วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553

นิยาม
ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่
เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
เงื่อนไขเพื่อให้เกิดความพอเพียง
1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกันเพื่อประกอบ
การวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
2. เงื่อนไขคุณธรรมที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม เช่น มีความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความเพียร ใช้สติปัญญาใน การดำเนินชีวิต
การนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในสถานศึกษา
หลักปฏิบัติด้านเศรษฐกิจ
หลักปฏิบัติ ตัวอย่างกิจกรรม
1. รู้จักการใช้จ่ายของตนเอง
• ใช้จ่ายอย่างมีเหตุมีผล
• ใช้จ่ายอย่างพอประมาณ
• ใช้จ่ายอย่างประหยัด
• ใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น • บันทึกบัญชีรายรับและรายจ่าย
• วิเคราะห์บัญชีรายรับและรายจ่าย
• แลกเปลี่ยนประสบการณ์
• ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อลดรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือย
2. รู้จักออมเงิน มีกลไกลดความเสี่ยง
• ระบบสวัสดิการ
• ระบบออมเงิน
• ระบบสหกรณ์
• การประกันต่าง ๆ • ออมวันละหนึ่งบาท
• สัปดาห์การออม
• จัดตั้งกลุ่ม/สหกรณ์ออมทรัพย์
• จัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน

3. รู้จักประหยัด
• ใช้และกินอย่างมีเหตุผลไม่ฟุ่มเฟือย
• ใช้พลังงานเท่าที่จำเป็น
 ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า • ปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้
• เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ไว้กิน ไว้ขาย
• ใช้สินค้าที่ประหยัดพลังงาน
• รีไซเคิลขยะเพื่อนำมาใช้ใหม่
• นำของเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์
4 . พึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจโดยผลิตหรือสร้างรายได้ที่
• สอดคล้องกับความต้องการ
• สอดคล้องกับภูมิสังคม
• สอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
• สอดคล้องกับทรัพยากรท้องถิ่น เน้นการผลิตเพื่อพึ่งตนเองให้พอเพียงกับ
การบริโภคและการผลิตที่หลากหลาย เช่น
• ปลูกพืชผักผสมผสาน
• ปลูกพืชสมุนไพรไทย
• ผลิตสินค้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
• จัดอบรมพัฒนาอาชีพในชุมชน
หลักปฏิบัติด้านสังคม
5. รู้จักช่วยเหลือสังคมหรือชุมชน
• ปลูกจิตสำนึกสาธารณะ
• ปลูกฝังความสามัคคี
• ปลูกฝังความเสียสละ
• เผยแพร่องค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง • จัดกิจกรรมลด ละ เลิกอบายมุข
• จัดกิจกรรมช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส
• จัดค่ายพัฒนาเยาวชน
• จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ในชุมชน

หลักปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม
6. สร้างสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติ
• ปลูกจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม
• ฟื้นฟูแหล่งเสื่อมโทรมในท้องถิ่น
• ฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรในท้องถิ่น
• ฟื้นฟูดูแลสถานที่ท่องเที่ยวในท้องถิ่น • พัฒนาความรู้เกี่ยวกับดิน น้ำ ป่า เพื่อฟื้นฟูรักษา
• โครงการชีววิถี
• จัดอบรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
• จัดทำฝายแม้ว
หลักปฏิบัติด้านวัฒนธรรมและศาสนา

7. สืบสานวัฒนธรรมไทย
• สร้างจิตสำนึกรักษ์ไทย รักบ้านเกิด
• ฟื้นฟูและอนุรักษ์อาหารประจำท้องถิ่น
• ฟื้นฟูและอนุรักษ์ดนตรีไทยและเพลงไทย
• ฟื้นฟูและอนุรักษ์วัตถุโบราณและโบราณสถาน
• ปลูกฝังมารยาทไทย
• ส่งเสริมอาหารประจำท้องถิ่น
• ส่งเสริมการใช้ภาษาประจำท้องถิ่น
• ทำนุบำรุงโบราณวัตถุและโบราณสถาน
8. ส่งเสริมพระพุทธศาสนา
• ปลูกจิตสำนึกความรักชาติ
• ตระหนักถึงคุณค่าของพระพุทธศาสนา
• จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ • ให้ความสำคัญกับการรักษาศีลหรือสวดมนต์เป็นประจำ
• ส่งเสริมการฝึกอบรมสมาธิ ภาวนา
• ร่วมกันทะนุบำรุงศาสนา
• พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น
• รณรงค์การใช้สินค้าไทย

คุณธรรมในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช พระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่และเป็นที่เคารพรักอยู่สูงสุดของปวงชนชาวไทย ทรงพระราชทานพระบรมราโชวาทให้คนไทยมีคุณธรรมประจำใจ 4 ประการ ได้แก่
1. รักษาความสัตย์ ความจริงต่อตนเองที่จะประพฤติปฏิบัติต่อสิ่งที่เป็นประโยชน์
2. รู้จักข่มใจตนเอง ให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัตย์ ความดี
3. อดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลประการใด
4. รู้จักระวังความชั่วความทุจริต และรู้จักเสียสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อ
ประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงยังระบุไว้ในเงื่อนไขสำหรับเป็นปัจจัยพื้นฐานของ
การประพฤติปฏิบัติตนที่มีความชัดเจน 2 เงื่อนไขสำคัญ คือ
1. เงื่อนไขความมีคุณธรรม ที่จะต้องประกอบด้วย
(1) ความซื่อสัตย์สุจริต ดำรงอยู่อย่างมั่นคงต่อความดีงามปราศจากอกุศลจิตที่คิดคดทรยศ และทุจริตต่อผู้อื่น
(2) การใช้สติปัญญาที่รอบคอบระมัดระวังไตร่ตรองใคร่ครวญอย่างละเอียดถี่ถ้วนทั้งก่อนและหลังทำกิจกรรมใด ๆ ก็ตาม
2. เงื่อนไขการดำเนินชีวิต ที่จะต้องประกอบด้วย
(1) ความขยันขันแข็ง อดทน อดกลั้นต่อสภาพความยากลำบาก หรือปัญหาอุปสรรคที่เผชิญอยู่ รวมทั้งเป็นผู้รู้จักอดออม ประหยัดใช้ทรัพยากรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด
(2) ความรู้จักแบ่งปันและแลกเปลี่ยน มีความเอื้ออาทรระหว่างกัน สงเคราะห์ผู้ด้อยกว่าโดยมิหวังผลตอบแทนด้วยความมีน้ำใจมีความเมตตา และยึด ความเป็นกัลยาณมิตรต่อเพื่อนร่วมโลก

ไม่มีความคิดเห็น: