วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553

โครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์ หมายถึง การศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยตนเองของนักเรียน โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ภายใต้คำแนะนำปรึกษาของครู
**กิจกรรมการทำโครงงานวิทยาศาสตร์อาจเรียกได้ว่า เป็นการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เบื้องต้นสำหรับนักเรียน

หลักการของกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์
1. เน้นการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยนักเรียนจะเป็นผู้ริเริ่ม วางแผน และดำเนินการศึกษาด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ชี้แนะแนวทาง และให้คำปรึกษา
2.เน้นกระบวนการแสวงหาความรู้โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยเริ่มจากการกำหนดปัญหา เลือกหัวข้อที่ตนสนใจจะศึกษา วางแผนการศึกษาค้นคว้า ดำเนินการรวบรวมข้อมูล ทำการทดลอง และสรุปผลการศึกษาค้นคว้า
3.เน้นการคิดเป็น ทำเป็น และการแก้ปัญหาเป็นด้วยตนเอง
คุณค่าของโครงงานวิทยาศาสตร์
1. สร้างสำนึกและความรับผิดชอบในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง
2. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาและ แสดงความสามารถตามศักยภาพ ของตนเอง
3. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษา ค้นคว้า และเรียนรู้ใน เรื่องที่นักเรียนสนใจได้อย่างลึกซึ้งกว่าการเรียนใน
ห้องเรียนปกติ
4. ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการคิด การแก้ปัญหา การตัดสินใจ รวมทั้งการสื่อสาร
5. กระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ และมีความสนใจที่จะประกอบอาชีพทางวิทยาศาสตร์
6. ส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้เวลาอย่าง เป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์
7. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับ ครูและชุมชน รวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชน สนใจวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
8. ให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหา สาระของวิชาวิทยาศาสตร์
9. ให้นักเรียนมีทักษะในการศึกษาค้นคว้า มีความสนใจวิทยาศาสตร์ มีเจตคติและ ค่านิยมทางวิทยาศาสตร์
10. ส่งเสริมให้จุดมุ่งหมายของหลักสูตร สัมฤทธิ์ผลโดยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

วิธีการทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ขั้นที่ 1 การคิดและเลือกชื่อเรื่องหรือปัญหาที่จะศึกษา
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นที่สำคัญที่สุดและยากที่สุด ตามหลักการแล้ว นักเรียนควรเป็นผู้คิดและเลือก หัวข้อเรื่องที่จะศึกษาด้วยตนเอง
แต่นักเรียนสามารถคิดหัวข้อเรื่องได้ด้วยตนเองหรือให้ครูส่วนช่วยเหลือ

ขั้นที่ 2 การวางแผนในการทำโครงงาน
ได้แก่ การวางแผนดำเนินงานในการศึกษาค้นคว้าทั้งหมด เช่น วัสดุอุปกรณ์ ที่จำเป็นต้องใช้ในการออกแบบการทดลอง และควบคุมตัวแปร วิธีดำเนินการรวบรวม ข้อมูล การวางแผนปฏิบัติงานอย่างคร่าว ๆ ว่าจะดำเนินการอย่างไรบ้างเป็นขั้นตอน แล้วนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมและขอความเห็นชอบ

ขั้นที่ 3 การลงมือทำโครงงาน
ได้แก่ การวางแผนดำเนินงานในการศึกษาค้นคว้า ทั้งหมด เช่น วัสดุอุปกรณ์ ที่จำเป็นต้องใช้ในการออก แบบการทดลอง และควบคุมตัวแปร วิธีดำเนินการรวบรวม ข้อมูล การวางแผนปฏิบัติงานอย่างคร่าว ๆ ว่าจะดำเนิน การอย่างไรบ้างเป็นขั้นตอน แล้วนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม และขอความเห็นชอบ

ขั้นที่ 4 การเขียนรายงาน
เป็นการเสนอผลของการศึกษาค้นคว้าเป็นลายลักษณ์อักษรหรือเป็นเอกสาร เพื่ออธิบายให้ผู้อื่นทราบรายละเอียดทั้งหมดของการทำโครงงาน ซึ่งจะประกอบด้วย ปัญหาที่ทำการศึกษาวัตถุประสงค์ของการศึกษา วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ ข้อมูลต่าง ๆ ที่รวบรวมได้ ผลที่ได้จาก การศึกษาค้นคว้า ตลอดจนประโยชน์และ ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่ได้จากการทำโครงงานนั้น ๆ วิธีเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ มีลักษณะและแนวทางในการเขียน เช่นเดียวกับ การเขียนรายงาน
ผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของ นักวิทยาศาสตร์นั่นเอง

ขั้นที่ 5 การแสดงผลงาน
เป็นการเสนอผลงานที่ได้ศึกษาค้นคว้าสำเร็จลงแล้วให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจ ซึ่งอาจกระทำได้หลายรูปแบบเช่น การจัดนิทรรศการ การสาธิตแสดงประกอบรายงานปากเปล่า ฯลฯ

โครงงานวิทยาศาสตร์แบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ
1. โครงงานประเภทการสำรวจ
เป็นการศึกษารวบรวมปัญหาจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อศึกษาหาความรู้ที่มีอยู่หรืออยู่ในธรรมชาติ โดยใช้วิธีสำรวจและรวบรวมข้อมูล แล้วนำข้อมูลที่ได้มาจัดกระทำให้เป็นระบบระเบียบและ สื่อความหมาย แล้วนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ตาราง กราฟ แผนภูมิ และคำอธิบายประกอบ อาจกระทำในลักษณะใดลักษณะหนึ่งต่อไปนี้

2. โครงงานประเภทการทดลอง
เป็นการศึกษาหาคำตอบของปัญหาใดปัญหาหนึ่ง โดยการออกแบบการทดลอง และดำเนินการทดลอง ลักษณะของโครงงานประเภทนี้ คือ มีการออกแบบการทดลอง เพื่อศึกษาผลของตัวแปรที่มีต่อ ตัวแปรอีกตัวหนึ่งที่ต้องการศึกษา โดยควบคุมตัวแปรอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อตัวแปรที่ต้องการศึกษา

3. โครงงานประเภทการพัฒนาหรือสิ่งประดิษฐ์
เป็นการพัฒนา ประดิษฐ์ การสร้างอุปกรณ์ หรือเครื่องมือเครื่องใช้เพื่อประโยชน์ในการใช้สอย โดย การประยุกต์ทฤษฎี หรือหลักการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการพัฒนาหรือการประดิษฐ์ดังกล่าว อาจเป็นการประดิษฐ์สิ่งใหม่ หรือการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น หรืออาจเป็นการเสนอแบบจำลองทางความคิดเพื่อแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง

4. โครงงานประเภทการสร้างทฤษฎีหรือการอธิบาย

เป็นโครงงานที่เสนอทฤษฎีหรือคำอธิบายสิ่งต่าง ๆ หรือ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นแนวคิดใหม่ ๆ โดยมีหลักการวิทยาศาสตร์ หรือทฤษฎีอื่น ตลอดจนข้อมูลต่าง ๆ สนับสนุน อาจเป็นคำอธิบายปรากฎการณ์เก่าในแนวใหม่ หรือเสนอในรูปของคำอธิบาย สูตร หรือสมการ แต่จะต้องมีข้อมูลหรือทฤษฎีอื่นมาสนับสนุนอ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น: