณมาก
- ถ้าใส่สารอินทรีย์มากเกินไป เมื่อการชะล้างจะทำให้เกิดการสะสมของไนเตรตในน้ำใต้ดินซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้
- การใช้สารอินทรีย์ที่สลายตัวยาก เช่น เมื่อใช้ขี้เลื่อยสดเป็นวัสดุคลุมดิน จะทับถมกันแน่น เกิดสภาพดินไร้ออกซิเจน ทำให้อุณหภูมิสูงมาก
- การใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากของเหลือทิ้งจากท่อระบายน้ำโสโครกตามบ้านเรือน ก่อให้เกิดการปนเปื้อนของโลหะหนักหลายชนิดที่เป็นพิษ เช่น ตะกั่ว ปรอท
- การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ยังสลายตัวไม่เต็มที่หรือยังอยู่ระหว่างการย่อยสลายจะทำให้เกิดความร้อนจากการย่อยสลาย เป็นอันตรายต่อรากพืชได้
ปุ๋ยชีวภาพ (Biofertilizer) เป็นปุ๋ยที่เป็นสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะแบคทีเรียและสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่สามารถตรึกไนโตรเจนจากอากาศได้ นักวิทยาศาสตร์จึงได้นำสิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้มาใช้ประโยชน์กับพืช
การปลูกพืชตระกูลถั่งจะช่วยในการบำรุงดิน เพราะที่ปมรากของพืชตระกูลถั่วจะมีแบคทีเรียชื่อ ไรโซเบียม (Rhizobium) อาศัยอยู่ โดยแบคทีเรียชนิดนี้มีความสามารถสร้างปมที่รากของพืชตระกูลถั่ว ละไรโซเบียมภายในปมถั่วนี้จะทำงานร่วมกับถั่วในการตรึงไนโตรเจนได้ ไรโซเบียมแต่ละชนิดมีความสามารถในการทำงานเฉพระกับถั่วแต่ละพันธุ์หรือแต่ละสกุล
การตรึงไนโตรเจน (Nitrogen Fixation) เป็นกระบวนการที่จุลินทรีย์พวกหนึ่ง เช่น แบคทีเรีย สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินและแอคติโนมัยซิส สามารถที่จะเปลี่ยนแก็สไนโตรเจนในอากาศให้เป็นสารประกบของไนโตรเจนที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้
การตรึงไนโตรเจนของพืชตระกูลถั่วจะเกิดมากขึ้นพร้อม ๆ กับการเจริญเติบโตของพืช และการตรึงไนโตรเจนนี้จะเกิดสูงสุดในช่วงของการสร้างเมล็ด

ปมรากถั่วที่มีประสิทธิภาพในการตรึงแก็สไนโตรเจนจะมีลักษณะภายในเป็นสีชมพู ปมรากถั่วจะเกิดได้มากและทำหน้าที่ได้ดีเมื่อในดินมีเชื้อไรโซเบียมอยู่มากมีธาตุไนโตรเจนน้อย มีค่า pH ระหว่าง 5.5- 6.5 (ไม่เป็นกรดหรือเบสมากเกินไป) มีน้ำและธาตุอาหารในดินมากพอ โดยเฉพาะฟอสฟอรัส และรับแสงแดดมากพออุณหภูมิประมาณ 20-30 C
การปลูกพืชตระกูลถั่วเพื่อบำรุงดิน ควรคลุกเชื้อไรโซเบียมเสมอ ในกรณีต่อไปนี้
1) เมื่อปลูกถั่วชนิดนั้นเป็นครั้งแรก
2) เมื่อจะปลูกถั่วในดินที่ไม่เคยปลุกถั่วชนิดมาเป็นเวลาหลายปี
3) เมื่อจะปลูกถั่วในดินทราย ดินเปรี้ยว หรือดินที่มีความชุ่มชื้นมากเกินไป
กรณีข้างต้นการที่ต้องคลุกเชื้อไรโซเบียมเสมอเนื่องจากสภาพดินมักจะมัปริมาณเชื้อ
ไรโซเบียมอยู่ในดินน้อย
 ข้อควรคำนึงเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ย
1) ควรใช้ปุ๋ยเมื่อดินขาดธาตุอาหารเท่านั้น ไม่ควรใช้ปุ๋ยในกรณีที่ดินมีความอุดม
สมบูรณ์อยู่แล้ว เพราะจะไปทำให้พืชพืชเจริญเติบโตทางใบมาก แต่ผลผลิตจะลดลง เช่น ข้าว พืชตระกูลถั่ว และไม้ผลชนิดต่าง ๆ
2) ควรใช้ปุ๋ยในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะจะทำให้ได้ผลผลิตสูงกำไรมาก ไม่ควรใส่
ปุ๋ยมากเกินไปเพราะถึงแม้จะให้ผลผลิตสูง แต่ก็ทำให้ได้ต้นทุนสูงขึ้นไปด้วย และไม่ควรใส่ปุ๋ยน้อยเกินไป เพราะจะทำให้ได้ผลผลิตต่ำและกำไรน้อย
3) ไม่ควรใช้ปุ๋ยเคมีติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้ดินแข็ง เม็ดดินเกาะกันแน่นเกินไปเป็นผลให้การหมุนเวียนของน้ำ อากาศ และแร่ธาตุไม่สะดวก
ดั้งนั้นวิธีที่ดีที่สุดในการใช้ปุ๋ย ก็คือ ควรใช้ปุ๋ยธรรมชาติควบคู่ไปกับป๋ยเคมีในเวลาเดี่ยวกันในสัดส่วนที่พอเหมาะกับดินที่ขาดธาตุอาหารเท่านั้น

EM(Effective Microorganisms) เป็นปุ๋ยชีวภาพ เพราะประกอบด้วยจุลินทรีย์ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ การทำ EM เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2525 เพื่อปรับปรุงดินให้สมบูรณ์ ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช โดยขบวนการธรรมชาติที่จะไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง และได้มี การประยุกต์ใช้ในด้านปศุสัตว์ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การบำบัดขยะและสุขอนามัย จุลินทรีย์ EM ยังมีความสามารถพิเศษในกระบวนการบำบัดและปรับปรุงคุณภาพน้ำอีกด้วย
จุลินทรีย์ ใน EM ได้แก่
Photosynthetic Bacteria เป็นจุลินทรีย์หลักที่อยู่ใน EM ช่วยในการย่อยสลายสารที่เป็นอันตรายรวมทั้ง สังเคราะห์สารแอนติออกซิแดนท์ ได้ด้วย
Lactic Acid Bacteria ช่วยในกระบวนการหมักสังเคราะห์กรดอินทรีย์ที่ช่วยต้านทานโรค
Yeasts ช่วยในกระบวนการหมักและสังเคราะห์วิตามินและกรดอะมิโน(โปรตีน)

Fermentative Fungi ช่วยสังเคราะห์กรดอะมิโน แป้งและน้ำตาล ปกติจะช่วยใน
การหมักเหล้า สาเก และถั่วเหลือง
Actinomycetes เป็นจิลินทรีย์ที่หลากหลายในปุ๋ยหมักและดินที่อุดมสมบูรณ์ ช่วยในกระบวนการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุต่างๆ และยับยั้งเชื้อโรค

1.1 ปุ๋ยเคมี

ปุ๋ย(Fertilizers) คือ สารอินทรีย์หรือสารอนินทรีย์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือทำขึ้นเพื่อใช้เป็นธาตุอาหารให้แก่พืช หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในดิน เพื่อบำรุงการเจริญเติบโตของพืช
ปุ๋ยแบ่งได้เป็น 3 คือ
1. ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ เป็นต้น
2. ปุ๋ยเคมี ได้แก่ ปุ๋ยแอมโมเนีย ปุ๋ยยูเรีย เป็นต้น
3. ปุ๋ยชีวภาพ ได้แก่ EM เป็นต้น
ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอนินทรีย์(Tnorganic Fertilizer) คือ ปุ๋ยสังเคราะห์มาจากสารอนินทรีย์ต่างๆ รวมทั้งสารอินทรีย์สังเคราะห์บางชนิด ปุ๋ยเคมีแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่
1. ปุ๋ยเชิงเดี่ยว เป็นปุ๋ยเคมีที่ให้แร่ธาตุที่พืชใช้เป็นอาหารได้เพียงอย่างเดียว เช่น ปุ๋ย
ยูเรียซึ่งให้ไนโตรเจน(N) ได้อย่างเดียว ปุ๋ยแคลเซียมซุปเปอร์ฟอสเฟต ให้ฟอสฟอรัส(P) ได้อย่างเดียว เป็นต้น
2. ปุ๋ยเชิงผสม เป็นปุ๋ยเคมีที่ได้จากการผสมปุ๋ยเคมีชนิดต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้ธาตุอาหารต่างๆ ตามที่ต้องการ เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟต ให้ไนโตรเจนและฟอสเฟต ปุ๋ยสูตร 15-10-20 มีไนโตรเจน 15% ฟอสฟอรัส 10% และโพแทสเซียม 20% รวมเป็นเนื้อปุ๋ย 45% ส่วนที่เหลือ 55% เป็นวัสดุอื่นๆ เช่น ดิน ทราย ขี้เลื่อย เป็นต้น
3. ปุ๋ยเชิงประกอบ เป็นปุ๋ยเคมีที่ทำขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี และมีธาตุอาหารหลักอย่างน้อยสองธาตุขึ้นไป เช่น ปุ๋ยโพแทสเซียมฟอสเฟตให้ธาตุโพแทสเซียมและฟอสฟอรัส
4. ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีปุ๋ยเคมีผสมอยู่ด้วย แต่ไม่รวมถึงปูนขาก ดินมาร์ล ปูนพลาสเตอร์ หรือยิปซัม
ธาตุอาหารหลักที่พืชต้องการมากได้แก่ ธาตุไนโตรเจน(N) ฟอสฟอรัส(P) และโพแทสเซียม(K)
ข้อดีของปุ๋ยเคมี คือ ให้ผลรวดเร็ว ใช้ในปริมาณน้อย สามารถเลือกสูตรของปุ๋ยให้เหมาะสมกับชนิดของพืช ให้แร่ธาตุมากกว่าปุ๋ยอินทรีย์ ใช้ง่าย สะดวก และสามารถเลือกใช้ได้เฉพาะแร่ธาตุที่ต้องการ
ข้อเสียของปุ๋ยเคมี คือ ราคาแพง เก็บรักษายาก ปลอมแปลได้ง่าย และมักจะมีสารตกค้าง ถ้าใช้มากเกินไปจะมีผลทำให้ดินมีสมบัติเปลี่ยนไป เช่น ทำให้ดินแข็ง ทำให้ดินเป็นกรดหรือด่างมากเกินไป

28

การใช้ปุ๋ยควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1) คุณสมบัติของปุ๋ย ปุ๋ยแต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกัน เช่น ปุ๋ยไนเตรตเมื่อละลายน้ำจะทำให้เคลื่อนที่ได้ ปุ๋ยฟอสเฟตมักจะอยู่กับที่จึงทำให้เกิดการสะสม พืชจึงนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อย เป็นต้น
2) คุณสมบัติของดิน ก่อนใส่ปุ๋ยควรคำนึงถึงสมบัติของดิน ปริมาณของธาตุอาหารที่อยู่ในดิน รวมทั้งสภาพความเป็นกรด – ด่างของดิน เช่น ถ้าดินมีสภาพเป็นเบสสูง ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในรูปของแอมโมเนียม หรือดินอยู่ในสภาวะเป็นกรดก็ไม่ควรใช้ปุ๋ยที่มีผลตกค้างเป็นกรด เป็นต้น
3) สภาพภูมิอากาศ เช่น ปริมาณน้ำฝน น้ำในดิน น้ำที่จัดหาให้ ถ้ามีปริมาณต่ำไม่ควรใสปุ๋ยลงไปมากๆ เพราะสูญเสียโดยเปล่าประโยชน์ นอกจากนี้แสงแดดก็ต้องคำนึงถึงด้วย ถ้าแสงแดดจัดควรให้ปุ๋ยในปริมาณที่มาก โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน
4) ชนิดและอายุของพืช พืชต่างชนิดกันและในช่วงระยะการเจริญเติบโตต่างกัน ความต้องการธาตุอาหารจะแตกต่างกัน
5) ลักษณะการเตรียมดิน การเตรียมดินดีจะทำให้รากพืชแพร่กระจายไปทั่ว เมื่อใส่ปุ๋ยลงไปรากจะดูดซึมปุ๋ยไปใช้มาก และการให้ปุ๋ยแก่พืชที่ปลูกหนาแน่นและปลูกเว้นระยะห่างๆ กันก็แตกต่างกันโดยจะต้องให้ปุ๋ยในปริมาณมากแก่พืชที่ปลูกหนาแน่น และให้ปุ๋ยในปริมาณน้อยลงไปเมื่อเว้นระยะต้นพืชมากขึ้น)
ปุ๋ยเคมีมาตรฐาน คือ ปุ๋ยเคมีที่รัฐมาตรีประกาศกำหนดสูตรและปริมาณขั้นต่ำหรือขั้นสูงของธาตุอาหารหรือสารเป็นพิษ และลักษณะจำเป็นอย่างอื่นของปุ๋ยเคมีแต่ละชนิด และมีแร่ธาตุตรงตามสูตรปุ๋ยที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช บางทีเรียกว่า ปุ๋ยจริง
ปุ๋ยเคมีเสื่อมคุณภาพ คือ ปุ๋ยเคมีที่ล่วงอายุหรือถูกกระทบกระเทือนด้วยปัจจัยใดๆ อันทำให้เสื่อมคุณภาพโดยธาตุอาหารลดน้อยลงหรือเปลี่ยนสภาพไป
ปุ๋ยเคมีด้อยมาตรฐาน คือ ปุ๋ยที่มีส่วนประกอบของแร่ธาตุมากกว่าสิบเปอร์เซ็นต์ แต่ไม่เต็มตามจำนวน ที่กำหนดไว้
ปุ๋ยปลอม คือ ปุ๋ยที่ไม่มีธาตุอาหารหลักที่พืชต้องการมีแต่ดิน แคลเซียมคาร์บอเนต แคลเซียมไฮดรอกไซด์ หรือสารชนิดอื่น ซึ่งไม่เป็นประโยชน์ต่อพืช หรือเป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารหลักที่พืชต้องการ แต่มีปริมาณไม่ถึงสิบเปอร์เซ็นต์ของปริมาณที่บอกไว้
ปุ๋ยปลอมมักจะมีลักษณะเม็ดปุ๋ยไม่สม่ำเสมอ แข็ง และไม่แตกยุ่ยง่ายๆ ส่วนปุ๋ยจริงมักจะมีลักษณะเม็ดปุ๋ยสม่ำเสมอ แตกยุ่ยง่ายเมื่อใช้มือบีบหรือเปียกน้ำ
วิธีสังเกตลักษณะปุ๋ยปลอมอาจใช้วิธีต่อไปนี้
1. ราคาถูกกว่าปกติ
2. ไม่มีเลขที่อนุญาต ชื่อผู้ผลิตจำหน่าย
3. การระบุเปอร์เซ็นต์ธาตุอาหารแต่ละชนิดบนกระสอบปุ๋ยไม่ชัดเจน
4. ถุงที่บรรจุปุ๋ยมักจะฉีกขาดได้ง่าย และการเย็บปากถุงมักไม่เรียบร้อย
การตรวจสอบปุ๋ย สามารถตรวจสอบด้วยวิธีง่ายๆ มีดังนี้
1) สังเกตเม็ดปุ๋ย ถ้าเป็นปุ๋ยจริงขนาดของเม็ดปุ๋ยจะโตสม่ำเสมอกัน
2) ใช้นิ้วมือบีบ ถ้าเป็นปุ๋ยจริงจะแตกยุ่ยง่าย แต่ถ้าเป็นปุ๋ยปลอมจะแข็งไม่แตกยุ่ยง่าย
3) หยดน้ำไปบนเม็ดปุ๋ย ถ้าเป็นปุ๋ยปลอม เมื่อถูกน้ำจะอ่อนนุ่มทันทีและละลายน้ำได้ง่าย
4) นำเม็ดปุ๋ยมา 10 เม็ด แล้วหยดสารละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์ (Ca(OH)2) หรือน้ำปูนใสลงไปหรือจะใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) แทนก็ได้ แล้วทิ้งไว้สักครู่ ถ้าเป็นปุ๋ยจริงจะมีกลิ่นแอมโมเนียม ซึ่งแสดงว่าเป็นธาตุไนโตรเจน
5) นำปุ๋ยมาประมาณ 10 เม็ด หยดกรดแอซิติก(น้ำส้มสายชู) ลงไปที่เม็ดปุ๋ย ถ้ามีฟองแก๊สเกิดขึ้น แสดงว่าเป็นปุ๋ยปลอม ถ้าไม่มีฟองแก๊สแสดงว่าเป็นปุ๋ยจริง
หลักการใช้ปุ๋ย มีดังนี้
1. ใส่บริเวณรอบเขตของรากพืช แต่ไม่ชิดกับโคนต้นมากเกินไป
2. ควรใส่ในขณะที่ดินมีความชื้น หรือให้น้ำตามหลังจากใส่ปุ๋ย
3. ปรับปรุงสภาพดินที่เป็นกรด เป็นด่างให้เหมาะสมก่อนที่จะใส่ปุย
4. พื้นดินที่เป็นทราย ควรใส่ปุ๋ยทีละน้อยหลายๆ ครั้ง เพื่อป้องกันการชะล้าง
5. ถ้าใส่ปุ๋ยแบบหว่าน ควรไถกลบปุ๋ยนั้นด้วย
6. ปุ๋ยฟอสเฟตควรใส่ใกล้รากพืช เพื่อพืชจะได้ดูดซึมง่าย เพราะปุ๋ยฟอสเฟตเคลื่อนที่ได้ยาก
7. การใช้ปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพสูง ควรใช้ทั้งปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีร่วมกัน
Fertilizers. วัตถุที่ใส่ลงไปในดินเพื่อให้สารประกอบของธาตุที่จำเป็นต่อชีวิตของพืช; โดยเฉพาะก็มีธาตุไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม. ไนโตรเจนได้จากไนเตรต, เกลือแอมโมเนียต่างๆ, แคลเซียมไซยานาไมด์ เป็นต้น, ฟอสฟอรัสได้จาก superphosphate, basic slag, ฟอสเฟตต่างๆ ฯลฯ โพแทสเซียม. โพแทสเซียมได้จากเกลือโพแทสเซียมในธรรมชาติ, ผลผลิตจากการสลายตัวทางอินทรีย์ของของทิ้ง, มูลสัตว์ ฯลฯ, มีธาตุเหล่านี้และธาตุอย่างอื่นที่จำเป็นสำหรับพืช, และเป็นปุ๋ยได้อย่างดี

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ( Science Process Skill ) เป็นกระบวนการทางความคิด เป็นกระบวนการทางปัญญา( Intellectual Skill ) เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนใช้ค้นคว้าหาองค์ความรู้(body of knowledge)
เป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่นักวิทยาศาสตร์นำมาใช้ในการศึกษาค้นคว้า สืบเสาะหาความรู้ การค้นคว้า การทดลอง และแก้ปัญหาต่าง ๆ โดยผู้ศึกษาได้ฝึกฝนทั้งในด้านการปฏิบัติ การพัฒนาทางด้านความคิด อย่างเป็นระบบ
ความสำคัญของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1. เพื่อใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
2. เพื่อปลูกฝังทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นในการเรียนวิทยาศาสตร์
3. เพื่อให้เห็นคุณค่าสูงสุดในการเรียนวิทยาศาสตร์ เพราะทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเนื้อหาวิชาและใช้ทักษะในการแก้
ปัญหาที่เกิดขึ้นได้
สมาคมเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ( American Association for Advancement of Science: AAAS) ได้ระบุกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในหลักสูตร SAPA 13 ทักษะ (มังกร ทองสุขดี. 2535: 222-223) ดังนี้

1. ทักษะกระบวนการขั้นพื้นฐาน ( The Basic Process Skill) ประกอบด้วย

1.1 การสังเกต (Observating) เป็นกระบวนการที่ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน
อาจใช้เครื่องมือช่วยในการสังเกตให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องตามความเป็นจริงโดยไม่มีการใส่ความคิดเห็นใดๆ ของ ผู้สังเกตลงไปด้วย สิ่งที่ควรสังเกตมีดังนี้
1.1.1 การสังเกตเชิงคุณภาพ (Qualitative Observation)เป็นวิธีการที่ต้องการให้นักเรียนบอกรูปร่างของสิ่งที่สังเกตและคุณสมบัติของสิ่งต่างๆ โดยไม่ต้องบอกปริมาณ เช่น สี กลิ่น รส เสียง และความรู้สึกต่อผิวหนัง ในการระบุคุณลักษณะต่างๆ ต้องใช้ประสาทสัมผัสให้มากและควรระบุด้วยว่าข้อมูลนั้นได้มาจากประสาทส่วนใด ซึ่งไม่สามารถระบุออกมาเป็นตัวเลขได้ เช่น เมื่อใช้ตาดูลูกอมมีรูปร่างเป็นรูปสี่เหลี่ยม รูปกลม มีสีแดง สีเขียว
1.1.2 การสังเกตเชิงปริมาณ (Quanlitative Observation)เป็นการบอกคุณลักษณะที่ทำให้ทราบแต่เพียงรูปร่างลักษณะทั่วไปว่าเป็นอย่างไร การบอกปริมาณที่เกี่ยวข้องกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร มวล อุณหภูมิ และค่าต่างๆ ที่เป็นตัวเลข หรือข้อมูลอาจบอกได้โดย การกะปริมาณที่ได้จากการสังเกต เช่น ไม้หนัก 1.5 กรัม ยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1.0 เซนติเมตร และหนาประมาร 0.5 เซนติเมตร
1.1.3 การสังเกตเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Observation)เป็นการสังเกตที่ไม่บอกคุณสมบัติหรือปริมาณโดยตรง จะบอกว่าอันนี้เมื่อเปรียบเทียบกับอันโน้นแล้วเป็นอย่างไร เช่น เสาธงสูงประมาณตึกสามชั้น ปลาวาฬมีน้ำหนักเท่ากับแม่ควายสิบตัว
1.1.4 การสังเกตการเปลี่ยนแปลง(Observation of Chang)จะต้องสังเกตอย่างน้อย 2 ระยะขึ้นไป ระยะแรกเป็นการสังเกตก่อนการทดลอง ระยะที่สองเป็นการสังเกตขณะที่ทำการทดลองได้เริ่มขึ้นหรือเป็นการสังเกตภายหลังการทดลอง ต้องสังเกตเชิงคุณลักษณะและเชิงปริมาณ เพื่อนำข้อมูลทั้งสองระยะไปเปรียบเทียบกัน ควรสังเกตอย่างละเอียดและสังเกตหลายๆครั้งควรใช้ประสาทสัมผัสมากกว่าหนึ่งอย่าง และให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้


1.2 การวัด (Measuring)
เป็นกระบวนการที่ใช้เครื่องมือวัดไปทำการวัดหาปริมาณของสิ่งที่เราสังเกต ที่ต้องการวัดออกมาเป็นจำนวนที่มีหน่วยเปรียบเทียบ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วนคือ เครื่องมือวัด ตัวเลขที่แน่นนอน หน่วยของการวัดซึ่งอาจเป็นหน่วยมาตรฐาน (Standard Unite) หรือหน่วยกลาง (Arbitrary Unite)

1.3 การคำนวณ (Using Numbers)
เป็นการนำเอาตัวเลขที่ได้จากการสังเกต การทดลองหรืออาจจากแหล่งอื่นมาจัดกระทำเสียใหม่ เพื่อให้ได้ค่าใหม่ซึ่งจะมีความหมายต่อการนำไปใช้ต่อไป การจัดกระทำตัวเลขอาจจะเป็นการบวก การลบ การคูณ การหาร การหาค่าเฉลี่ย การยกกำลัง การถอดกรณฑ์

1.4 การจัดจำแนก (Classificating)
เป็นกระบวนการจัดวัตถุหรือเหตุการณ์ออกเป็นประเภทต่างๆ ตั้งแต่สองประเภทขึ้นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
เกณฑ์ที่ใช้อาจถือตามลักษณะแห่งความเหมือน ความสัมพันธ์ภายในประโยชน์ เช่น รูปร่าง ขนาดพื้นที่ น้ำหนัก สถานะ สี รส กลิ่น คุณสมบัติทางฟิสิกส์

1.5 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา(Using Space / Space and Space / time Relationship)
เป็นการสังเกตรูปร่างลักษณะของวัตถุ โดยเปรียบเทียบตำแหน่งของผู้สังเกตจากการมองในทิศต่างกัน จากการหมุนและการเคลื่อนที่ของวัตถุ ผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ระหว่างรูปร่างลักษณะหรือวิธีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับวัตถุในกรณีต่างๆกับเวลาที่เปลี่ยนไปบอกชื่อของรูปทรงและรูปทรงทางเรขาคณิตได้
บอกความสัมพันธ์ระหว่าง 2 มิติ กับ 3 มิติได้ บอกตำแหน่งหรือทิศทางของวัตถุหนึ่งได้ บอกความสัมพันธ์ของสิ่งที่อยู่หน้ากระจกเงา ภาพที่ปรากฏในกระจกว่าเป็นซ้ายหรือขวาของกันและกันได้ บอกความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนตำแหน่ง และ
ขนาดหรือปริมาณสิ่งต่างๆกับเวลาได้


1.6 การสื่อความหมายข้อมูล (Communicating)
เป็นการนำข้อมูลจากการสังเกตมาจัดกระทำเสียใหม่ในรูปใหม่ จัดทำเป็นตารางความถี่ จำแนกเป็นหมวดหมู่ คำนวณหาค่าใหม่
เลือกสื่อใดสื่อหนึ่งหรือหลายอย่างผสมกันมาถ่ายทอดให้คนอื่นเข้าใจง่ายและรวดเร็ว เช่น แผนภูมิ การเขียนบรรยาย การแสดงเป็นตาราง กราฟเส้น แผนที่ แผนผัง วงจร สมการทางคณิตศาสตร์

1.7 การลงความคิดเห็นจากข้อมูล (Inferring)
เป็นการอธิบายข้อมูลที่อยู่อย่างมีเหตุผลโดยอาศัยความรู้และประสบการณ์เดิมให้มาสัมพันธ์กับข้อมูลที่ตนเองมีอยู่
การลงความเห็นจะต้องเป็นไปอย่างสมเหตุสมผลกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นหรือข้อมูลที่สังเกตได้
การที่จะตัดสินว่าการลงความคิดเห็นใดถูกต้องหรือสมเหตุสมผลมากที่สุดต้องมีการตรวจสอบหาหลักฐานหรือข้อมูลอื่นมาประกอบ

1.8 การพยากรณ์ (Predicting)
เป็นการณ์คาดคะเนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอนาคต โดยอาศัยข้อมูลในปัจจุบันเป็นตัวบอกเหตุ ข้อมูลที่เป็นหลักการ กฎหรือทฤษฎีที่มีอยู่ได้ ข้อมูลเชิงปริมาณที่มีอยู่ พยากรณ์ผลที่จะเกิดขึ้นภายนอกขอบเขตข้อมูลเชิงปฏิบัติการที่มีอยู่

2. ทักษะขั้นบูรณาการ (The Integrated Process Skill) ประกอบด้วย

2.1 การตั้งสมมติฐาน (Formulating Hypothesis)
เป็นการหาคำตอบก่อนการทดลองโดยอาศัยการสังเกต ความรู้ และประสบการณ์เดิม ปัญหาหนึ่งอาจมีสมมติฐานได้มากกว่าหนึ่งสมมติฐานต้องทำ การทดสอบยืนยันในความเป็นจริงต่อไป สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการตั้งสมมติฐานคือ การบอกความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม ในการเขียนสมมติฐานมักจะใช้ข้อความดังนี้
“ถ้า...................................ดังนั้น..........................................”

2.2 การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining Operationally)
เป็นกำหนดความหมายและขอบเขตของคำหรือตัวแปรที่สังเกตและวัดได้ ซึ่งสามารถแยกคำนิยามเชิงปฏิบัติการออกจากคำนิยามทั่วไปได้ สามารถบ่งชี้ตัวแปรหรือคำที่ต้องการใช้ในการให้คำนิยามเชิงจากสมมติฐาน นิยามเชิงปฏิบัติการให้นิยามเฉพาะในลักษณะที่เป็นรูปธรรม โดยบรรยายให้เห็นการกระทำที่สังเกตและทดสอบสิ่งนั้นได้

2.3 การกำหนดและควบคุมตัวแปร (Controlling Variable)
หมายถึง การบ่งชี้ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องควบคุมในสมมติฐานหนึ่งๆ การควบคุมตัวแปรเป็นการควบคุมปัจจัยที่นอกเหนือจากตัวแปรต้นที่จะทำให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อน ถ้าหากว่าไม่ควบคุมให้เหมือนกัน ตัวแปรมี 3 ชนิด ดังนี้
1. ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ( Independent Variable) เป็น สิ่งที่มีอิทธิพลต่อผลที่ต้องการศึกษา หรือตัวแปรที่ต้อง การทดลองดูว่าจะก่อให้เกิดผลการศึกษาเช่นนั้นจริงหรือไม่
2. ตัวแปรตาม( Dependent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นผลเนื่องมาจากตัวแปรต้น
3. ตัวแปรควบคุม( Controlling Variable) เป็นตัวแปรอื่นๆที่ยังไม่สนใจศึกษาที่อาจมีผลต่อตัวแปรตามในขณะนั้น จึงจำเป็น ต้องควบคุมให้คงที่ไว้ก่อน

2.4 การทดลอง (Experimenting)
เป็นการสร้างเหตุการณ์หรือสถานการณ์ขึ้นมาอย่างหนึ่งเพื่อจะให้สังเกตผลที่เกิดขึ้นภายใต้การควบคุมและเงื่อนไขที่กำหนดขึ้น การทดลองสามารถทำซ้ำได้อีก การทดลองมีวัตถุประสงค์ที่จะทดสอบสมมติฐานโดยทำให้วัตถุหรือเหตุการณ์เกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบ การทดลองจะต้องประกอบด้วยกิจกรรมภาคปฏิบัติการทดลอง การออกแบบตารางบันทึกผลการทดลอง และการสังเกต

2.5 การตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป (Interpreting Data and Making Conclusion)
เป็นการนำเสนอข้อมูลจากการสังเกต การทดลอง การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งอื่นมาทำการหาข้อสรุปตาม วิธีอนุมานขึ้นเป็นความรู้วิทยาศาสตร์ซึ่งอาจจะเป็นมโนคติ หลักการ กฎ หรือทฤษฎีแล้วแต่กรณี โดยแปลความหมายหรือบรรยายลักษณะและสมบัติของข้อมูลที่มีอยู่ได้ บอกความสัมพันธ์ของข้อมูลที่มีอยู่ได้
นิยาม
ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่
เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
เงื่อนไขเพื่อให้เกิดความพอเพียง
1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกันเพื่อประกอบ
การวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
2. เงื่อนไขคุณธรรมที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม เช่น มีความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความเพียร ใช้สติปัญญาใน การดำเนินชีวิต
การนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในสถานศึกษา
หลักปฏิบัติด้านเศรษฐกิจ
หลักปฏิบัติ ตัวอย่างกิจกรรม
1. รู้จักการใช้จ่ายของตนเอง
• ใช้จ่ายอย่างมีเหตุมีผล
• ใช้จ่ายอย่างพอประมาณ
• ใช้จ่ายอย่างประหยัด
• ใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น • บันทึกบัญชีรายรับและรายจ่าย
• วิเคราะห์บัญชีรายรับและรายจ่าย
• แลกเปลี่ยนประสบการณ์
• ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อลดรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือย
2. รู้จักออมเงิน มีกลไกลดความเสี่ยง
• ระบบสวัสดิการ
• ระบบออมเงิน
• ระบบสหกรณ์
• การประกันต่าง ๆ • ออมวันละหนึ่งบาท
• สัปดาห์การออม
• จัดตั้งกลุ่ม/สหกรณ์ออมทรัพย์
• จัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน

3. รู้จักประหยัด
• ใช้และกินอย่างมีเหตุผลไม่ฟุ่มเฟือย
• ใช้พลังงานเท่าที่จำเป็น
 ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า • ปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้
• เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ไว้กิน ไว้ขาย
• ใช้สินค้าที่ประหยัดพลังงาน
• รีไซเคิลขยะเพื่อนำมาใช้ใหม่
• นำของเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์
4 . พึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจโดยผลิตหรือสร้างรายได้ที่
• สอดคล้องกับความต้องการ
• สอดคล้องกับภูมิสังคม
• สอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
• สอดคล้องกับทรัพยากรท้องถิ่น เน้นการผลิตเพื่อพึ่งตนเองให้พอเพียงกับ
การบริโภคและการผลิตที่หลากหลาย เช่น
• ปลูกพืชผักผสมผสาน
• ปลูกพืชสมุนไพรไทย
• ผลิตสินค้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
• จัดอบรมพัฒนาอาชีพในชุมชน
หลักปฏิบัติด้านสังคม
5. รู้จักช่วยเหลือสังคมหรือชุมชน
• ปลูกจิตสำนึกสาธารณะ
• ปลูกฝังความสามัคคี
• ปลูกฝังความเสียสละ
• เผยแพร่องค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง • จัดกิจกรรมลด ละ เลิกอบายมุข
• จัดกิจกรรมช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส
• จัดค่ายพัฒนาเยาวชน
• จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ในชุมชน

หลักปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม
6. สร้างสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติ
• ปลูกจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม
• ฟื้นฟูแหล่งเสื่อมโทรมในท้องถิ่น
• ฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรในท้องถิ่น
• ฟื้นฟูดูแลสถานที่ท่องเที่ยวในท้องถิ่น • พัฒนาความรู้เกี่ยวกับดิน น้ำ ป่า เพื่อฟื้นฟูรักษา
• โครงการชีววิถี
• จัดอบรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
• จัดทำฝายแม้ว
หลักปฏิบัติด้านวัฒนธรรมและศาสนา

7. สืบสานวัฒนธรรมไทย
• สร้างจิตสำนึกรักษ์ไทย รักบ้านเกิด
• ฟื้นฟูและอนุรักษ์อาหารประจำท้องถิ่น
• ฟื้นฟูและอนุรักษ์ดนตรีไทยและเพลงไทย
• ฟื้นฟูและอนุรักษ์วัตถุโบราณและโบราณสถาน
• ปลูกฝังมารยาทไทย
• ส่งเสริมอาหารประจำท้องถิ่น
• ส่งเสริมการใช้ภาษาประจำท้องถิ่น
• ทำนุบำรุงโบราณวัตถุและโบราณสถาน
8. ส่งเสริมพระพุทธศาสนา
• ปลูกจิตสำนึกความรักชาติ
• ตระหนักถึงคุณค่าของพระพุทธศาสนา
• จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ • ให้ความสำคัญกับการรักษาศีลหรือสวดมนต์เป็นประจำ
• ส่งเสริมการฝึกอบรมสมาธิ ภาวนา
• ร่วมกันทะนุบำรุงศาสนา
• พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น
• รณรงค์การใช้สินค้าไทย

คุณธรรมในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช พระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่และเป็นที่เคารพรักอยู่สูงสุดของปวงชนชาวไทย ทรงพระราชทานพระบรมราโชวาทให้คนไทยมีคุณธรรมประจำใจ 4 ประการ ได้แก่
1. รักษาความสัตย์ ความจริงต่อตนเองที่จะประพฤติปฏิบัติต่อสิ่งที่เป็นประโยชน์
2. รู้จักข่มใจตนเอง ให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัตย์ ความดี
3. อดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลประการใด
4. รู้จักระวังความชั่วความทุจริต และรู้จักเสียสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อ
ประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงยังระบุไว้ในเงื่อนไขสำหรับเป็นปัจจัยพื้นฐานของ
การประพฤติปฏิบัติตนที่มีความชัดเจน 2 เงื่อนไขสำคัญ คือ
1. เงื่อนไขความมีคุณธรรม ที่จะต้องประกอบด้วย
(1) ความซื่อสัตย์สุจริต ดำรงอยู่อย่างมั่นคงต่อความดีงามปราศจากอกุศลจิตที่คิดคดทรยศ และทุจริตต่อผู้อื่น
(2) การใช้สติปัญญาที่รอบคอบระมัดระวังไตร่ตรองใคร่ครวญอย่างละเอียดถี่ถ้วนทั้งก่อนและหลังทำกิจกรรมใด ๆ ก็ตาม
2. เงื่อนไขการดำเนินชีวิต ที่จะต้องประกอบด้วย
(1) ความขยันขันแข็ง อดทน อดกลั้นต่อสภาพความยากลำบาก หรือปัญหาอุปสรรคที่เผชิญอยู่ รวมทั้งเป็นผู้รู้จักอดออม ประหยัดใช้ทรัพยากรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด
(2) ความรู้จักแบ่งปันและแลกเปลี่ยน มีความเอื้ออาทรระหว่างกัน สงเคราะห์ผู้ด้อยกว่าโดยมิหวังผลตอบแทนด้วยความมีน้ำใจมีความเมตตา และยึด ความเป็นกัลยาณมิตรต่อเพื่อนร่วมโลก

การเขียนเค้าโครงของโครงงานวิทยาศาสตร์

การเขียนเค้าโครงของโครงงานเป็นการวางแผนการจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เพื่อให้การดำเนินการทำกิจกรรมเป็นไปอย่างรัดกุมและรอบคอบ แล้วจึงลงมือทำโครงงาน เขียนรายงานโครงงาน และนำเสนอโครงงานซึ่งอาจแสดงผลงานในรูปของการจัดนิทรรศการ การอธิบายหรือรายงานปากเปล่า
เค้าโครงของโครงงานวิทยาศาสตร์โดยทั่วไปมีองค์ประกอบต่อไปนี้
1. ชื่อโครงงาน อาจได้จากปัญหา คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัว
2. ประเภทโครงงาน จะสอดคล้องกับชื่อเรื่องโครงงานว่าเป็นประเภทใด เช่น
2.1 โครงงานประเภทการทดลอง ได้แก่ มดดำไล่มดแดง
2.2 โครงงานประเภทการสำรวจ ได้แก่ การศึกษาปูลมบริเวณหาดตะโละกาโปร์ พฤติกรรมมดแดง(ศึกษาโครงสร้างภายนอกทั่วไปของมดและสังเกตลักษณะภายนอกของวรรณะทั้ง 4 คือ ราชินี มดงานเพศเมีย มดเพศผู้ มดงาน(ตอนที่ 1))
2.3 โครงงานประเภทการพัฒนาหรือการประดิษฐ์ ได้แก่ เครื่องสาวไหมไฟฟ้าแบบ 2 หัวสาว, กระสวยอัดอากาศ, จรวดขวดน้ำ
2.4 โครงงานประเภทการสร้างทฤษฎีหรือการอธิบาย ได้แก่ กำเนิด ของทวีปและมหาสมุทร
3. ชื่อผู้ทำโครงงาน ส่วนใหญ่โครงงาน 1 โครงงานจะมีสมาชิกจำนวน 3 คน
4. ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน ส่วนใหญ่เป็นครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ในชั้นนั้นๆ หรือครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ที่ให้คำปรึกษาแก่นักเรียน
5. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน เป็นการอธิบายถึงเหตุผลที่เลือกทำโครงงานนี้ โครงงานเรื่องนี้มีความสำคัญอย่างไร มีหลักการและทฤษฎีอะไรที่เกี่ยวข้อง เรื่องที่ทำเป็นเรื่องใหม่หรือมีผู้อื่นได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องทำนองนี้ไว้บ้างแล้ว
ถ้ามีได้ผลเป็นอย่างไร เรื่องที่ทำนี้ได้ขยายเพิ่มเติมปรับปรุงจากเรื่องที่ผู้อื่นทำไว้อย่างไรหรือเป็นการทำซ้ำเพื่อตรวจสอบผล(กระทรวงศึกษาธิการ, 2544)
6. วัตถุประสงค์ เขียนให้ชัดเจนว่าโครงงานเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร
7. สมมติฐานและการกำหนดตัวแปรต่าง ๆ ส่วนใหญ่การตั้งสมมติฐานและ การกำหนดตัวแปรจะมีในโครงงานประเภทการทดลอง ซึ่งเป็นการตรวจสอบสมมติฐาน
8. วิธีดำเนินการ
8.1 วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ โครงงานวิทยาศาสตร์ทุกประเภทต้องกำหนดวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้มีอะไรบ้าง วัสดุอุปกรณ์เหล่านั้นมีอยู่ที่ใด วัสดุอุปกรณ์อะไรบ้างที่ต้องจัดซื้อหรือยืมมาจากที่ต่างๆ อะไรบ้างต้องจัดทำเอง ซึ่งต้องกำหนดให้ชัดเจนเพื่อ ความสะดวกในการเก็บรวบรวมข้อมูล
8.2 แนวการศึกษาค้นคว้าและทดลอง อธิบายเกี่ยวกับวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ออกแบบการทดลอง วิธีการสร้างสิ่งประดิษฐ์ การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล
9. แผนปฏิบัติการ เป็นการกำหนดระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมแต่ละขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้นโครงงานตามขั้นตอนที่กำหนดไว้
10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ เขียนให้มีความหมายสอดคล้องกับหัวข้อวัตถุประสงค์ในการทำโครงงานเรื่องนี้
11. เอกสารอ้างอิง(บรรณานุกรม) ควรเขียนข้อความหรือเนื้อหาที่สืบค้นมาได้ไว้ให้ถูกต้อง และพิจารณาว่าเนื้อหาที่ได้สอดคล้องกับชื่อโครงงาน วัตถุประสงค์สมมติฐานและการกำหนดตัวแปรต่าง ๆ วิธีดำเนินการ และผลที่คาดว่าจะได้รับหรือไม่ พร้อมทั้งเขียนอ้างอิงไว้ให้ชัดเจน
การเขียนอ้างอิงมี 2 ลักษณะคือ การเขียนอ้างอิงในข้อความของเนื้อเรื่องและการเขียนเป็นรายงานเอกสารอ้างอิงซึ่งมักอยู่ส่วนท้ายของเอกสาร
11.1 การเขียนอ้างอิงในเนื้อเรื่อง นิยมอ้างอิงแบบ ชื่อ – ปี (ชื่อผู้แต่ง – ปีที่พิมพ์) โดยเขียนได้ 2 แบบคือ
1) อ้างไว้หน้าข้อความ เขียนดังนี้
ชื่อผู้แต่ง(ปีที่พิมพ์)......................ข้อความ.....................................
เช่น สุระ พัฒนเกียรติ(2545) แสดงความเห็นไว้ว่า การนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้ในงานด้านต่าง ๆ นั้น ปัจจัยด้านทรัพยากรบุคคลนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
2) อ้างไว้หลังข้อความ เขียนดังนี้
ข้อความ.....................................................................(ชื่อผู้แต่ง,ปีที่พิมพ์)
เช่น การนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้ในงานด้านต่าง ๆ นั้น ปัจจัยด้านทรัพยากรบุคคลนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง(สุระ พัฒนเกียรติ, 2545) ( อัจฉรา ธรรมถาวร, 2549)
11.2 การเขียนเป็นรายงานเอกสารอ้างอิง มักอยู่ส่วนท้ายของเอกสาร เช่น
1) เอกสารที่เป็นหนังสือหรือตำรา มีรูปแบบการเขียนดังนี้
ชื่อผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์. ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
2) ข้อความจากอินเตอร์เน็ต มีรูปแบบการเขียนดังนี้
ชื่อผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์. ชื่อเรื่อง. (ชื่อแหล่งข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต). วัน เดือน ปี ที่ค้นข้อมูล.
( อัจฉรา ธรรมถาวร, 2549)
การเขียนเค้าโครงของโครงงานจึงเป็นการวางแผนการจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ที่ทำให้การดำเนินการทำกิจกรรมเป็นไปอย่างรัดกุมและรอบคอบ ซึ่งทำให้โครงงานวิทยาศาสตร์สำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง

“เด็กๆ นอกจากจะต้องเรียนความรู้แล้วยังต้องหัดทำการงานและทำความดีด้วย เพราะการทำงานจะช่วยให้มีความสามารถ มีความขยันอดทนพึ่งตนเองได้ และการทำดีนั้นจะช่วยให้มีความสุขความเจริญทั้งป้องกันตนไว้ไม่ให้ตกต่ำ”(คำพ่อสอน. 2543)
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พระราชทานเพื่อเชิญลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็ก ประจำปี 2530

โครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์ หมายถึง การศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยตนเองของนักเรียน โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ภายใต้คำแนะนำปรึกษาของครู
**กิจกรรมการทำโครงงานวิทยาศาสตร์อาจเรียกได้ว่า เป็นการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เบื้องต้นสำหรับนักเรียน

หลักการของกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์
1. เน้นการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยนักเรียนจะเป็นผู้ริเริ่ม วางแผน และดำเนินการศึกษาด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ชี้แนะแนวทาง และให้คำปรึกษา
2.เน้นกระบวนการแสวงหาความรู้โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยเริ่มจากการกำหนดปัญหา เลือกหัวข้อที่ตนสนใจจะศึกษา วางแผนการศึกษาค้นคว้า ดำเนินการรวบรวมข้อมูล ทำการทดลอง และสรุปผลการศึกษาค้นคว้า
3.เน้นการคิดเป็น ทำเป็น และการแก้ปัญหาเป็นด้วยตนเอง
คุณค่าของโครงงานวิทยาศาสตร์
1. สร้างสำนึกและความรับผิดชอบในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง
2. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาและ แสดงความสามารถตามศักยภาพ ของตนเอง
3. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษา ค้นคว้า และเรียนรู้ใน เรื่องที่นักเรียนสนใจได้อย่างลึกซึ้งกว่าการเรียนใน
ห้องเรียนปกติ
4. ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการคิด การแก้ปัญหา การตัดสินใจ รวมทั้งการสื่อสาร
5. กระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ และมีความสนใจที่จะประกอบอาชีพทางวิทยาศาสตร์
6. ส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้เวลาอย่าง เป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์
7. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับ ครูและชุมชน รวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชน สนใจวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
8. ให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหา สาระของวิชาวิทยาศาสตร์
9. ให้นักเรียนมีทักษะในการศึกษาค้นคว้า มีความสนใจวิทยาศาสตร์ มีเจตคติและ ค่านิยมทางวิทยาศาสตร์
10. ส่งเสริมให้จุดมุ่งหมายของหลักสูตร สัมฤทธิ์ผลโดยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

วิธีการทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ขั้นที่ 1 การคิดและเลือกชื่อเรื่องหรือปัญหาที่จะศึกษา
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นที่สำคัญที่สุดและยากที่สุด ตามหลักการแล้ว นักเรียนควรเป็นผู้คิดและเลือก หัวข้อเรื่องที่จะศึกษาด้วยตนเอง
แต่นักเรียนสามารถคิดหัวข้อเรื่องได้ด้วยตนเองหรือให้ครูส่วนช่วยเหลือ

ขั้นที่ 2 การวางแผนในการทำโครงงาน
ได้แก่ การวางแผนดำเนินงานในการศึกษาค้นคว้าทั้งหมด เช่น วัสดุอุปกรณ์ ที่จำเป็นต้องใช้ในการออกแบบการทดลอง และควบคุมตัวแปร วิธีดำเนินการรวบรวม ข้อมูล การวางแผนปฏิบัติงานอย่างคร่าว ๆ ว่าจะดำเนินการอย่างไรบ้างเป็นขั้นตอน แล้วนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมและขอความเห็นชอบ

ขั้นที่ 3 การลงมือทำโครงงาน
ได้แก่ การวางแผนดำเนินงานในการศึกษาค้นคว้า ทั้งหมด เช่น วัสดุอุปกรณ์ ที่จำเป็นต้องใช้ในการออก แบบการทดลอง และควบคุมตัวแปร วิธีดำเนินการรวบรวม ข้อมูล การวางแผนปฏิบัติงานอย่างคร่าว ๆ ว่าจะดำเนิน การอย่างไรบ้างเป็นขั้นตอน แล้วนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม และขอความเห็นชอบ

ขั้นที่ 4 การเขียนรายงาน
เป็นการเสนอผลของการศึกษาค้นคว้าเป็นลายลักษณ์อักษรหรือเป็นเอกสาร เพื่ออธิบายให้ผู้อื่นทราบรายละเอียดทั้งหมดของการทำโครงงาน ซึ่งจะประกอบด้วย ปัญหาที่ทำการศึกษาวัตถุประสงค์ของการศึกษา วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ ข้อมูลต่าง ๆ ที่รวบรวมได้ ผลที่ได้จาก การศึกษาค้นคว้า ตลอดจนประโยชน์และ ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่ได้จากการทำโครงงานนั้น ๆ วิธีเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ มีลักษณะและแนวทางในการเขียน เช่นเดียวกับ การเขียนรายงาน
ผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของ นักวิทยาศาสตร์นั่นเอง

ขั้นที่ 5 การแสดงผลงาน
เป็นการเสนอผลงานที่ได้ศึกษาค้นคว้าสำเร็จลงแล้วให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจ ซึ่งอาจกระทำได้หลายรูปแบบเช่น การจัดนิทรรศการ การสาธิตแสดงประกอบรายงานปากเปล่า ฯลฯ

โครงงานวิทยาศาสตร์แบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ
1. โครงงานประเภทการสำรวจ
เป็นการศึกษารวบรวมปัญหาจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อศึกษาหาความรู้ที่มีอยู่หรืออยู่ในธรรมชาติ โดยใช้วิธีสำรวจและรวบรวมข้อมูล แล้วนำข้อมูลที่ได้มาจัดกระทำให้เป็นระบบระเบียบและ สื่อความหมาย แล้วนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ตาราง กราฟ แผนภูมิ และคำอธิบายประกอบ อาจกระทำในลักษณะใดลักษณะหนึ่งต่อไปนี้

2. โครงงานประเภทการทดลอง
เป็นการศึกษาหาคำตอบของปัญหาใดปัญหาหนึ่ง โดยการออกแบบการทดลอง และดำเนินการทดลอง ลักษณะของโครงงานประเภทนี้ คือ มีการออกแบบการทดลอง เพื่อศึกษาผลของตัวแปรที่มีต่อ ตัวแปรอีกตัวหนึ่งที่ต้องการศึกษา โดยควบคุมตัวแปรอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อตัวแปรที่ต้องการศึกษา

3. โครงงานประเภทการพัฒนาหรือสิ่งประดิษฐ์
เป็นการพัฒนา ประดิษฐ์ การสร้างอุปกรณ์ หรือเครื่องมือเครื่องใช้เพื่อประโยชน์ในการใช้สอย โดย การประยุกต์ทฤษฎี หรือหลักการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการพัฒนาหรือการประดิษฐ์ดังกล่าว อาจเป็นการประดิษฐ์สิ่งใหม่ หรือการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น หรืออาจเป็นการเสนอแบบจำลองทางความคิดเพื่อแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง

4. โครงงานประเภทการสร้างทฤษฎีหรือการอธิบาย

เป็นโครงงานที่เสนอทฤษฎีหรือคำอธิบายสิ่งต่าง ๆ หรือ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นแนวคิดใหม่ ๆ โดยมีหลักการวิทยาศาสตร์ หรือทฤษฎีอื่น ตลอดจนข้อมูลต่าง ๆ สนับสนุน อาจเป็นคำอธิบายปรากฎการณ์เก่าในแนวใหม่ หรือเสนอในรูปของคำอธิบาย สูตร หรือสมการ แต่จะต้องมีข้อมูลหรือทฤษฎีอื่นมาสนับสนุนอ้างอิง

วิธีการทางวิทยาศาสตร์

1.1 วิธีการทางวิทยาศาสตร์

วิธีการทางวิทยาศาสตร์(Scientific method) เป็นวิธีการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการสืบเสาะหาความรู้ หรือข้อเท็จจริงต่างๆ ประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ คือ
1.ขั้นกำหนดปัญหา
2.ขั้นตั้งสมมติฐาน
3.ขั้นตรวจสอบสมมติฐาน และรวบรวมข้อมูล
4.ขั้นวิเคราะห์ อภิปรายและสรุปผลการทดลอง
1. ขั้นกำหนดปัญหา
ปัญหา(problem) ต่างๆ มักเกิดจากการสงสัยที่ได้จากการสังเกตปรากฏการณ์ การศึกษาข้อเท็จจริง และการทดลองต่างๆ ในการสังเกตอาจใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัส รวมถึงเครื่องมือช่วยขยายความสามารถของประสาทสัมผัส และมีการบันทึกข้อมูลต่างๆ ที่ได้อย่างเป็นระบบ โดยไม่ใส่ความคิดเห็นของผู้สังเกตลงไป ข้อมูลที่ได้จึงเป็นข้อเท็จจริง ซึ่งนำไปสู่สมมติฐาน(hypothesis) เพื่ออธิบายปัญหาที่ได้จากการสังเกตและพยายามคิดหาคำตอบที่อาจเป็นไปได้
ตัวอย่าง ปัญหาต่างๆ ที่ได้จากการสังเกต
ปุ๋ยชนิดใดที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นกุหลาบ
อุณหภูมิมีผลต่อการสลายตัวของวิตามินซีหรือไม่
การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมมีผลต่อพฤติกรรมการหาอาหารของมดหรือไม่
ความเข้มของแสงสว่างมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชหรือไม่
2.ขั้นตั้งสมมติฐาน
การตั้งสมมติฐาน หมายถึง การคาดคะเนล่วงหน้าของคำตอบของปัญหาที่ต้องการทราบ หรือการหาคำตอบก่อนการทดลอง โดยอาศัยการสังเกต ความรู้ และประสบการณ์เดิม ปัญหาหนึ่งอาจมีสมมติฐานได้มากกว่าหนึ่งสมมติฐานต้องทำ การทดสอบยืนยันในความเป็นจริงต่อไป
สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการตั้งสมมติฐาน คือ การบอกความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม ในการเขียนสมมติฐานอาจใช้ข้อความดังนี้
“ถ้า...................................ดังนั้น..............................”
การตั้งสมมติฐานที่ดี จะช่วยแนะแนวทางการตรวจสอบสมมติฐาน
ตัวอย่าง การตั้งสมมติฐาน

ปัญหา -อุณหภูมิมีผลต่อการสลายตัวของวิตามินซีหรือไม่
สมมติฐาน -ถ้าอุณหภูมิมีผลต่อการสลายตัวของวิตามินซี ดังนั้นปริมาณของวิตามินซีละลดลง
ปัญหา -การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมมีผลต่อพฤติกรรมการหาอาหารของมดหรือไม่
สมมติฐาน -ถ้าสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นพฤติกรรมการหาอาหารของมดจะเปลี่ยนแปลงไปด้วย
ปัญหา -ความเข้มของแสงสว่างมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชหรือไม่
สมมติฐาน -ถ้าแสงสว่างมีความเข้มมากขึ้น ดังนั้น การเจริญเติบโตของพืชจะเพิ่มขึ้น

3.ขั้นตรวจสอบสมมติฐาน และรวบรวมข้อมูล
การดำเนินการตรวจสอบสมมติฐาน โดยอาศัยการรวบรวมข้อมูลทั้งจาก การสำรวจ การทดลอง การสืบค้นข้อมูล หรือวิธีการอื่นๆ ประกอบกัน แล้วนำมาจัดกระทำใหม่ในรูปแบบต่างๆ เช่น การจัดเรียงลำดับ การแยกประเภท หรือคำนวณหาค่าใหม่ อาจนำเสนอในรูปของตาราง แผนภูมิ แผนภาพ กราฟ สมการ เป็นต้น ซึ่งจะต้องบอกความหมายของข้อมูลที่ได้จัดกระทำ และการอธิบายข้อมูลที่มีอยู่อย่างมีเหตุผล
การทดลอง ประกอบด้วย
3.1 การออกแบบการทดลอง เป็นการวางแผนการทดลองก่อนลงมือทดลองจริง เพื่อกำหนดวิธีการดำเนินการทดลอง การกำหนดและควบคุมตัวแปร และวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องการใช้ในการทดลอง
ตัวแปรที่ใช้ในการทดลอง มี 3 ชนิด คือ
1) ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ เป็นสิ่งที่มิอิทธิพลต่อผลที่ต้องการศึกษา หรือตัวแปรที่ต้องการทดลองดูว่าจะก่อให้เกิดผลเช่นนั้นจริงหรือไม่
2) ตัวแปรตาม เป็นตัวแปรที่ผลเนื่องมาจากตัวแปรต้น
3) ตัวแปรควบคุม เป็นตัวแปรอื่นๆที่ยังไม่สนใจศึกษาที่อาจมีผลต่อตัวแปรตามในขณะนั้น จึงจำเป็นต้องควบคุมให้คงที่ไว้ก่อน
3.2 การปฏิบัติการทดลอง เป็นการลงมือปฏิบัติการทดลองจริงๆ
3.3 การบันทึกผลการทดลอง เป็นการจดบันทึกข้อมูลที่ได้จากการทดลอง ซึ่งอาจเป็นผลของการสังเกต การวัด และอื่นๆ
การตรวจสอบสมมติฐาน และรวบรวมข้อมูลจึงมีความสำคัญเพื่อตรวจสอบว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้นั้นว่าถูกต้องหรือไม่ โดยเฉพาะการทดลองอาจต้องควบคุมตัวแปรต่างๆ และทำการทดลองซ้ำหลายๆ ครั้ง
4. ขั้นวิเคราะห์ อภิปรายและสรุปผลการทดลอง
การวิเคราะห์ อภิปรายและสรุปผลการทดลอง เป็นการลงข้อสรุปโดยการเอาความหมายของข้อมูลที่ได้ทั้งหมดจากผลการทดลอง อภิปรายและสรุปให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่ต้องการศึกษาภายในขอบเขตของการทดลองนั้นๆ
สมมติฐานที่ได้ผ่านการตรวจสอบแล้วหลายครั้ง อาจเป็นส่วนที่ทำให้เกิดหลักการ กฎ ทฤษฎี
ตัวอย่าง กฎ และทฤษฎี
 กฎของเมนเดล
 ทฤษฎีเซลล์
 ทฤษฎีการคัดเลือกตามธรรมชาติ
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ จึงเป็นกระบวนการหรือวิธีการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นระบบ และมีขั้นตอน

วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สมุนไพรกำจัดศัตรูพืช

ตอนที่ 7.1 สมุนไพรที่มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช
สมุนไพรที่มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชมีหลายชนิดได้แก่
•ใบดาวเรือง ใบมะเขือเทศ ใบคำแสด ใบน้อยหน่า ใบยอ
•ใบลูกสบู่ต้น ใบลูกเทียนหยด ใบมะระขี้นก ใบผกากรอง
•เปลือกว่านหางจระเข้ ว่านน้ำ เมล็ดโพธิ์ เมล็ดแตงไทย ดีปลี
•เปลือกมะม่วงหิมพานต์ ดอกลำโพง ดอกเฟื่องฟ้าสด พริก
•กลีบดอกชบา ลูกทุเรียนเทศ รากเจตมูลเพลิงแดง ตะไคร้แกง
•หางไหลขาว (โล่ติ่น) หางไหลแดง (กะเพียด) ยาสูบ (ยาฉุน)
•เถาบอระเพ็ด สาบเสือ พริกไทย ข่าแก่ ขมิ้นชัน ตะไคร้หอม
•โหระพา สะระแหน่ กระเทียม กระชาย กะเพรา
ตอนที่ 7.2 สมุนไพรที่มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัดหนอนชนิดต่าง ๆ
สมุนไพรที่มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัดหนอนชนิดต่าง ๆ ได้แก่
•สะเดา (ใบ+ผล) หนอนตายหยาก ใบดาวเรือง ใบมะเขือเทศ ใบคำแสด ใบน้อยหน่า ใบยอ หัวกลอย เมล็ดละหุ่ง
•หางไหลขาว (โล่ติ่น) หางไหลแดง (กะเพียด) ยาสูบ (ยาฉุน)
•ฝักคูณแก่ ใบเลี่ยน ควินิน (ใบ+ลูก) สบู่ต้น (ใบ+เมล็ด)
•ใบลูกเทียนหยด ใบมะเขือเทศ ใบยอ เข็มขาว เปลือกใบเข็มป่า
•เปลือกต้นจิกและจิกสวน ต้นส้มเช้า เมล็ดมันแกว เถาบอระเพ็ด
•สาบเสือ ขมิ้นชัน ข่าบ้าน บัวตอง สบู่ดำ โหระพา
•สะระเหน่ กระเทียม กระชาย กะเพรา
ดาวเรือง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tagetes erecta Linn.
ชื่อวงศ์ COMPOSITAE
ชื่อสามัญ African marigold
ชื่อท้องถิ่น ดาวเรือง
ถิ่นกำเนิด ประเทศเม็กซิโก อเมริกาใต้
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ปักชำยอด
ประโยชน์ของดาวเรือง
1. เมล็ดใช้ทำอาหารสัตว์ เนื่องจากดาวเรืองเป็นพืชที่สารแซธโธฟิล (Xanthophyll) สูง จึงสามารถนำไปเป็นส่วนผสมอาหารสัตว์ได้ดี โดยเฉพาะอาหารของของไก่ไข่จะทำให้ไข่แดงมีสีแดงสดใสน่ากินยิ่งขึ้น เนื่องจากดาวเรืองเป็นพืชที่สารแซธโธฟิล
2. ปลูกประดับเพื่อความสวยงาม
3. ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ในการป้องกันแมลง เนื่องจากดาวเรืองเป็นสารที่มีกลิ่นเหม็น (ฉุน) แมลงไม่ชอบ จึงสามารถใช้เป็นเกราะป้องกันแมลงให้แก่พืชอื่น ๆ ด้วย นอกจากนี้รากของดาวเรืองยังมีสารชนิดหนึ่งที่ช่วยลดปริมาณไส้เดือนฝอยในดินได้
4. ปลูกเพื่อจำหน่าย
ศัตรูเป้าหมาย
เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยหอย เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว ตั๊กแตนแมลงวันผลไม้ หนอนผีเสื้อกะโหลก หนอนใยผัก ไส้เดือนฝอย หนอนกะหล่ำปลี
ด้วงปีกแข็ง
วิธีทำน้ำดอกดาวเรืองสำหรับฉีดพ่นกำจัดศัตรูพืช
วิธีเตรียมและการใช้
1. นำดอกดาวเรืองจำนวน 500 กรัม ต้มในน้ำ 4 ลิตร
2. ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วกรองเอาน้ำด้วยผ้าขาวบาง ๆ
3. ผสมน้ำลงไปอีก 4 ลิตร
4. ก่อนนำไปใช้ให้ผสมสารจับใบ เช่น แฟ๊บ ซันไลด์ หรือ แชมพู ในอัตราส่วน 1 ช้อนโต๊ะ
5. ใช้ฉีดพ่นบริเวณต้นพืชที่มีศัตรูพืช 2 ครั้ง (วันละ 1 ครั้งติดต่อกัน 2 วัน)


กระเทียม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Allium sativum Linn.
ชื่อวงศ์ ALLIACEAE
ชื่อท้องถิ่น หอมเทียม ภาคเหนือ) เทียม หัวเทียม (ภาคใต้) กระเทียม (ภาคกลาง) กระเทียมขาว หอมขาว (อุดรธานี) ปะเซว้า (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน)
คุณค่าทางอาหารของกระเทียม
1. มีคาร์โบไฮเดรต 31 % ไขมัน 0.2 % โปรตีน 6 % และน้ำ 61 %
2. มีปริมาณเกลือแร่ในกระเทียม ดังตาราง 8

แสดงปริมาณเกลือแร่ต่อกระเทียม 100 กรัม

เกลือแร่ มิลลิกรัม (mg)
แคลเซียม 29
ฟอสฟอรัส 202
เหล็ก 0.5
โซเดียม 19
โพแทสเซียม 529
ที่มา : กระเทียม. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน, 2549, จาก http://www.geocities.com/psplant/ps_seminar_Chotima.htm
3. ปริมาณวิตามินในกระเทียมดิบ ดังตาราง 9
ตาราง 9 แสดงปริมาณวิตามินต่อกระเทียม 100 กรัม

วิตามิน มิลลิกรัม (mg)
A น้อย
B1 (ไทอามีน) 0.25
B2 (ไรโบฟลาวีน) 0.08
นิโคติมาไมด์ 0.5
C 15
ที่มา : กระเทียม. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน, 2549, จาก http://www.geocities.com/psplant/ps_seminar_Chotima.htm
ประโยชน์กระเทียม
1. การปลูกกระเทียมสลับกับพืชอื่น ชาวไร่มีวิธีการปลูกพืชหลายชนิดสลับร่องกัน เชื่อว่าพืชบางชนิดปลูกรวมกัน พืชอีกอย่างหนึ่งทำให้แมลงศัตรูพืชไม่มารบกวนพืชที่ปลูก พืชที่ใช้ไล่แมลง คือ กระเทียม กระเทียมต้องการเนื้อที่ไม่มากในการปลูก ดูแลไม่ยาก และกระเทียมไม่แย่งอาหารพืชหลัก และรากชอนไชไปได้ไม่ไกล บันทึกตั้งแต่โบราณกระเทียมสามารถ
ฆ่าแมลงศัตรูพืช
2. กระเทียมแปรรูป เช่น กระเทียมแคปซูลบรรจุน้ำมันกระเทียมบริสุทธิ์ไว้ กระเทียมโทนดองสมุนไพร
3. กระเทียมเป็นยาฆ่าแมลง มีสารออกฤทธิ์ต่อแมลงศัตรูพืชทั้งทางตรงและทางอ้อม
3.1 ทางตรง คือ แมลงได้รับสมุนไพรแล้วตายทันที
3.2 ทางอ้อม คือ แมลงได้รับสมุนไพรยังไม่ตายทันทีมีผลต่อระบบสรีระของแมลง ทำให้แมลงผิดปกติ เช่น ยับยั้งการกินอาหารมีผลต่อการเจริญเติบโต แมลงบางชนิดไม่สามารถลอกคราบ ไม่สามารถเจริญเป็นตัวเต็มวัยหรือไม่สามารถวางไข่ได้ การเก็บเกี่ยวพืชสมุนไพร เพื่อใช้ในการป้องกันแมลง พืชที่ใช้หัวและรากเก็บในระยะที่เริ่มมีดอก เพราะระยะนี้ต้นพืชจะมีการสะสมสารต่าง ๆ ไว้ที่รากเก็บในช่วงฤดูหนาวหรือปลายฤดูร้อน

กระเทียมกำจัดศัตรูพืช
ประสิทธิภาพของกระเทียมเป็นยาฆ่าแมลง สารขับไล่แมลง สารหยุดยั้งการกินอาหาร ยากันเชื้อรา แบคทีเรีย ไส้เดือนฝอยในดิน หมัด เห็บ

ศัตรูเป้าหมาย
เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว ไส้เดือนฝอย โรคราน้ำค้าง โรคราสนิม

การทำน้ำกระเทียมสำหรับฉีดพ่นกำจัดศัตรูพืชมี 2 วิธี คือ
วิธีที่ 1
โขลกกระเทียม 0.5 กิโลกรัม แช่ในน้ำมันก๊าด 80 ช้อนชา ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง
นำสบู่ละลายน้ำ 2.5 ลิตร เติมผสมน้ำ 1 เท่า ก่อนนำไปฉีดพ่น
วิธีที่ 2
บดกระเทียม 2 หัวใหญ่ และพริก 2 ช้อนชาให้ละเอียด ใส่ในน้ำร้อน 4 ลิตร
เติมสบู่ลงไปเล็กน้อย กรองแล้วนำไปใช้กับแมลงกระทู้ผลไม้

ตะไคร้หอม

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon nardus Rendie.
ชื่อวงศ์ GRAMINEAE
ชื่ออังกฤษ Citronella grass
ชื่อท้องถิ่น จะไคมะขูด ตะไครมะขูด ตะไคร้แดง
ประโยชน์ตะไคร้หอม
ใบและกาบใบมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมี Geraniol และ Citronellal เป็นส่วนประกอบสำคัญ มีฤทธิ์ในการไล่แมลง
ศัตรูเป้าหมาย
หนอนกระทู้ หนอนใยผัก

การทำน้ำตะไคร้หอมสำหรับฉีดพ่นกำจัดศัตรูพืช
วิธีเตรียมและการใช้
1. นำต้นตะไคร้หอม ใช้ทั้งเหง้าและใบหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วบดหรือโขลกให้ละเอียด จำนวน 400 กรัม
2. ผสมลงในน้ำ 8 ลิตร ทิ้งไว้นาน 24 ชั่วโมง
3. กรองเอาน้ำด้วยผ้าบางบาง
4. ก่อนนำไปใช้ให้ผสมกับสารจับใบ เช่น แฟ๊บ ซันไลด์ หรือแชมพู ในอัตราส่วน 1 ช้อนโต๊ะ
5. ใช้ฉีดพ่นทุก ๆ 7 วัน

บอระเพ็ด

ชื่อวิทยาศาสตร์ Tinospora crispa Miers
ชื่อวงศ์ MENISPERMACEAE
ชื่อท้องถิ่น
จุ่งจริงตัวแม่ เจ็ดมูลย่าน เจ็ดมูลหนาม จุ่งจิง เครือเขาฮ่อ ตัวเจ็ดมุลย่าน เถาหัวด้วน เจ็ดหมุนปลูก
ศัตรูเป้าหมาย
เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น หนอนกอ โรคยอดเหี่ยว โรคข้าวตายพราย โรคข้าวลีบ
การทำน้ำบอระเพ็ดสำหรับฉีดพ่นกำจัดศัตรูพืช
วิธีเตรียมและการใช้
1. นำเถาบอระเพ็ดสด 5 กิโลกรัม หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วบดหรือโขลกให้ละเอียด
2. ผสมน้ำ 12 ลิตร ทิ้งไว้นาน 2 ชั่วโมง
3. กรองเอาน้ำด้วยผ้าบางบาง
4. ก่อนนำไปใช้ให้ผสมกับสารจับใบ เช่น แฟ๊บ ซันไลด์ หรือแชมพู ในอัตราส่วน 1 ช้อนโต๊ะ
5. ใช้ฉีดพ่น 2 ครั้ง (วันละ 1 ครั้ง) เวลามีปัญหาศัตรูพืช

สาบเสือ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Chromolaena odoata ( Linn) R.M. King
ชื่อวงศ์ COMPOSITAE
ชื่อท้องถิ่น สาบเสือ หญ้าดงร้าง หญ้าดอกขาว หมาหลง บ้านร้าง
ศัตรูเป้าหมาย
เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยหอย เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ หนอนใยผัก
หนอนกระทู้กัดต้น หนอนกระทู้ควายพระอินทร์
การทำน้ำสาบเสือสำหรับฉีดพ่นกำจัดศัตรูพืช
วิธีเตรียมและการใช้
1. นำใบสาบเสือจำนวน 1 กิโลกรัม บดหรือโขลกให้ละเอียด
2. ผสมน้ำในอัตราส่วนใบสด 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 5 ลิตร หรือใบแห้ง 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ทิ้งไว้นาน 24 ชั่วโมง
3. กรองเอาน้ำด้วยผ้าบางบาง
4. ก่อนนำไปใช้ให้ผสมกับสารจับใบ เช่น แฟ๊บ ซันไลด์ หรือแชมพู ในอัตราส่วน ครึ่งช้อนโต๊ะต่อน้ำ 5 ลิตร หรือ 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร
5. ใช้ฉีดพ่นทุก ๆ 7 วันในช่วงเวลาเย็น

สะเดา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Azadirachta indica Juss. Var. siamensis Valeton
ชื่อวงศ์ MELLACEAE
ชื่อท้องถิ่น
กะเดา (ภาคใต้) จะตัง (ส่วย) สะเดา (ภาคกลาง)
สะเลียม (ภาคเหนือ) สะเดาบ้าน (ทั่วไป)
ศัตรูเป้าหมาย
ด้วงหมัดผัก เพลี้ยอ่อน เพลี้ยอ่อนฝ้าย เพลี้ยจักจั่นสีเขียว ผีเสื้อมวนหวาน ตั๊กแตนหนอนกอสีครีม หนอนกอ หนอนเจาะบัว หนอนมวนใบข้าว หนอนชอนใบส้ม
หนอนใยผัก ไส้เดือนฝอย แมลงในโรงเก็บ ฯลฯ
การทำน้ำสะเดาสำหรับฉีดพ่นกำจัดศัตรูพืช
วิธีเตรียมและการใช้
1. ต้องใช้ใบสะเดาที่สด (ใบสดจะมีสีเขียวเข้ม) ไม่น้อยกว่า 2 กิโลกรัม
2. บดหรือโขลกใบสะเดาให้ละเอียดก่อนนำไปแช่น้ำ 20 ลิตร ทิ้งไว้นาน 24 ชั่วโมง
3. ก่อนนำไปใช้ให้ผสมสารจับใบ เช่น ซันไลด์ หรือแชมพู ในอัตราส่วน 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 20 ลิตร
4. ใช้ฉีดพ่นทุกๆ 6 – 10 วัน ในช่วงเวลาเย็น

สรุปได้ว่า สมุนไพรไทยมีประโยชน์มากมายทั้งด้านการป้องกันรักษาคน และการกำจัดศัตรูพืช เช่น สะเดา ตะไคร้หอม ดาวเรือง ใบสาบเสือ กระเทียม มะเขือเทศ พริกไทย พริก น้อยหน่า เป็นต้น การนำสมุนไพรมาใช้กำจัดศัตรูพืชสามารถทำได้โดยวิธีที่ง่าย ๆ ไม่สิ้นเปลืองเงินทอง ใช้ได้ผลดี และไม่มีสารพิษตกค้าง

ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้สารเคมี

สารเคมีที่ใช้และพบเห็นในชีวิตประจำวัน ได้แก่ สารเคมีทางการเกษตร สารเคมี ในเชื้อเพลิง ยาและเครื่องสำอาง สารเคมีในมลภาวะต่าง ๆ สารเคมีในอาหาร สารเคมีแต่ละชนิดมีประโยชน์หากนำมาใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม แต่ถ้านำมาใช้โดยไม่ระมัดระวัง หรือนำมาใช้โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยก็อาจเกิดอันตรายต่อร่างกายจนถึงแก่ชีวิตได้ นอกจากนี้ สารเคมีบางชนิดยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ ดังนี้
1. ผลกระทบต่อน้ำ
น้ำเสีย หมายถึง น้ำที่มีปริมาณแก๊สออกซิเจนอยู่น้อยกว่า 3 มิลลิกรัมต่อลิตร สาเหตุสำคัญที่ทำให้แก๊สออกซิเจนลดน้อยลง เนื่องจากการปล่อยน้ำที่ผ่านการใช้แล้วทิ้งลงแม่น้ำลำคลอง โดยน้ำเหล่านี้จะมีสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นอาหารของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในน้ำทำให้จุลินทรีย์เพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็ว จุลินทรีย์บางชนิดอาศัยแก๊สออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ
ในการดำรงชีวิต ปริมาณแก๊สออกซิเจนในน้ำจึงลดลงทำให้สิ่งมีชีวิตในน้ำขาดแก๊สออกซิเจนและอาจตายในที่สุด ส่วนจุลินทรีย์บางชนิดซึ่งไม่ใช้แก๊สออกซิเจน จะย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ ก่อให้เกิดสารมีกลิ่นขึ้น ซึ่งสาเหตุของน้ำเสียเกิดจาก
1) สิ่งปฏิกูลจากบ้านเรือน อาคารบ้านเรือน และแหล่งที่อยู่อาศัยต่าง ๆ จะปล่อยสิ่งปฏิกูลต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นสารอินทรีย์ที่อยู่ในสิ่งปฏิกูล เช่น ปล่อยกากอาหารที่เป็นสารอินทรีย์ และสารที่ใช้ซักฟอกทำความสะอาด น้ำทิ้งจากการทำความสะอาดชะล้างสิ่งสกปรกต่าง ๆ รวมทั้งสารจำพวกสารละลายผงซักฟอก ซึ่งมีฟอสเฟตเป็นสารประกอบและสารนี้จะช่วยในการเจริญเติบโตของพืช โดยเฉพาะพืชน้ำจะเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว จนปกคลุมผิวหน้าน้ำทำให้พืชน้ำไม่ได้รับแสงแดด แสงสว่างไม่สามารถส่องลงไปในน้ำได้ พืชที่ถูกบังแสงและอยู่ใต้น้ำจะสร้างอาหารไม่ได้ และตายในที่สุดขณะเดียวกัน แก๊สออกซิเจนก็ไม่สามารถหมุนเวียนในน้ำได้ สิ่งมีชีวิตในน้ำจะตายทำให้สารอินทรีย์ซึ่งเป็นอาหารของจุลินทรีย์เพิ่มมากขึ้น ส่วนจุลินทรีย์จะย่อยสลายสารอินทรีย์จากกากอาหารมีผลทำให้ปริมาณของออกซิเจนในน้ำลดลงและทำให้น้ำเน่าเสีย
2) สิ่งปฏิกูลจากการอุตสาหกรรม สิ่งปฏิกูลของโรงงานอุตสาหกรรมเกิดจากน้ำทิ้ง ซึ่งเป็นน้ำที่ใช้ล้างสิ่งสกปรกของเครื่องจักรและพื้นโรงงานซึ่งจะมีผงซักฟอก สารเคมี และผลิตภัณฑ์บางประเภทปนออกมาด้วย เช่น โรงานผลิตสารเคมี โรงงานน้ำตาล โรงงานแป้งมัน โรงงานทำกระดาษ โรงงานสุรา เป็นต้น ดังนั้น โรงงานอุตสาหกรรม จึงต้องดำเนินการกับน้ำทิ้ง เพื่อควบคุมคุณภาพของน้ำทิ้งก่อนปล่อยลงสู่แม่น้ำลำคลอง เพราะ การปล่อยน้ำทิ้งลงแม่น้ำลำคลองก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
(1) อุณหภูมิของน้ำในแม่น้ำลำคลองสูงขึ้น ทำให้แก๊สออกซิเจนละลายน้ำได้น้อยลง สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ก็อาศัยอยู่ไม่ได้
(2) มีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อคนและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ปนออกมาด้วย เช่น ตะกั่ว (Pb) แคดเมียม (Cd) และปรอท (Hg) เป็นต้น
โรงงานบางแห่งปล่อยสารเคมีอีกหลายชนิดออกมากับน้ำทิ้ง เช่น น้ำมัน แมงกานีส(Mn) อาร์ซีนิก (Ar) โครเมียม (Cr) ไซยาไนด์ และสังกะสี (Zn) เป็นต้น ซึ่งสารเหล่านี้วนแต่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตทั้งสิ้น โดยเฉพาะน้ำมันซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่ง ในการอุตสาหกรรม ถ้าใช้น้ำมันกันโดยปราศจาก ความระมัดระวัง นอกจากจะสิ้นเปลืองน้ำมันแล้วยังทำให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมด้วย เช่น การปล่อยให้น้ำมันรั่วไหล ขณะสูบถ่ายน้ำมันทั้งบนบกและในทะเล การเทมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วลงในน้ำ หรือการล้างทำความสะอาดโรงงานและเครื่องจักรกลแล้วปล่อยให้น้ำมันไหลลงสู่แม่น้ำลำคลองหรือทะเลซึ่งจะทำให้น้ำมันไปคลุมผิวหน้าน้ำทำให้ออกซิเจนในอากาศไม่สามารถละลายลงไปในน้ำได้ ทำให้แสงแดดส่องลงไปไม่ได้ พืชน้ำไม่สามารถสร้างอาหารและเจริญเติบโตได้ ซึ่งมีผลต่อเนื่องทำให้สัตว์น้ำที่อาศัยพืชเล็ก ๆ เหล่านี้เป็นอาหารตายไปด้วย
ตัวอย่างสารเคมีที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์

-ตะกั่ว (Pb) มาจาก โรงงานแบตเตอรี โรงงานทำสี เป็นพิษร้ายแรงต่อคนและสัตว์ ถ้ามีสารตะกั่ว ในกระแสเลือดเพียง 0.5 กรัมเท่านั้น จะทำให้ตายได้ ถ้ามีตะกั่วสะสมในร่างกาย จะทำให้เกิดโรคโลหิตจาง ไตเสื่อมคุณภาพ เป็นอันตรายต่อระบบประสาท มีอาการเซื่องซึมกระวนกระวาย หงุดหงิด ปวดศีรษะ ความจำเสื่อม อาจถึงเพ้อคลั่ง ชัก อัมพาต และเสียชีวิตได้
-แคดเมียม(Cd)มาจาก โรงงานถลุงโลหะ โรงงานทำปุ๋ย โรงงานชุบโลหะ เกิดโรคอิไต – อิไต ซึ่งมีอาการปวดอย่างรุนแรงทั่วร่างกาย และถ้าร่างกายสะสมแคดเมียมไว้ประมาณ 0.05 กรัมจะทำให้เสียชีวิตได้
-ปรอท (Hg)มาจากโรงงานผลิตยากำจัดศัตรูพืช โรงงานกระดาษ โรงงานปิโตรเคมีคอล เกิดโรคพิษปรอท(โรคมินามาตะ) เกิดขึ้นในระยะยาวมากกว่าที่จะแสดงอาการให้ปรากฏ โรคนี้เป็นอันตรายต่อระบบประสาท และระบบกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนเพลียหมดแรง และถ้าร่างกายสะสมไว้ประมาณ 0.05 กรัม จะทำให้เสียชีวิตได้
ที่มา : สุพจน์ แสงมณี และชานนท์ มูลวรรณ.ชุดปฎิรูปการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3(ม.1-3). 2545. หน้า 346
3) สิ่งปฏิกูลจากการเกษตร ยาปราบศัตรูพืช ปุ๋ยเคมี ยาปราบวัชพืชที่เกษตรกรใช้กันมากโดยทั่วไป ได้แก่ ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหนอน ยาฆ่าไรและแมงแปดขา สารปราบเชื้อรา สารกำจัดเพลี้ยและแมลงปากดูด สารปราบสัตว์แทะและหนู ยาฆ่าหอยในน้ำ ยาฆ่าเชื้อรา ยาฆ่าหญ้า ยาคุมหญ้า สารเหล่านี้จะตกค้างในต้นพืช และตามผิวดินจากการใช้ จะถูกชะไปกับน้ำฝนและไหลลงสู่แหล่งน้ำต่าง ๆ โดยเฉพาะยาปราบศั¬ตรูพืชที่สลายตัวช้าจะเกิดการสะสม ในแหล่งน้ำมากขึ้น ซึ่งจะถ่ายทอดไปตามห่วงโซ่อาหาร จนเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมได้
สิ่งที่สะสมตกค้างอยู่ในน้ำมีหลายประเภท คือ สารทางกายภาพ สารทางชีวภาพ
สารทางเคมี ทำเกิดผลเสียต่อการใช้สอยแหล่งน้ำและให้โทษต่อมนุษย์ สิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม จึงควรกำจัดสิ่งปฏิกูลเหล่านี้ออกจากน้ำ ก่อนปล่อยน้ำลงสู่แหล่งน้ำต่าง ๆ
ส่วนประกอบของสารที่อยู่ในน้ำ
ทางกายภาพ
- สารที่ลอยน้ำ เช่น เศษไม้ใบไม้
- สารที่แขวนลอยในน้ำ เช่น โคลนตม ดิน ชิ้นโลหะ เศษไม้ ยาง เยื่อกระดาษ
- ความร้อน เช่น น้ำร้อนจากหม้อต้มน้ำโรงงานอุตสาหกรรม
ทางชีวภาพ
- สิ่งที่ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ เช่น แบคทีเรีย โพรโทซัว ไวรัส พาราไซด์ เชื้อรา
- พืชพวกสาหร่าย เช่น สาหร่าย และพืชน้ำต่าง ๆ
ทางเคมี
- สารอินทรีย์ เช่น น้ำมัน สีทาบ้าน สีย้อมผ้า ผงซักฟอก แป้ง น้ำตาล
- สารอนินทรีย์ เช่น กรด เบส คลอรีน เกลือของโลหะ ไนเตรต ฟอสเฟต ซัลเฟต ไบคาร์บอเนต
ที่มา : สุพจน์ แสงมณี และชานนท์ มูลวรรณ. ชุดปฎิรูปการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-3). 2545. หน้า 347
2. ผลกระทบต่อดิน ส่วนใหญ่จะเกิดจากการกระทำของมนุษย์ โดยการนำสารเคมีมาช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เช่น ยาฆ่าแมลง ยาปราบวัชพืช และปุ๋ยเคมี สารเหล่านี้จะตกค้างอยู่ในผลผลิตต่าง ๆ หรือตกค้างในดินทำให้ดินเสื่อมคุณภาพไม่เหมาะต่อการเพาะปลูก เมื่อเราเก็บพืชมากินซึ่งสารบางชนิดที่ยังตกค้างในพืชอยู่ทำให้ได้รับอันตรายได้ น้ำจากแหล่งเพาะปลูกเหล่านั้นไหลซึมลงสู่แม่น้ำลำคลองที่ประชาชนใช้อุปโภคบริโภค ก็จะทำให้ได้รับสารพิษในทางอ้อมได้
3. ผลกระทบต่ออากาศ อากาศที่สะอาดและบริสุทธิ์ เป็นอากาศที่เหมาะสมต่อ การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด อากาศที่สะอาดทำให้เรามีสุขภาพที่ดี และไม่เป็นโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ ปริมาณของสารในอากาศที่มากที่สุด คือ ไนโตรเจน 78.09 % และรองลงมาคือ ออกซิเจน 20.94 % ซึ่งเป็นแก๊สที่เราใช้หายใจ ส่วนแก๊สที่เป็นพิษต่อร่างกาย และสิ่งแวดล้อมมีปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับแก๊สชนิดอื่น ๆ เช่น แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งเป็นแก๊สที่สามารถทำปฏิกิริยากับเมฆ (น้ำในอากาศ) จะทำให้เกิดฝนกรดตกลงมา ในอากาศ มีแก๊สชนิดนี้เพียง 0.00001 % จัดว่าเป็นปริมาณที่ปกติและปลอดภัยต่อการดำรงชีวิต แต่สภาพอากาศทุกวันนี้เปลี่ยนไป สังเกตได้จากเวลาฝนตกทำให้เกิดฝนกรด เพราะในปัจจุบันมีการปล่อยสารพิษออกมาสู่อากาศมากเกินไปเมื่อฝนตกลงมาสารเคมีที่ลอยอยู่ในอากาศจะทำปฏิกิริยากับน้ำทำให้สารที่เกิดขึ้นมีสภาพเป็นกรด สามารถกัดกร่อนโลหะได้ สารพิษดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่น จมูก ปาก ผิวหนัง เป็นต้น ซึ่งเมื่อร่างกายรับเข้าไปแล้วจะส่งผลกระทบต่อระบบหายใจ ระบบขับถ่าย และระบบทางเดินอาหาร ตลอดจนอาจจะแสดงอาการตอบสนองที่สังเกตได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เป็นแผลพุพอง เลือดออก เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นเพียงอาการเริ่มแรกเท่านั้น ถ้าร่างกายได้รับเข้าไปในปริมาณสูงมากก็จะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ฉะนั้นผู้ใช้จะต้องมีความรู้ความเข้าใจ และรู้วิธีป้องกันอันตรายจากสารพิษให้พ้นจากตัวเองและสิ่งแวดล้อม ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารดังกล่าว
ปริมาณของคาร์บอนมอนอกไซด์ที่มีผลต่อมนุษย์ ขึ้นกับเวลาที่ได้รับติดต่อกัน แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์จะเกิดอันตรายต่อชีวิตของเราถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากเรารับแก๊สชนิดนี้นานราว 4 ชั่วโมง ซึ่งทำให้ปริมาณของแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ละลายอยู่ในกระแสเลือดถึงร้อยละ 75 ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงและลดการเกิดแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ลงด้วยการเลือกใช้เครื่องยนต์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานได้สมบูรณ์ การเผาไหม้ที่สมบูรณ์จะเกิด แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กับน้ำเท่านั้น จะไม่เกิดแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ขึ้นมา
ส่วนประกอบของอากาศที่บริสุทธิ์ จะมีปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนไม่มาก ซึ่งพืชสามารถนำไปใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง แต่ปัจจุบันแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นในบรรยากาศตลอดเวลาจากกิจกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะ
การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และแก๊สธรรมชาติ นอกจากนี้การทำลายพื้นที่ป่าไม้ยังเป็นการเพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ เนื่องจากขาดต้นไม้ที่จะช่วยดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการเผาไหม้ทำให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เหลืออยู่มากในบรรยากาศ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก ซึ่งมีผลทำให้
1) ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น โดยเฉลี่ย 0.8 องศาเซลเซียสต่อระยะ 10 ปี ทำให้น้ำแข็งในขั้วโลกเหนือละลาย ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เกิดความแห้งแล้งในพื้นที่ต่าง ๆ มากขึ้น พื้นที่เพาะปลูกลดน้อยลง แต่ทะเลทรายเพิ่มขึ้น
2) ฤดูกาลและสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ในเขตเมืองหนาว ฤดูหนาวจะสั้นลง
ฝนตกมากขึ้น ฤดูร้อนจะยาวมากขึ้น อากาศจะร้อนและแห้งแล้ง ส่วนเขตร้อนและเขตกึ่งร้อน บริเวณที่แห้งแล้งจะแห้งแล้งมากขึ้น ดินเสื่อมคุณภาพมากขึ้น บริเวณที่ชุ่มชื้นจะมีฝนมากขึ้น พายุรุนแรงและเกิดอุทกภัยบ่อยขึ้น
3) ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเนื่องจากอุณหภูมิของน้ำเพิ่มขึ้น ปริมาณของน้ำทะเล ประกอบกับน้ำจากขั้วโลกมีปริมาณเพิ่มขึ้น ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เป็นสาเหตุของการพังทลายบริเวณชายฝั่ง ระบบชลประทาน และการระบายน้ำได้รับความเสียหาย เกิดการรุกล้ำของน้ำเค็มในผิวดิน แม่น้ำ พื้นที่ไร่นา ก่อให้เกิดความเสียหายทางด้านการเพาะปลูก และอุตสาหกรรมชายทะเล นอกจากนี้ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นอาจทำให้บริเวณหาดทรายหรือเกาะต่าง ๆ จมหายไปใต้น้ำ เกิดภาวะน้ำท่วม ปัญหามลพิษทางน้ำ
4) ผลผลิตทางการเกษตรลดลงหรือต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เพราะสภาพดินฟ้า อากาศ และพื้นที่ไม่เอื้ออำนวย ความเหมาะสมลดลง มีการระบาดของแมลงศัตรูพืชมากขึ้น เกิดความเสียหายทางการเกษตร อาหารจะขาดแคลน ทำให้มีการเคลื่อนย้ายพื้นที่เพาะปลูกไปยังพื้นที่ที่เหมาะสม
5) สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ถูกทำลายไปจากโลก เป็นผลจากอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้น จะเกิดความแห้งแล้ง ดินเค็ม น้ำท่วม ทำให้แหล่งกำเนิดและถิ่นที่อยู่อาศัยของพืช สัตว์ แมลง และ
จุลินทรีย์ถูกทำลายลงทุกที และบางชนิดกำลังจะสูญพันธุ์ไปจากโลก
6) เนื่องจากความร้อนที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ โดยจะทำให้เป็นมะเร็งที่ผิวหนังมากขึ้น
จากตารางจะเห็นว่าส่วนประกอบของอากาศที่บริสุทธิ์ จะมีปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนไม่มาก ซึ่งพืชสามารถนำไปใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง แต่ปัจจุบันแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นในบรรยากาศตลอดเวลาจากกิจกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะ
การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และแก๊สธรรมชาติ นอกจากนี้การทำลายพื้นที่ป่าไม้ยังเป็นการเพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ เนื่องจากขาดต้นไม้ที่จะช่วยดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการเผาไหม้ทำให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เหลืออยู่มากในบรรยากาศ

ดังนั้นเราจึงควรลดการปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ โดยการปลูกต้นไม้ ลดการเผาขยะมูลฝอย และลดการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่าง ๆ เพื่อลดอุณหภูมิของโลก สรุปได้ว่า สารเคมีที่ใช้ในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นสารเคมีทางการเกษตร สารเคมี
ในเชื้อเพลิง ยา สารทำความสะอาด เครื่องสำอาง เป็นต้น ทำให้เกิดสิ่งปฏิกูลจากบ้านเรือน จากการอุตสาหกรรม จากการเกษตรกรรม สารเหล่านี้ถ้าสะสมในปริมาณมากจะทำให้เกิดน้ำเสีย ดินเสื่อมสภาพไม่เหมาะต่อการเพาะปลูก อากาศมีสารพิษ ทำให้มนุษย์และสัตว์เกิดโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อย จนทำให้อุณหภูมิของโลกร้อนมากขึ้น จนมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของพืช สัตว์ และมนุษย์ ฉะนั้นเราควรลดการใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย หันมาใช้สมุนไพรกำจัดศัตรูพืช ปุ๋ยอินทรีย์ ปลูกผักปลอดสารพิษปลูกต้นไม้ ลดการใช้พลาสติก ลดการเผาขยะและเชื้อเพลิง เพื่อสิ่งแวดล้อมและการดำรงชีวิตที่ดี

ศึกษาบทความ 2 เรื่อง

เรื่องที่ 1 เก็บดาวในสวนดอกไม้
เก็บดาวที่ว่านี้หมายถึงดอกดาวเรือง ที่เรามักพบเห็นในพวงมาลัยสำหรับไหว้พระ หรือพวงมาลัยคล้องคอบรรดานักการเมืองในช่วงเทศกาลหาเสียง ช่วงต้นฤดูหนาวฉันมีโอกาสไปเที่ยวเล่นบริเวณชายแดนไทย-พม่าแถบอำเภอพบพระ จังหวัดตาก ขณะที่อยู่บนรถเพื่อนคนหนึ่งชี้ชวนให้ดูภาพคนกว่าสิบคนอยู่ในแปลงอกไม้สีเหลืองอร่ามสองข้างถนนพร้อมบอกว่า
“เขากำลังเก็บดาวกัน”
ในใจฉันนึกอยากมีโอกาสลงไปสัมผัสสวนดอกดาวเรืองอย่างใกล้ชิดบ้าง และแล้ว
ความปรารถนานั้นก็สมหวัง เมื่อได้มีโอกาสเข้าไปในสวนเกษตรแห่งหนึ่งซึ่งถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของอำเภอพบพระ สวนเกษตรแห่งนี้มีชื่อเสียงในเรื่องการปลูกทับทิม น้อยหน่าและผลไม้อีกหลายชนิด เนื่องจากพื้นที่ของสวนแห่งนี้มีนับพันไร่ เจ้าของสวนจึงไม่ได้ปลูกเฉพาะไม้ผลเท่านั้น แต่ยังมีแปลงกุหลาบและดอกดาวเรืองปะปนไปด้วย
ช่วงสายของวันนั้น แม้จะอยู่ท่ามกลางแสงแดดจ้าแต่ลมเย็นที่พัดโชยอยู่ตลอดเวลา ประกอบกับฉากเบื้องหน้าที่เหลืองอร่ามสวยงามโดยมีฉากหลังเป็นทิวเขาเรียงราย ทำให้บรรยากาศยามนั้นอาจนับว่าแช่งชื่นได้ไม่น้อย ฉันเดินเข้าไปในแปลงดอกดาวเรืองพบหญิงชายหลายหลายวัยกว่า 20 คนแต่งกายในชุดทะมัดทะแมง สวมเสื้อแขนยาวกางเกงขายาว
รองเท้าบูท สวมถุงมือและใสหมวกปีกกว้าง อุปกรณ์ในการทำงานได้แก่ กรรไกรอันเล็กพร้อมตะกร้าสะพายไว้ข้างตัว พวกเขากำลังตัดดอกดาวเรืองที่ปลูกเรียงเป็นทิวแถว
เสียงพูดคุยค่อย ๆ เงียบลงเมื่อมีคนแปลกหน้าบุกรุกเข้าไปในแปลงดอกไม้ ยกเว้นเสียงร้องเพลงอย่างเบิกบานของหญิงคนหนึ่งที่หันหลังให้ เธอยังร้องเพลงต่อไปอย่างไม่รู้ตัว แรงงานหญิงชายทั้งหมดนี้พูดภาษาไทยได้ไม่ดีนัก ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เดินทางมาจากประเทศพม่า
เมื่อฉันแนะนำชื่อตัวเองกับหญิงสาวที่กำลังเก็บดาวและถามชื่อเธอบ้าง ได้ความว่า
เธอชื่อ “มิหม่น” อายุ 15 ปี เธอทำงานที่สวนเกษตรแห่งนี้ราว 5 เดือน มิหม่นจับคู่เก็บดาวกับเพื่อนอีกคนหนึ่งชื่อ “มิอู” มิอูแก่กว่ามิหม่นสองปี มิอูมาทำงานที่สวนแห่งนี้จาก
การชักชวนของพี่สาว ฉันเดาว่ามิหม่นน่าจะรู้สึกอบอุ่นมากกว่าแม้จะอยู่ต่างบ้านต่างเมืองเพราะทั้งพ่อและแม่ของเธอทำงานในสวนเกษตรแห่งนี้ ในวันนั้นพ่อของมิหม่นกำลังไปรดน้ำต้นทับทิม ส่วนเธอและแม่มาช่วยกันเก็บดอกดาวเรือง เราสื่อสารกันด้วยคำพูดได้ไม่มากนักต่างฝ่ายต่างพูดภาษาของกันและกันไม่ได้ แต่ก็ส่งยิ้มและใช้วิธีสื่อสารอื่น ๆ แทน ทำให้ฉันเดินเล่นในแปลงดอกดาวเรืองได้นานนับชั่วโมงจนกระทั่งใกล้เที่ยงของวัน แต่ละคนนำดอกดาวเรืองในตะกร้าสะพายมาเทลงตะกร้าใบใหญ่และบรรทุกใส่รถมายังสำนักงานของสวนเกษตร ดอกดาวเรืองนับพัน ๆ ดอกถูกนำมาเทในพื้นที่ที่จัดเตรียมไว้ในที่ร่ม เพิ่งจะตอนนี้เองที่คนจำพวกความรู้สึกข้ออย่างฉันออกอาการคล้ายจะเป็นลม กลิ่นสารเคมีตลบอบอวลไปทั่วทั้งบริเวณ อันที่จริงเพื่อนร่วมทางของฉันทำท่าไม่อยากหายใจตั้งแต่อยู่กลางสวนดอกไม้ ระหว่างนั้นบรรดาแรงงานหญิงชายแยกย้ายกันกลับไปที่พักซึ่งอยู่ไม่ห่างไกลจากสำนักงาน
ฉันชวนเจ้าของสวนเกษตรพูดคุยถึงการปลูกดอกดาวเรืองได้ความว่า การปลูกดอกดาวเรืองต้องใช้ระยะเวลานาน 90 วันจึงตัดดอกไปขายได้ และในรอบการผลิตหนึ่ง ๆ ต้องฉีดพ่นสารเคมีประมาณ 7 ครั้ง ดอกดาวเรืองจะมีการคัดแยกขนาดแบ่งเป็นเกรดและบรรจุใส่ถุงส่งขายไปยังปากคลองตลาด เช่นเดียวกับดอกกุหลาบซึ่งเป็นไม้ดอกส่งออกที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของอำเภอพบพระ ด้วยความที่ตกอกตกใจกับกลิ่นสารเคมี จึงอดถามเจ้าของสวนเกษตรซึ่งเป็นหญิงที่กำลังตั้งครรภ์เธอบอกว่า คงจะชินกับกลิ่นของสารเคมีเหล่านี้ เธอและครอบครัวตั้งบ้านเรือนเป็น
การถาวรอยู่ในสวนเกษตรแห่งนี้มานานนับสิบปีก็ไม่เกิดปัญหาต่อสุขภาพแต่อย่างใด เธอยังให้ความรู้เพิ่มเติมอีกว่า การทำสวนดอกไม้อย่างแปลงกุหลาบต้องใช้สารเคมีไม่แตกต่างกันฉันได้สืบค้นตัวเลขพื้นที่ถือครองการเกษตรในเขตอำเภอพบพระ ดูแล้วน่าตกใจเอาการทีเดียว ปัจจุบันอำเภอพบพระมีพื้นที่ปลูกดอกไม้จำนวนถึง 8,255 ไร่ ซึ่งไม้ดอกในที่นี้ได้แก่ กุหลาบ และดอกดาวเรืองเป็นส่วนใหญ่ หลังจากทำท่าเป็นนางเอกเก็บดาวในสวนดอกไม้แห่งนี้แล้ว ทำให้นึกถึงดอกอื่น ๆ อีกสารพัดดอกที่วางขายในตลาดดอกไม้ ชาวม้งที่มีประสบการณ์ในการปลูกดอกเบญจมาศบนดอยอินทนนท์เคยให้ความเห็นว่า
“เรื่องของการใช้สารเคมีอาจคล้ายกับโรคเอดส์คือไม่ได้ตายทันที ไม่เห็นใครใช้แล้วตายคาที่สักคน” ชาวม้งผู้นี้ยังบอกว่าปัจจุบันสมาชิกในชุมชนของเขามีโรคมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่รู้มาจากไหน แต่หลายคนเชื่อว่ามาจากสารเคมีที่ใช้กันอยู่
พิษภัยจากสารเคมีไม่เพียงไม่แสดงผลในทันทีทันใดเท่านั้น เพื่อนคนหนึ่งยังเพิ่มเติมด้วยว่า การนำเสนอภาพลักษณ์ของสารเคมีจากบริษัทผู้ผลิต บ่อยครั้งสารเคมียังถูกทำให้กลายเป็นมิตรในชีวิตประจำวันไปโดยปริยาย ภายใต้สภาพการณ์เช่นนี้เราจะทำอะไรได้บ้าง ? นอกจากถอนหายใจ ???
ที่มา : จิรดา กุลประเสริฐ. (2549,ปีที่ 14 ฉบับที่ 6 มกราคม- กุมภาพันธ์).มานุษยนิเวศ. นิตยสารโลกสีเขียว, หน้า 33 - 34

เรื่องที่ 2 มาควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยจุลินทรีย์กันดีกว่า
เป็นที่ทราบกันดีว่าการเพาะปลูกพืชต่าง ๆ เพื่อการค้าในปัจจุบันนี้นั้น มีการใช้สารเคมีเพื่อการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชกันอย่างมากมาย และนับวันจะยิ่งมากขึ้นเรื่อย ๆ อันเนื่องมาจากการที่แมลงหลายชนิดมีการสร้างภูมิต้านทาน (ดื้อยา) ทำให้เพิ่มอัตราการใช้หรือผสมสารเคมีหลายตัวขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมา เช่น ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรเพิ่มขึ้น การระบาดของแมลงศัตรูพืชบางชนิดมากขึ้น (เนื่องจากแมลงที่มีประโยชน์ถูกทำลายไปด้วย) มีพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อมและผลผลิต
การมีสารพิษตกค้างอยู่ในผลผลิตไม่ว่าจะเป็นพืชผัก ผลไม้ เมื่อเราบริโภคพืชผัก ผลไม้เหล่านั้น ก็จะรับเอาสารพิษเหล่านั้นเข้าไปสะสมไว้ในร่างกายจนเกิดอันตรายต่อสุขภาพ
ในที่สุด ในปัจจุบันมีการตื่นตัวกันในเรื่องสารพิษตกค้างในอาหารกันมากขึ้น มีการรณรงค์กันไปหลาย ๆ รูปแบบ เช่น การแนะนำให้ปลุกหรือบริโภคผักปลอดสารพิษ ในส่วนราชการเองก็จะได้มีการประกาศห้ามใช้ห้ามซื้อขายสารเคมีหลาย ๆ ตัว เช่น เมวินฟอส โมโนโครโตฟอส ในอนาคตอันใกล้นี้
เชื้อจุลินทรีย์ Bacillus thuringensis (Bt) เป็นจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูง ใช้กำจัดแมลงศัตรูพืชได้หลายชนิด เช่น หนอนใยผัก หนอนกระทู้หอม หนอนเจาะสมอฝ้ายหรือแมลงในอันดับ Lepidoptera, Coleoptera และ Diptera สามารถพ่นบนต้นพืชได้จนถึงวันเก็บเกี่ยวโดยไม่มีพิษตกค้างที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม
เชื้อแบคทีเรียจะสร้างสารพิษที่เรียกว่า เดลต้าแอนโดท็อกซิน (Delta - endotoxin )
เมื่อหนอนกินเชื้อแบคทีเรียเข้าไป สารพิษนี้จะทำลายระบบย่อยอาหาร หนอนจะหยุดกินอาหารและเคลื่อนไหวช้าลงในที่สุดจะตายภายใน 1 – 2 วัน
วิธีใช้ การกำจัดแมลงจะได้ผลดี ต้องเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน การใช้น้ำเล็กน้อย (ประมาณ 1 ลิตร) ผสมแบคทีเรียให้เข้ากัน ก่อนที่จะนำไปผสมน้ำ
ทำการฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืชทั้งด้านบนใบและใต้ใบ ควรเลือกฉีดพ่นในเวลาเย็นเพื่อหลีกเลี่ยง
ความร้อนจากแสงแดด ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพของแบคทีเรียลดลง

แสดงข้อแตกต่างระหว่าง Bt และสารเคมี

สารเคมี
1. ออกฤทธิ์เมื่อถูกตัว และกินตาย
2. ทำลายแมลงกว้างขวาง รวมทั้งแมลงที่มี ประโยชน์ เช่น ผึ้ง แมลงห้ำ แมลงเบียน
3. เป็นอันตรายต่อคน สัตว์เลือดอุ่น ปลา
4. มีพิษตกค้างในสภาพแวดล้อม
5. แมลงสร้างภูมิต้านทานได้เร็ว
Bt
1. กินตาย
2. มีความเฉพาะเจาะจงในการทำลายแมลง ไม่ทำลายแมลงมีประโยชน์
3. ไม่อันตรายต่อคน สัตว์เลือดอุ่น ปลา
4. ไม่มีพิษตกค้างในสภาพแวดล้อม
5. แมลงสร้างภูมิต้านทานได้ช้า

เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นว่า Bt มีข้อดีกว่าสารเคมีทั่วไปหลายประการ แต่อย่างไรก็ตามในแง่การนำไปใช้ยังมีจำนวนเพียง 2.5 % ของมูลค่าการนำเข้าสารกำจัดแมลงทั้งปีทั้ง ๆ ที่ Bt มีการนำเข้ามาใช้ในตลาดสารกำจัดแมลงทางเกษตรมากกว่า 30 ปีแล้วก็ตาม ทั้งนี้เพราะพฤติกรรมการใช้สารเคมีของเกษตรกรบ้านเรา ยังติดกับสารเคมีชนิดที่ฉีดพ่นแล้วตายทันใจอยู่มาก แต่หากเราพิจารณาในแง่ความปลอดภัย ทั้งในขณะใช้โดยตรง และพิษตกค้าง ในพืชและสิ่งแวดล้อมแล้ว ก็น่าจะหันมาส่งเสริมการใช้ Bt ในการกำจัดแมลงศัตรูพืชจะดีกว่า
ที่มา : (2542, วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม).มาควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยจุลินทรีย์กันดีกว่า. เดลินิวส์, หน้า 10
จากการศึกษาเรื่อง เก็บดาวในสวนดอกไม้ และ มาควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยจุลินทรีย์กันดีกว่า จงวิเคราะห์ปัญหาต่อไปนี้
1. สารเคมีมีผลต่อสุขภาพหญิงที่กำลังตั้งครรภ์หรือไม่ อย่างไร
2. คำกล่าวที่ว่า “เรื่องของการใช้สารเคมีอาจจะคล้ายกับโรคเอดส์คือไม่ได้ตายทันที ไม่เห็นใครใช้แล้วตายคาที่สักคน” นักเรียนมีความเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
3. จุลินทรีย์ Bt สามารถกำจัดแมลงศัตรูพืชได้อย่างไร
4. นักเรียนเห็นด้วยหรือไม่ที่เกษตรกรจะนำจุลินทรีย์ Bt มาใช้กำจัดแมลงศัตรูพืช เพราะเหตุใด

ตอนที่ 3.5 การใช้ฮอร์โมนกำจัดแมลงศัตรูพืช

การใช้ฮอร์โมนกำจัดแมลงศัตรูพืช ฮอร์โมนของแมลงบางชนิดทำให้แมลงศัตรูพืช
ไม่สามารถเจริญเติบโตจากตัวอ่อนไปเป็นตัวเต็มวัยได้
การใช้ฮอร์โมนกำจัดแมลงศัตรูพืชยังไม่มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลาย แต่มีวิธีการกำจัดศัตรูพืชอีกวิธีหนึ่งที่มีการศึกษาค้นคว้า นั่นคือ การนำเซลล์ของแมลงมาช่วยกำจัดศัตรูพืช เซลล์ของแมลงมีส่วนช่วยกำจัดศัตรูพืช โดยการเพาะเลี้ยงเซลล์แมลงในอันดับ Lepidoptera เพื่อประโยชน์ในการผลิตเชื้อไวรัส NPV (Nuclear Polyhedrosis Virus) ควบคุมแมลงศัตรูพืช เนื่องจากไวรัสเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีอนุภาคขนาดเล็กและแตกต่างจากเซลล์สิ่งมีชีวิตอื่น คือไม่มีส่วนประกอบไมโตคอนเดรีย นิวเคลียส และส่วนประกอบอื่น ๆ ทั่วไปที่ควรจะมีของเซลล์สิ่งมีชีวิต ดังนั้นไวรัสจึงไม่สามารถขยายตัวหรือเพิ่มปริมาณออกไปเหมือนกับเซลล์ของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ จึงทำให้ไม่สามารถผลิตขยายปริมาณไวรัสบนอาหารได้เหมือนเชื้อรา แบคทีเรีย หรือไส้เดือนฝอย โดยการเลี้ยงไวรัสทำได้ 2 วิธีการ คือ
1. การใช้แมลงอาศัยเพาะเลี้ยงโดยตรง
2. การนำเอาเซลล์เนื้อเยื่อของแมลงมาเพิ่มจำนวนในอาหารเลี้ยงเซลล์จนได้เซลล์ปริมาณมากแล้ว จึงทำการเพาะไวรัสลงในเซลล์หรือเนื้อเยื่อนั้น
การเพาะเลี้ยงเซลล์แมลงเพื่อผลิตไวรัส NPV จะสามารถลดต้นทุนและขั้นตอนการผลิตลงได้ สามารถควบคุมอัตราการผลิตได้ง่ายและคงที่ รวมทั้งไม่มีการปนเปื้อนของเชื้อโรคอื่น ๆ ทำให้ประสิทธิภาพเชื้อแน่นอน
การเพาะเลี้ยงเซลล์แมลง ถ้าตั้งต้นจากระยะไข่ หรือหนอนวัย 1 จะทำให้ได้เซลล์หลายชนิดปนกัน เพราะเป็นการตั้งต้นเพาะเลี้ยงจากหลายอวัยวะรวมกัน แต่ถ้าตั้งต้นจากหนอนวัย 4 ดักแด้หรือผีเสื้อ จะสามารถแยกเอาเฉพาะส่วยของอวัยวะต่าง ๆ เช่น เซลล์ไขมัน ฐานปีกท่อหายใจ ลำไส้ ส่วนกลาง รังไข่ และอัณฐะ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ได้เซลล์ประเภทเดียวกัน
โดยทั่วไปเซลล์เพาะเลี้ยงของแมลงเป็นเซลล์ที่ได้จากเนื้อเยื่อ ซึ่งมีเซลล์หลายชนิดปนกันอยู่หลังจากเซลล์เริ่มแรก เจริญเป็นเซลล์ชั้นเดียว มีการย้ายเซลล์ไปยังอาหารใหม่จนเซลล์เจริญในอาหารเลี้ยงเซลล์ได้อย่างต่อเนื่อง การผลิตไวรัสด้วยเซลล์เพาะเลี้ยงต้องเลือกเซลล์ที่อ่อนแอต่อการทำลายของไวรัสเพื่อเพิ่มปริมาณของไวรัสได้มาก
ดังนั้น การใช้ศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูพืช ได้แก่ แมลงห้ำ แมลงเบียน รวมทั้งพวกจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และไส้เดือนฝอย จึงเป็นแนวทางในการลดปริมาณการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชคือ การกำจัดศัตรูพืชในลักษณะผสมผสาน(Integrated Pest management, IPM) โดยการรวมเอาวิธีการควบคุมโดยชีววิธีและวิธีอื่น ๆ ที่เหมาะสม เข้าไว้ด้วยกันนี้เป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิตรวมทั้งลดอันตรายที่เกิดขึ้นต่อมนุษย์ สิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม

ตอนที่ 3.4 การใช้สัตว์กินศัตรูพืชหรือแมลงศัตรูพืช

การใช้สัตว์กินศัตรูพืชหรือแมลงศัตรูพืช เช่น ใช้เป็ดกินหอยทาก ใช้นกกินหนอน
ใช้กบกินแมลง นกกระยางกินปูนา เป็นต้น
สัตว์ศัตรูพืช หมายถึง สัตว์อื่นที่นอกเหนือจากแมลงซึ่งทำอันตรายหรือทำความเสียหายให้แก่พืชที่ปลูก ได้แก่ หนู ปูนา หอยทากยักษ์ นก ค้างคาว เป็นต้น
แมลงศัตรูพืช อาจมีอยู่แล้วในประเทศ และอาจมาจากต่างประเทศ โดยมาเองหรือมนุษย์เป็นผู้นำเข้ามา แมลงศัตรูพืชจะทำลายพืชได้หลายแบบ เช่น ใช้ปากกัดกิน ใช้ปากดูด ใช้ปากเขี่ยดูด เช่น ตั๊กแตนปาทังกา เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง ด้วงแรด เป็นต้น
การใช้สัตว์กินศัตรูพืชหรือแมลงศัตรูพืช เป็นการกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิธีที่นำสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์ตามธรรมชาติมาใช้กำจัดศัตรูพืชหรือแมลงศัตรูพืชให้ลดลง เช่น ใช้เป็ดกินหอยทาก ใช้นกกินหนอน ใช้กบกินแมลง งูกินหนู นกกระยางกินปูนา เป็นต้น

ตอนที่ 3.3 การใช้แมลงกำจัดวัชพืช

วัชพืช คือ พืชที่เป็นโทษแก่พืชที่เราปลูกไว้ เช่น สาหร่ายไฟ หญ้าข้าวป่า หญ้าแห้วหมู หญ้าขจรจบ เป็นต้น
การใช้แมลงกำจัดวัชพืช เช่น ในประเทศออสเตรเลียใช้แมลงชื่อ moth borer เข้ากัดกินใบ ลำต้นของกระบองเพชร ซึ่งปลูกเป็นไม้ประดับแต่ขยายพันธุ์รวดเร็วกลายเป็นวัชพืช การใช้หนอนผีเสื้อกลางคืนทำลายหัวแห้วหมู ใช้หนอนจอกกำจัดจอก ด้วงงวงกำจัดผักตบชวา หนอนผีเสื้อกำจัดจอก หนอนแมลงกำจัดผกากรอง เป็นต้น
การกำจัดวัชพืชควรตระหนักว่าโรคหรือแมลงที่จะนำมาทำลายวัชพืช จะต้องไม่ทำลายพืชที่เราปลูกไว้ด้วย
การใช้แมลงกำจัดวัชพืชเป็นการควบคุมเพื่อลดจำนวนวัชพืชลงจนถึงระดับที่ไม่ทำอันตรายต่อพืชปลูก โดยการนำแมลงที่ชอบกินวัชพืชเป็นอาหารมาทำลายวัชพืช

ตอนที่ 3.2 การใช้เชื้อโรคแมลงกำจัดแมลงศัตรูพืช

การใช้เชื้อโรคแมลงกำจัดแมลงศัตรูพืช ทำได้โดยการนำเชื้อโรคบางชนิดที่ก่อให้เกิดโรคกับแมลงฉีดพ่นลงไปบนตัวแมลง จะทำให้แมลงเป็นโรคและตายในที่สุด เช่น การใช้ไวรัสฉีดพ่นบนตัวหนอนกระทู้หอม การใช้แบคทีเรียบางชนิดทำลายหนอนผีเสื้อกินใบส้ม ซึ่งจะทำให้ขากรรไกรของแมลงศัตรูพืชเป็นอัมพาตกินพืชไม่ได้และตายในที่สุด
เชื้อโรคแมลง เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา หรือไวรัส ดังตัวอย่างต่อไปนี้
Bt (Bacillus thuringilensis) เป็นแบคทีเรียที่นำมาใช้ใน การควบคุมแมลงศัตรูพืช
ที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน Bt พบทั่ว ๆ ไปในสภาพธรรมชาติ เช่น ในดิน พืช และแมลง เป็นต้น
ไวรัสชนิดนิวเคลียร์พอลิฮีโดรซีส (Nuclear Polyhedrosis Virus, NPV) จัดอยู่
ในสกุล Baculovirus มีความเฉพาะเจาะจงสูงมากต่อแมลงเป้าหมายคือจะเกิดเฉพาะแมลงสกุลใดสกุลหนึ่งเท่านั้น จึงช่วยอนุรักษ์แมลงศัตรูธรรมชาติ และแมลงที่มีประโยชน์ด้วย ไวรัส NPV จะทำลายในระยะตัวอ่อน และจะทำให้เกิดโรคได้ต่อเมื่อตัวอ่อนของแมลงกินอาหาร ที่มีไวรัสปะปนเข้าไป เป็นต้น
การใช้เชื้อโรคแมลงกำจัดแมลงศัตรูพืชเป็นการกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิธีวิธีหนึ่งที่ใช้แบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัสที่เป็นเชื้อโรคของแมลงทำลายแมลงศัตรูพืช เช่น Bt (Bacillus thuringilensis) ไวรัสชนิดนิวเคลียร์พอลิฮีโดรซีส (Nuclear Polyhedrosis Virus, NPV) เชื้อราไตรโคเดอร์มา เชื้อราเมตตาไรเซี่ยม เป็นต้น

ตอนที่ 3.1 การใช้แมลงกำจัดแมลงศัตรูพืช

การใช้แมลงกำจัดแมลงศัตรูพืช มี 2 ประเภท คือ
1. แมลงห้ำ (Predator)
2. แมลงเบียน (Parasite)
1) แมลงห้ำ (Predator) หมายถึง แมลงที่กินแมลงอื่นเป็นอาหาร โดยมีแมลงที่กินแมลงอื่นเป็นผู้ล่าและแมลงที่เป็นอาหารเป็นเหยื่อ แมลงในกลุ่มนี้ เช่น แมลงปอ แมลงปอเข็ม ตั๊กแตนตำข้าว เต่าลาย เต่าทอง เป็นต้น แมลงห้ำจะฆ่าเหยื่อโดยใช้วิธีจับกินหรือดูดน้ำเลียงในตัวเหยื่อจนเหยื่อแห้งตาย เช่น ด้วงเต่าดูดน้ำเลี้ยงในตัวของเพลี้ยอ่อน ตั๊กแตนตำข้าวใช้ขาหน้าจับเหยื่อกินเป็นอาหาร แมลงวันหัวบุบจับตั๊กแตนกินเป็นอาหาร
2) แมลงเบียน (Parasite) หมายถึง แมลงที่คอยเบียดเบียนอาหารจากสิ่งมีชีวิตอื่น
มีผลให้สิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ตาย ได้ และแมลงที่อาศัยเกาะกินอยู่ภายในตัวแมลงที่อาศัยเกาะกิน อยู่ภายนอกหรือภายในตัวแมลงที่เป็นเหยื่อตลอดวงจรชีวิตหรืออย่างน้อยก็ชั่วระยะหนึ่งของวงจรชีวิตของมันจนทำให้แมลงที่เป็นเหยื่อตายในที่สุด เช่น แตนเบียนจะวางไข่บนตัวหนอนที่เป็นศัตรูพืช เมื่อไข่ฟักออกเป็นตัวก็จะเข้าทำลายตัวหนอนให้ตายไปในที่สุด แมลงเบียนหรือ ตัวเบียนที่สำคัญ ได้แก่ แมลงวันทองหลังลาย แมลงวันก้นขน ต่อ และแตนเบียน เป็นต้น ต่อเบียนจะวางไข่บนหนอนผีเสื้อ เมื่อตัวอ่อนฟักออกมาก็จะกินหนอนผีเสื้อเป็นอาหาร

ตอนที่ 2.4 การปฐมพยาบาลขั้นต้นสำหรับผู้ได้รับพิษจากสารเคมีกำจัดแมลง

เมื่อได้รับพิษจากสารเคมีกำจัดแมลงควรปฐมพยาบาลขั้นต้น ดังนี้
1. เมื่อได้รับพิษทางปาก ควรทำให้อาเจียน โดยดื่มน้ำสะอาดแล้วล้วงคอ ห้ามทำให้อาเจียนในกรณีที่ผู้ป่วยหมดสติและไม่รู้สึกตัว หรือสงสัยว่าได้รับสารพิษที่เป็นกรดหรือเบสเข้มข้น (สังเกตจากปากและลำคอว่ามีรอยไหม้) จากนั้นต้องลดการดูดซึมของสารพิษในทางเดิน อาหาร โดยรับประทานไข่ขาวดิบ รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที เพื่อให้แพทย์ล้างท้อง
2. เมื่อได้รับสารพิษจากการสูดดม ให้นำผู้ป่วยไปยังบริเวณที่อากาศถ่ายเท คลายเสื้อผ้าให้หลวม พยายามควบคุมอุณหภูมิของร่างกายผู้ป่วย เช่น ถ้าผู้ป่วยรู้สึกร้อนให้เช็ดตัวด้วยน้ำเย็น ถ้าผู้ป่วยรู้สึกหนาวให้ห่มผ้า
3. เมื่อได้รับสารพิษทางผิวหนัง ให้ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณนั้นด้วยน้ำสบู่ จนอาการระคายเคืองทุเลา หากไม่ทุเลาให้รีบไปพบแพทย์
4. เมื่อได้รับสารพิษทางตา ให้ทำการล้างด้วยน้ำสะอาดเท่านั้น (ห้ามใช้น้ำยาล้างตา) แล้วรีบไปพบแพทย์
การปฐมพยาบาลขั้นต้นสำหรับผู้ได้รับพิษจากสารเคมีกำจัดแมลง ต้องพิจารณาว่าสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด ปาก จมูก ผิวหนัง หรือทางตา แล้วปฐมพยาบาลเพื่อลดอันตรายที่จะเกิดจากสารเคมี แล้วนำส่งแพทย์ทันที

การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยขาดความรู้หรือปราศจากการควบคุมในวิธีการใช้ที่ถูกต้อง จะก่อให้เกิดอันตรายอย่างยิ่ง เพราะสารมีพิษเหล่านี้จะตกค้างสะสมอยู่ในผลผลิตทางการเกษตร ในดิน น้ำ และอากาศ แล้วแพร่เข้าสู่สิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
การใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชมีหลายชนิด เช่น สารฆ่าแมลง สารปราบวัชพืช สารกำจัดเชื้อรา สารกำจัดสาหร่าย ซึ่งแต่ละชนิดแตกต่างกันในด้านการกำจัดศัตรูพืช การออกฤทธิ์ ระยะเวลาในการสลายตัว ถ้าใช้สารเคมีในปริมาณมากและใช้อย่างต่อเนื่อง จะมีผลให้สะสมในพืช ศัตรูพืช และสิ่งแวดล้อม สารเคมีเหล่านี้สามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์และสัตว์ได้ทางการหายใจ ทางผิวหนัง และทางการรับประทาน ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่ง ดังนั้นผู้ใช้สารเคมีเหล่านี้ จะต้องใช้อย่างถูกวิธีและถูกต้องเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อตนเอง ผู้อื่น สิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม

ตอนที่ 2.3 ฉลากแสดงรายละเอียดของผลิตภัณฑ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ในการเลือกใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช จะต้องเลือกผลิตภัณฑ์ ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ และใช้เกณฑ์ความต้องการที่จะใช้งานเป็นหลัก ดังนั้นผลิตภัณฑ์ที่ใช้จะต้องมีฉลาก และ ข้อความแสดงรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ โดยฉลากจะต้องมีข้อความครบถ้วนชัดเจน แสดงเครื่องหมายต่างๆ ที่สำคัญ คือ
1.เลขทะเบียน อย.วอส..... (วอส. คือวัตถุอันตรายที่ใช้ทางสาธารณสุข)
2.เครื่องหมายแสดงความเป็นพิษ พร้อมด้วยข้อความแสดงความเป็นพิษ เช่น หัวกะโหลก กระดูกไขว้ พร้อมข้อความพิษร้ายแรงหรือร้ายแรงมาก
3.ชื่อที่ตั้งผู้ผลิต ผู้จำหน่าย
4.ชื่อทางเคมีและอัตราส่วนของสารออกฤทธิ์
5.ข้อความแสดงประโยชน์ วิธีใช้ คำเตือน การเก็บรักษา ข้อความแสดงการเกิดพิษ วิธีแก้พิษ และคำแนะนำสำหรับแพทย์
6.ปริมาณสุทธิ
การเลือกผลิตภัณฑ์ที่ภาชนะบรรจุจะต้องปลอดภัยในการใช้ด้วย เช่น ถ้าเป็นชนิดฉีดพ่น ต้องไม่เปรอะเปื้อนมือเวลาฉีดพ่น หรือผลิตภัณฑ์ในรูปแบบของเหลวต้องอยู่ในภาชนะที่ปิดสนิท และไม่รั่วไหลเมื่อขวดเอียงหรือล้ม
ฉลากแสดงรายละเอียดของผลิตภัณฑ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืช จะแสดงเครื่องหมายต่าง ๆ ที่สำคัญ คือ เลขทะเบียน อย.วอส.... เครื่องหมายแสดงความเป็นพิษ พร้อมด้วยข้อความแสดงความเป็นพิษ ชื่อที่ตั้งผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ชื่อทางเคมีและอัตราส่วนของสารออกฤทธิ์ ข้อความแสดงประโยชน์ วิธีใช้ คำเตือน การเก็บรักษา ข้อความแสดงการเกิดพิษ วิธีแก้พิษ และคำแนะนำสำหรับแพทย์ และปริมาณสุทธิ

การกำจัดศัตรูพืชโดยใช้สารเคมี

ตอนที่ 2.1 ประเภทของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
การกำจัดศัตรูพืชโดยใช้สารเคมี คือ การฉีดยาหรือสารเคมี สารเคมีที่นิยมใช้ได้แก่ ดีดีที ดีลดริน แอลดริน มาลาไทออน ไบดริน ไอโซแลน คาบาริล ไฮคว๊อต พาราคว๊อต ฟอร์ฟาคว๊อต เป็นต้น
ประเภทของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ประเภทของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชแบ่งได้ 5 ประเภทตามลักษณะการใช้ ดังนี้
1. สารเคมีฆ่าแมลง ได้แก่ พาราไทออน โพเรท คาร์บาริล ไบกอน แอลดริน ดีดีที เป็นต้น
2. สารเคมีกำจัดวัชพืช ได้แก่ พาราคว๊อต คาลาปอน ซิเมโทน เป็นต้น
3. สารเคมีกำจัดเชื้อรา ได้แก่ ไซเนบ แคปแทน แลนเนต เป็นต้น
4. สารเคมีกำจัดสาหร่าย ได้แก่ คอปเปอร์ซัลเฟต เป็นต้น
5. สารเคมีกำจัดสัตว์แทะ ได้แก่ คาวมาริน ซิงค์ฟอสไฟด์ และแก๊สไซยาไนด์ เป็นต้น
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นสารเคมีที่นำมาใช้สำหรับฉีดพ่นตามส่วนต่าง ๆ ของพืช หรือใช้ผสมปนกับดิน เพื่อป้องกัน หรือกำจัดศัตรูพืชที่ทำให้พืชเสียหายหรือลดคุณภาพ ประเภทของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชแบ่งตามลักษณะการใช้ได้ 5 ประเภท คือ สารเคมีฆ่าแมลง สารเคมีกำจัดวัชพืช สารเคมีกำจัดเชื้อรา สารเคมีกำจัดสาหร่าย สารเคมีกำจัดสัตว์แทะ
สารเคมีที่ใช้กำจัดศัตรูพืชปัจจุบันมีมากมายหลายชนิดแต่ละชนิดออกฤทธิ์แตกต่างกัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่างสารเคมีที่ใช้ปราบพาหะนำโรคและศัตรูพืชบางชนิด

1. สารประกอบคลอริเนตไฮโดรคาร์บอน เช่น ดีดีที ดีลดริน แอลดริน ประโยชน์ใช้ ฆ่าแมลงกำจัดศัตรูพืช พาหะนำโรคของมนุษย์ และสัตว์ การออกฤทธิ์หรือพิษต่อคน โดย กดศูนย์ควบคุม การหายใจที่สมอง ท้องร่วง ตับอักเสบ ระยะเวลาในการสลายตัว 2-5 ปี
2. สารประกอบออแกนโนฟอสเฟต เช่น พาราไทออน มาลาไทออน ไบดริน ประโยชน์ใช้ ฆ่าแมลงที่กัดและ ดูดน้ำเลี้ยง ฆ่าแมลงที่เป็นศัตรูมนุษย์และสัตว์ การออกฤทธิ์หรือพิษต่อคน โดยมีอาการ วิงเวียน ปวดศีรษะ ปวดท้อง อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก ชัก ระยะเวลาในการสลายตัว 1-12 สัปดาห์
3. สารประกอบคาร์บาเมต เช่น ไอโซแลน คาบาริล ประโยชน์ใช้ กำจัดแมลงศัตรูพืช การออกฤทธิ์หรือพิษต่อคน โดยมีอาการ ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง เหงื่อออกมาก ม่านตาหดหรี่เล็กลง ระยะเวลาในการสลายตัว 1-12 สัปดาห์
4. สารประกอบ
พาราคว๊อต เช่น ไฮคว๊อต พาราคว๊อต ฟอร์ฟาคว๊อต ประโยชน์ใช้ ฆ่าแมลงและวัชพืช การออกฤทธิ์หรือพิษต่อคน โดยมีอาการ เจ็บคอ คลื่นไส้อาเจียน ท้องเดิน ตัวเหลือง ผิวหนังอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจและ
ปอดไม่ทำงาน ระยะเวลาในการสลายตัว ไม่สลายตัว
ที่มา : นิพนธ์ ตังคณานุรักษ์. คู่มือเสริมศักยภาพกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ยากับชีวิต. 2546. หน้า 88
สารเคมีที่ใช้กำจัดศัตรูพืชแบ่งตามการออกฤทธิ์ของสารเคมีแบ่งได้ 4 ประเภท คือ สารประกอบคลอริเนตไฮโดรคาร์บอน สารประกอบออแกนโนฟอสเฟต สารประกอบคาร์บาเมต สารประกอบพาราคว๊อต ซึ่งมีการออกฤทธิ์หรือพิษต่อคน และระยะเวลาในการสลายตัวแตกต่างกัน
ตอนที่ 2.2 หลักการใช้ ข้อควรระวังและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
การใช้การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช มีข้อควรระวัง และข้อปฏิบัติมีดังนี้
1. ก่อนใช้ต้องอ่านฉลากให้เข้าใจ
2. ในกรณีที่เป็นชนิดฉีดพ่น ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง อย่าให้ละอองเข้าตา ปาก จมูกหรือผิวหนัง และเสื้อผ้า
3. ห้ามฉีดพ่นในห้องที่มีเด็กอ่อน ผู้ป่วย หรืออาหาร และขณะทำการฉีดพ่นให้
ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการฉีดพ่นออกจากบริเวณนั้น ๆ
4. ภาชนะบรรจุวัตถุอันตรายเมื่อใช้หมดแล้ว ห้ามนำไปบรรจุสิ่งอื่นใดและห้ามนำไป
เผาไฟจะเกิดอันตราย และห้ามทิ้งลงในแม่น้ำ คู คลอง หรือแหล่งน้ำสาธารณะ
5. หลังจากพ่นวัตถุอันตรายเสร็จแล้ว ต้องล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้ง
6. ห้ามรับประทาน
สารเคมีสามารถเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์และสัตว์ได้ 3 ทาง คือ ทางปาก จมูก และผิวหนัง ดังนั้นจึงควรใช้สารเคมีเหล่านี้อย่างระมัดระวัง ใช้ให้ถูกวิธีตามฉลากที่แนะนำไว้ และเกษตรกรควรเลือกสารเคมีชนิดเฉพาะเจาะจง และสลายตัวได้เร็วที่สุด เพื่อให้เกิดความ-ปลอดภัยต่อผู้บริโภค
การปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชให้ได้ผลดี
การปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชให้ได้ผลดีมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
1. อ่านฉลากอธิบาย ชนิด อัตรา วิธีการ และกำหนดการใช้อย่างละเอียด ตลอดจน ความเข้มข้นของสารเคมี และคำแนะนำตักเตือนเกี่ยวกับอันตรายที่อาจจะเกิดกับผู้ใช้และผู้เกี่ยวข้อง
2. ทดสอบเครื่องมือประกอบการใช้ให้ถูกต้อง
3. เตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องตวง เครื่องฉีด ถังน้ำ ไว้ให้พร้อมและไม่มีสิ่งของเหล่านี้ปะปนกับกิจกรรมอื่น
4. ไม่ควรนำสารเคมีหรือสารอื่นมาใช้ โดยไม่มีรายละเอียดการใช้กำกับไว้
การใช้สารเคมีเพื่อกำจัดศัตรูพืชกับพืชผักที่จะนำไปบริโภค ควรคำนึงถึงความปลอดภัย โดยทิ้งระยะเวลาในการเก็บเกี่ยว ดังตัวอย่างต่อไปนี้

-พาราไทออน-เมทธิล อัตราการใช้ 20(กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ) ทดลองใช้กับผักคะน้า ระยะเวลาที่ควรทิ้งไว้ก่อนเก็บเกี่ยวเพื่อความปลอดภัย 5 วัน
-ไดเมทโทเอท อัตราการใช้ 40(กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ) ทดลองใช้กับผักคะน้า ระยะเวลาที่ควรทิ้งไว้ก่อนเก็บเกี่ยวเพื่อความปลอดภัย 7 วัน
-มาลาไทออน อัตราการใช้ 30(กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ) ทดลองใช้กับผักกวางตุ้ง ระยะเวลาที่ควรทิ้งไว้ก่อนเก็บเกี่ยวเพื่อความปลอดภัย 5 วัน
-เมวินฟอส อัตราการใช้ 30(กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ) ทดลองใช้กับผักกวางตุ้ง ระยะเวลาที่ควรทิ้งไว้ก่อนเก็บเกี่ยวเพื่อความปลอดภัย 1 วัน
-ไดเมโทเอท อัตราการใช้ 40(กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ) ทดลองใช้กับมะเขือเทศ ระยะเวลาที่ควรทิ้งไว้ก่อนเก็บเกี่ยวเพื่อความปลอดภัย 7 วัน
-ไดอาซินอน อัตราการใช้ 30(กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ) ทดลองใช้กับมะเขือเทศ ระยะเวลาที่ควรทิ้งไว้ก่อนเก็บเกี่ยวเพื่อความปลอดภัยมากกว่า 7 วัน
ที่มา : บุญสนอง พึ่งสุข. คู่มือเตรียมสอบวิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3(ม.1-3). 2547. หน้า 204
จากข้อมูลการค้นคว้าวิจัย ข้างต้นนี้ คงจะเป็นตัวอย่างว่า สารเคมีที่ใช้กับผักกวางตุ้ง และมะเขือเทศนั้นมีระยะปลอดภัยในการเก็บเกี่ยวมาบริโภคแตกต่างกัน ทั้งนี้เพราะว่าสารเคมีเหล่านั้นมีการสลายตัวได้ช้าเร็วไม่เหมือนกันนั่นเอง เช่น พาราไทออน-เมทธิล เมื่อใช้กับผักคะน้าแล้วต้องทิ้งไว้ 5 วันจึงจะมีสารเคมีตกค้างอยู่ไม่เกินค่าปลอดภัย ซึ่งค่าปลอดภัยได้กำหนดไว้ 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ( เป็นค่าที่ทางองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติได้กำหนดไว้ในปี พ.ศ. 2517) ค่าปลอดภัยของมาลาไทออนที่ใช้กับผักกวางตุ้ง 0.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เมวินฟอส 0.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ไดอาซินอน 0.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เป็นต้น
การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยเฉพาะยาที่จะต้องฉีดพ่น ควรใช้ด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง เพราะสารเคมีอาจเข้าสู่ร่างกายคนได้ทางผิวหนัง บาดแผล หรือโดยการหายใจ และการบริโภค สารเหล่านี้อาจไม่แสดงผลทันที แต่จะสะสมไว้ในร่างกายทีละเล็กละน้อยจนถึงปริมาณหนึ่งที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ถึงขั้นเสียชีวิตได้ คนแพ้พิษยาปราบศัตรูพืชจะมีอาการวิงเวียน หน้ามืด คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออกมาก น้ำลายฟูมปาก หรือกล้ามเนื้อชักตุก อาการเหล่านี้จะเกิดมาหรือน้อยตามแต่ชนิดและปริมาณสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย ดังตัวอย่างต่อไปนี้
แสดงปริมาณสารเคมีในยากำจัดศัตรูพืชที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต
-พาราไธออน 6.3( mg/kg ของน้ำหนักร่างกาย )
-ดีดีที 200.0( mg/kg ของน้ำหนักร่างกาย )
-แคลเซียมอาซีเนต 10.0( mg/kg ของน้ำหนักร่างกาย )
-เอนดริน 24 % 5.0 ( mg/kg ของน้ำหนักร่างกาย )
-ไทรีทริน 30.0( mg/kg ของน้ำหนักร่างกาย )
-เลดอาร์ ซีเนต 30.0( mg/kg ของน้ำหนักร่างกาย )
ที่มา : ศิริรัตน์ วงศ์สิริ. คู่มือวิทยาศาสตร์ ว305-ว306 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. 2542. หน้า 302
ก่อนใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ควรศึกษาวิธีใช้ให้เข้าใจเสียก่อนและปฏิบัติตามคำแนะนำ ในขณะที่ใช้ควรหลีเลี่ยงการสูดดมโดยใช้ผ้าปิดจมูกก่อน ถ้าเป็นสารเคมีที่มีพิษแรง เช่น เอนดริน 24 เปอร์เซ็นต์ หรือพาราไทออนแล้วผู้ใช้ต้องเตรียมหน้ากากป้องกันพิษสารเคมี ถุงมือ เสื้อ และรองเท้าไว้เป็นพิเศษ ห้ามกินอาหาร ดื่มน้ำหรือสูบบุหรี่ขณะที่ฉีดพ่นสารเคมี
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นสารเคมีที่มีทั้งประโยชน์และโทษ ผู้ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช จึงต้องมีความรู้เกี่ยวกับสารเคมีนั้น ๆ ให้ถูกต้อง และคำนึงถึงข้อควรระวัง และปฏิบัติตามข้อปฏิบัติหรือฉลากกำกับให้ถูกต้อง

ตอนที่ 1.3 วิธีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช

วิธีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
การป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่เกษตรกรนำมาใช้มีหลายวิธี ซึ่งวิธีต่าง ๆ ใช้แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับเวลา สภาพการณ์ และความเหมาะสมของผู้ใช้
การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช มีวิธีต่างๆ หลายวิธี ซึ่งเวลาและวิธีใช้ขึ้นอยู่กับโอกาส และสภาพการณ์ความเหมาะสมด้านต่างๆ ได้แก่
1. การใช้สารเคมี (chemical control) ได้แก่ การใช้ยาฆ่าแมลง (insecticide) ยาปราบวัชพืช herbicide) ยาฆ่าหนู (rodenticide)
2. การป้องกันกำจัดโดยอาศัยหลักปฏิบัติทางการกสิกรรม (cultural control) โดย การไถพรวน หรือปลูกพืชหมุนเวียน สามารถลดศัตรูพืชลงได้
3. โดยอาศัยเครื่องมือกลต่างๆ (mechanical control) เป็นการป้องกันและกำจัด
อย่างง่าย ๆ โดยกลวิธี เช่น การใช้กับดัก การตบตี การขุดหลุมพราง ฯลฯ
4. โดยอาศัยเครื่องมือประยุกต์ทางฟิสิกส์ เช่น หลอดไฟล่อแมลง การใช้รังสีแกมม่าทำให้แมลงตัวผู้เป็นหมัน
5. การกำจัดโดยวิธีทางชีววิธี (biological control) เป็นการใช้สิ่งมีชีวิตหนึ่งไปควบคุมปริมาณสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งที่เป็นศัตรูพืช สิ่งมีชีวิตที่นำมาใช้เป็นตัวควบคุมและป้องกันกำจัด เรียกว่า ศัตรูธรรมชาติ (natural enemies) ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
5.1 ผู้ล่าหรือตัวห้ำ (predators) คือสัตว์ที่เป็นผู้ล่าหรือตัวกิน และทำลายศัตรูพืช เช่น การใช้ด้วงงวงกินผักตบชวา การใช้หอยตัวห้ำทำลายหอยทากยักษ์อาฟริกา
5.2 ตัวเบียน (parasite) เป็นสิ่งมีชีวิตที่ค่อยๆ เบียดเบียนและทำลายศัตรูพืช ให้อ่อนแอและตายในที่สุด ได้แก่ การใช้แตนเบียนทำลายหนอนผีเสื้อข้าวสาร แตนเบียน หนอนม้วนใบกล้วย
5.3 เชื้อโรค (pathogen) เป็นจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคกับศัตรูพืช เช่น
การใช้แบคทีเรียทำให้หนอนผีเสื้อกินใบส้มเป็นโรค การใช้ไวรัสทำให้หนอนกระทู้หอมเป็นโรค การใช้เชื้อราทำให้ตั๊กแตนปาทังกาเป็นโรคตาย เป็นต้น
สรุปได้ว่า การป้องกันและกำจัดศัตรูพืชทำได้หลายวิธี ซึ่งเกษตรกรสามารถนำไปใช้ตั้งแต่วิธีการง่าย ๆ โดยอาศัยเครื่องมือกลต่าง ๆ การใช้หลักปฏิบัติทางการกสิกรรม การกำจัดโดยใช้สารเคมี การกำจัดโดยวิธีทางชีววิธี ตลอดจนวิธีการที่ต้องอาศัยเครื่องมือประยุกต์ทางฟิสิกส์ โดยใช้หลอดไฟล่อแมลง การใช้แมลงกำจัดแมลงศัตรูพืช การใช้เชื้อโรคพืชกำจัดศัตรูพืช และการใช้รังสีแกมม่าทำให้แมลงตัวผู้เป็นหมัน การใช้วิธีการกำจัด-ศัตรูพืชขึ้นอยู่กับความเหมาะสม เวลา และสภาพการณ์ ซึ่งต้องคำนึงถึงความปลอดภัยต่อตนเอง ผู้อื่น และสิ่งแวดล้อม

ตอนที่ 1.2 ประเภทของศัตรูพืช

การแบ่งประเภทของศัตรูพืช สามารถแบ่งได้หลายวิธีด้วยกัน ดังนี้
ศรีรัตน์ วงศ์สิริ และคณะ (2542: 302) ได้แบ่งประเภทของศัตรูพืชเป็น 3 ชนิด คือ
1. พวกที่มองเห็น ได้แก่ แมลงและสัตว์บางชนิด เช่น ตั๊กแตนปาทังกา เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง ด้วงแรด ปู ทาก เป็นต้น
2. พวกที่มองไม่เห็น ได้แก่ จุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ เช่น เชื้อรา ไวรัส แบคทีเรีย เป็นต้น
3. วัชพืช คือพืชที่เป็นโทษแก่พืชที่ปลูกไว้ เช่น สาหร่ายไฟ หญ้าข้าวป่า หญ้าแห้วหมู หญ้าขจรจบ เป็นต้น
ศรีลักษณ์ ผลวัฒนะ และคณะ (2545: 106 - 107) ได้แบ่งประเภทของศัตรูพืชเป็น 4 กลุ่ม คือ
1. วัชพืช หมายถึง พืชที่ไม่ต้องการให้ขึ้นในแปลงปลูก และมีคุณลักษณะที่มีผล
ทำให้มีอัตราการอยู่รอดสูง เช่น สามารถผลิตเมล็ดได้เป็นจำนวนมาก แพร่พันธุ์ได้เร็ว
2. โรคพืช หมายถึง สิ่งที่ทำให้เกิดอาการผิดปกติในพืชทั้งด้านรูปร่างลักษณะ และกระบวนการในการดำรงชีวิตของผลผลิต
2.1 สาเหตุของโรคพืช
1) สิ่งไม่มีชีวิต เช่น ดินไม่เหมาะสม ขาดธาตุอาหารในดิน
สภาพภูมิอากาศไม่เหมาะสม สารเคมีเป็นพิษ และโรคพันธุกรรม
2) สิ่งมีชีวิต เช่น แบคทีเรีย รา ไวรัส และไส้เดือนฝอย
2.2 ตัวอย่างโรคพืช
1) โรคไส้กลวงดำของผักกาดหัว สาเหตุจากการขาดธาตุโบรอน
2) โรคหูดของมะนาว สาเหตุจาดเชื้อแบคทีเรีย
3) โรคใบจุดสีน้ำตาลของผักบุ้ง สาเหตุจากเชื้อรา
3. แมลงศัตรูพืช ซึ่งอาจมีอยู่แล้วในประเทศ และอาจมาจากต่างประเทศ โดยมาเองหรือมนุษย์เป็นผู้นำเข้ามา แมลงเหล่านี้จะทำลายพืชได้หลายแบบ เช่น ใช้ปากกัดกิน ใช้ปากเขี่ยดูด
แมลงศัตรูพืชแบ่งชนิดของแมลงตามลักษณะการทำลายพืชนั้นแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
3.1 แมลงที่ทำลายพืชด้วยการกัดกินพืชผัก ได้แก่ แมลงพวกตั๊กแตน หนอน ด้วง แมลงเหล่านี้จะกัดแทะใบ ราก ผลของพืชผัก
3.2 แมลงที่ทำลายพืชด้วยการดูดน้ำเลี้ยงจากพืช ได้แก่ มวน เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน ไร เป็นต้น แมลงเหล่านี้มักจะมีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก จะดูดน้ำเลี้ยงจากต้นพืช โดยเฉพาะต้นอ่อน ทำให้พืชมีอาการคล้ายโรค
4. สัตว์ศัตรูพืช หมายถึง สัตว์อื่นที่นอกเหนือจากแมลงซึ่งทำอันตรายหรือทำ ความเสียหายให้แก่พืชที่ปลูก ได้แก่ หนู ปูนา หอยทากยักษ์ นก ค้างคาว
บุญสนอง พึ่งสุข (2547: 202 - 203) ได้แบ่งประเภทของศัตรูพืชเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. สัตว์ ได้แก่ แมลงและสัตว์บางชนิด เช่น ตั๊กแตนปาทังกา เพลี้ย นก หนู ปู หอยทากยักษ์อาฟริกา หนอนกระทู้กล้า แมลงบัว แมลงสิง หนอนกระทู้ คอรวง ฯลฯ
สัตว์ที่ทำความเสียหายให้แก่พันธุ์พืชทางเกษตร ได้แก่
- ตั๊กแตนปาทังกา ทำลายข้าวโพด
- ไส้เดือนฝอย (nematodes) อาศัยอยู่ในรากพืช ทำให้เกิดโรครากปมของพืช
- หอยทากยักษ์อาฟริกา กัดกินส่วนต่าง ๆ ของพืช
- หนู กัดต้นข้าวและทำลายรวงข้าง
- เพลี้ย ดูดน้ำเลี้ยงจากพืช
- นกและค้างคาว เจาะและจิกกินผลไม้ในสวน
2. จุลินทรีย์ ได้แก่ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ๆ มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ได้แก่ เชื้อรา ไวรัส และแบคทีเรีย
จุลินทรีย์ที่ทำให้พืชเกิดโรค เช่น
2.1 แบคทีเรีย ทำให้เกิดโรคเน่าของพืชผัก โรคแคงเก้อร์ของพืชตระกูลส้ม
2.2 เชื้อรา ทำให้เกิดโรคไหม้ ใบเน่า ยอดหยิกงอ โรครากผุของต้นยาง
โรคราน้ำค้างขององุ่น
2.3 ไวรัส ทำให้เกิดโรคใบหงิกของพริก โรคใบด่างของยาสูบ
3. วัชพืช ได้แก่ พืชที่เจริญเติบโตในพื้นที่เพาะปลูกแต่เราไม่ต้องการ วัชพืชมักเติบโตเร็วและทนทานกว่าพืชที่ปลูกไว้ เช่น สาหร่ายไฟ หญ้าคา หญ้าขจรจบ หญ้าแห้วหมู ฯลฯ
วัชพืชเป็นโทษแก่พืชที่ปลูกไว้ เพราะคอยแย่งอาหาร น้ำ และแสงสว่าง ทำให้พืชที่ปลูกไว้ไม่เจริญเติบโต ให้ผลิตผลน้อยลง วัชพืชที่ติดมากับอาหารสัตว์ จะทำให้อาหารสัตว์นั้นมีประโยชน์น้อยลง อันเป็นเหตุให้สัตว์ให้เนื้อ นม ไข่ ได้น้อยลง ยิ่งกว่านั้น วัชพืชบางชนิดยังเป็นพิษร้ายแรง ที่อาจทำให้สัตว์ที่กินวัชพืชเข้าไปเป็นอันตรายถึงตายได้
คำว่าวัชพืช มาจาก วัช หรือวัชชะ แปลว่า “สิ่งที่ควรละทิ้ง” ซึ่งรวมกับคำว่า พืช เป็นวัชพืช จึงมีความหมายว่า “พืชที่ควรละทิ้ง” วัชพืชแบ่งตามลักษณะที่อยู่เป็น 2 พวกใหญ่ ๆ คือ
3.1 วัชพืชน้ำ หมายถึง วัชพืชที่ขึ้นในน้ำหรือขึ้นตามริมตลิ่งที่มีดินชื้นมาก ๆ มักเป็นพืชที่มีลำต้นเล็ก อ่อน ใบบาง เพื่อลู่ไปตามกระแสน้ำได้ดี มีหลายลักษณะตามสภาพที่ขึ้น ดังนี้
3.1.1 พวกลอยน้ำรากไม่หยั่งดิน เช่น จอก แหน ไข่น้ำ แหนแดง ผักตบชวา
3.1.2 พวกรากหยั่งดิน ใบและดอกลอยตามผิวน้ำหรืออยู่เหนือน้ำ เช่น บัว ตับเต่า ขาเขียด
3.1.3 พวกอยู่ใต้ผิวน้ำรากหยั่งดิน เช่น สาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายไฟ
แหนปากเป็ด สาหร่ายเส้นด้าย สาหร่ายพุ่งชะโด
3.1.4 พวกขึ้นตามดินชื้นมากๆ หรือที่ที่มีน้ำขังตื้น ๆ เช่น เทียนนา แห้วทรงกระเทียม หญ้าขน หญ้านกสีชมพู
3.2 วัชพืชบก หมายถึง วัชพืชที่เกิดบนบกแบ่งตามลักษณะทั่วไปได้ 3 ชนิด คือ ไม้ต้น (trees) ไม้พุ่ม (shrubs) และไม้ล้มลุกลำต้นอ่อน (herbs)
ไม้ล้มลุกลำต้นอ่อนแบ่งตามอายุได้ 2 พวก ได้แก่ พืชล้มลุก อายุสั้น มีวงชีพอยู่ได้เพียงฤดูเดียว (annual) และอีกพวกหนึ่งเป็นพืชต้นเล็กเนื้ออ่อน ยืนต้น มีอายุข้ามปีหรือ 2 ปีขึ้นไป (perennial) พวกนี้มักจะมีไหล (stolon)ซึ่งสามารถแตกรากตามข้อที่นอนแตะพื้นดิน เช่น แห้วหมู หญ้าชันอากาศ หญ้าขจรจบ เป็นวัชพืชที่ให้โทษร้ายแรงในไร่ข้าวโพด ขณะต้นยังอ่อน ไม่มีดอก ใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ เมื่อต้นแก่แห้งแล้วใช้ทำเยื่อกระดาษได้ดี
วัชพืชบางชนิดให้ประโยชน์ เช่น หญ้าขนมเทียน ขึ้นตามไร่พริกแถวราชบุรี เมื่อใกล้ตรุษจีน หญ้าขนมเทียนจะมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 50 บาท (พ.ศ.2520) หญ้าชนิดนี้ นำมาตำคั้นเอาน้ำผสมแป้ง ทำให้ขนมไม่ติดใบตอง
วัชพืชสามารถกระจายพันธุ์ได้โดย เมล็ดวัชพืชปนมากับเมล็ดพืชที่ปลูก เมล็ดปลิวตามลม ลอยมากับกระแสน้ำ ติดมากับตัวสัตว์ พวกนก แมลง ติดมากับเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับทำการเพาะปลูก หรือดิน
การกำจัดวัชพืช ควรถอนทิ้งเสียตั้งแต่ต้นยังอ่อนอยู่ ยังไม่มีเมล็ด จะช่วยลด
การกระจายพันธุ์ของวัชพืชลงได้
วัชพืชเป็นพืชที่ไม่ต้องการและขึ้นปะปนกับพืชปลูก นอกจากจะเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดผลเสียหาต่อเกษตรกรรมแล้ว ยังก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมและสาธารณสุข ซึ่งโทษหรือผลเสียดังกล่าวสามารถจำแนกออกได้อย่างกว้าง ๆ เป็น 2 ประการ คือ
ก. ผลเสียต่อเกษตรกรรม วัชพืชก่อให้เกิดความเสียหายทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพต่อผลิตผลของพืชปลูกและสัตว์เลี้ยง
1. ผลเสียต่อพืชปลูก โดยการลดปริมาณผลผลิต ลดคุณภาพของผลผลิต และ เพิ่มการระบาดของแมลงและโรค
2. ผลเสียต่อสัตว์เลี้ยง โดยการลดปริมาณและคุณภาพสัตว์
ข. ผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมละสาธารณสุข วัชพืชก่อให้เกิดความเสียหายต่อถนน ทางรถไฟ ในขณะเดียวกันวัชพืชน้ำก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการคมนาคมทางน้ำและชลประทาน ทำให้ท่อระบายน้ำอุดตัน แม่น้ำ ลำคลอง ทะเลสาบ ฯลฯ เกิดการตื้นเขินและเกิดความเสื่อมโทรมต่อแหล่งท่องเทียว นอกจากนี้วัชพืชยังมีผลเสียต่อสุขภาพมนุษย์ โดยเฉพาะทำให้เกิด การระคายเคือง ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากละอองเกสรหรือขนของวัชพืช
สรุปได้ว่า ศัตรูพืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่รบกวนและทำลายพืชให้ได้รับความเสียหาย และ ทำให้ผลิตผลทางการเกษตรมีปริมาณลดลงและมีคุณภาพต่ำลงหรือไม่มีคุณภาพ ศัตรูพืชแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. สัตว์ ได้แก่ แมลงและสัตว์บางชนิดที่มองเห็นด้วยตาเปล่า เช่น ค้างคาวตั๊กแตนปาทังกา เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง ด้วงแรด ปู ทาก นก ไส้เดือนฝอย หนู หอยเชอรี่ เป็นต้น
2. จุลินทรีย์ ได้แก่ สิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เช่น เชื้อรา ไวรัส แบคทีเรีย เป็นต้น ซึ่งทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ในพืชดังนี้
2.1 เชื้อรา ทำให้เกิดโรคไหม้ ใบเน่า ยอดหยิกงอ โรครากผุของต้นยาง
โรคราน้ำค้างขององุ่น โรคใบจุดสีน้ำตาลของข้าว โรคดอกกระถินของข้าว โรคราน้ำค้างของข้าวโพด เป็นต้น
2.2 ไวรัส ทำให้เกิดโรคใบหยิกงอของพริก โรคใบด่างของยาสูบ โรคใบสีส้มของข้าว โรคใบสีแสดของข้าว โรคเหลืองเตี้ยของข้าว โรคเขียวเตี้ยของข้าว เป็นต้น
2.3 แบคทีเรีย ทำให้เกิดโรคเน่าของพืชผัก โรคแคงเก้อร์ของพืชตระกูลส้ม
โรคขอบใบแห้งของข้าว เป็น
3. วัชพืช คือพืชที่เป็นโทษแก่พืชที่เราปลูกไว้ เช่น สาหร่ายไฟ หญ้าข้าวป่า หญ้าแห้วหมู หญ้าขจรจบ ผักตบชวา จอก แหน อ้อ กก เป็นต้น

ศัตรูพืช

ตอนที่ 1.1 ความหมายของศัตรูพืช
ศัตรูพืชทำให้พืชที่เกษตรปลูกไว้เสียหาย โดยการกัดกิน เจาะ ดูดน้ำเลี้ยง ทำให้เกิดโรค หรือแย่งอาหาร จึงจำเป็นที่จะต้องเข้าใจความหมายที่แท้จริงของศัตรูพืช มีผู้รวบรวมความหมายของศัตรูพืชไว้ ดังนี้
ศรีลักษณ์ ผลวัฒนะ และคณะ (2545: 106)ให้ความหมายของศัตรูพืชว่า ศัตรูพืช หมายถึง สิ่งที่คอยเบียดเบียนพืชที่เราต้องการผลผลิต ทำให้ได้ผลผลิตลดลงหรือไม่มีคุณภาพ
บุญสนอง พึ่งสุข (2547: 202)กล่าวถึงความหมายของศัตรูพืชว่า ศัตรูพืช หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่เป็นตัวรบกวนทำลายพืช ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรมีปริมาณและคุณภาพลดลง
ศรีรัตน์ วงศ์สิริ และคณะ (2542: 302)ได้ให้ความหมายของศัตรูพืชว่า ศัตรูพืช หมายถึง สิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เป็นตัวรบกวนและทำลายพืชให้ได้รับความเสียหายอยู่เสมอ เป็นผลให้ผลิตผลทางการเกษตรลดลงและมีคุณภาพต่ำลง เช่น แมลง รา แบคทีเรีย วัชพืช ไส้เดือนฝอย เป็นต้น
สรุปได้ว่า ศัตรูพืช หมายถึง สิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เป็นตัวรบกวนและทำลายพืชให้ได้รับความเสียหาย ทำให้ผลิตผลทางการเกษตรมีปริมาณลดลงและมีคุณภาพต่ำลงหรือไม่มีคุณภาพ