วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ตอนที่ 1.3 วิธีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช

วิธีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
การป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่เกษตรกรนำมาใช้มีหลายวิธี ซึ่งวิธีต่าง ๆ ใช้แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับเวลา สภาพการณ์ และความเหมาะสมของผู้ใช้
การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช มีวิธีต่างๆ หลายวิธี ซึ่งเวลาและวิธีใช้ขึ้นอยู่กับโอกาส และสภาพการณ์ความเหมาะสมด้านต่างๆ ได้แก่
1. การใช้สารเคมี (chemical control) ได้แก่ การใช้ยาฆ่าแมลง (insecticide) ยาปราบวัชพืช herbicide) ยาฆ่าหนู (rodenticide)
2. การป้องกันกำจัดโดยอาศัยหลักปฏิบัติทางการกสิกรรม (cultural control) โดย การไถพรวน หรือปลูกพืชหมุนเวียน สามารถลดศัตรูพืชลงได้
3. โดยอาศัยเครื่องมือกลต่างๆ (mechanical control) เป็นการป้องกันและกำจัด
อย่างง่าย ๆ โดยกลวิธี เช่น การใช้กับดัก การตบตี การขุดหลุมพราง ฯลฯ
4. โดยอาศัยเครื่องมือประยุกต์ทางฟิสิกส์ เช่น หลอดไฟล่อแมลง การใช้รังสีแกมม่าทำให้แมลงตัวผู้เป็นหมัน
5. การกำจัดโดยวิธีทางชีววิธี (biological control) เป็นการใช้สิ่งมีชีวิตหนึ่งไปควบคุมปริมาณสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งที่เป็นศัตรูพืช สิ่งมีชีวิตที่นำมาใช้เป็นตัวควบคุมและป้องกันกำจัด เรียกว่า ศัตรูธรรมชาติ (natural enemies) ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
5.1 ผู้ล่าหรือตัวห้ำ (predators) คือสัตว์ที่เป็นผู้ล่าหรือตัวกิน และทำลายศัตรูพืช เช่น การใช้ด้วงงวงกินผักตบชวา การใช้หอยตัวห้ำทำลายหอยทากยักษ์อาฟริกา
5.2 ตัวเบียน (parasite) เป็นสิ่งมีชีวิตที่ค่อยๆ เบียดเบียนและทำลายศัตรูพืช ให้อ่อนแอและตายในที่สุด ได้แก่ การใช้แตนเบียนทำลายหนอนผีเสื้อข้าวสาร แตนเบียน หนอนม้วนใบกล้วย
5.3 เชื้อโรค (pathogen) เป็นจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคกับศัตรูพืช เช่น
การใช้แบคทีเรียทำให้หนอนผีเสื้อกินใบส้มเป็นโรค การใช้ไวรัสทำให้หนอนกระทู้หอมเป็นโรค การใช้เชื้อราทำให้ตั๊กแตนปาทังกาเป็นโรคตาย เป็นต้น
สรุปได้ว่า การป้องกันและกำจัดศัตรูพืชทำได้หลายวิธี ซึ่งเกษตรกรสามารถนำไปใช้ตั้งแต่วิธีการง่าย ๆ โดยอาศัยเครื่องมือกลต่าง ๆ การใช้หลักปฏิบัติทางการกสิกรรม การกำจัดโดยใช้สารเคมี การกำจัดโดยวิธีทางชีววิธี ตลอดจนวิธีการที่ต้องอาศัยเครื่องมือประยุกต์ทางฟิสิกส์ โดยใช้หลอดไฟล่อแมลง การใช้แมลงกำจัดแมลงศัตรูพืช การใช้เชื้อโรคพืชกำจัดศัตรูพืช และการใช้รังสีแกมม่าทำให้แมลงตัวผู้เป็นหมัน การใช้วิธีการกำจัด-ศัตรูพืชขึ้นอยู่กับความเหมาะสม เวลา และสภาพการณ์ ซึ่งต้องคำนึงถึงความปลอดภัยต่อตนเอง ผู้อื่น และสิ่งแวดล้อม

ไม่มีความคิดเห็น: