วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สมุนไพรกำจัดศัตรูพืช

ตอนที่ 7.1 สมุนไพรที่มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช
สมุนไพรที่มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชมีหลายชนิดได้แก่
•ใบดาวเรือง ใบมะเขือเทศ ใบคำแสด ใบน้อยหน่า ใบยอ
•ใบลูกสบู่ต้น ใบลูกเทียนหยด ใบมะระขี้นก ใบผกากรอง
•เปลือกว่านหางจระเข้ ว่านน้ำ เมล็ดโพธิ์ เมล็ดแตงไทย ดีปลี
•เปลือกมะม่วงหิมพานต์ ดอกลำโพง ดอกเฟื่องฟ้าสด พริก
•กลีบดอกชบา ลูกทุเรียนเทศ รากเจตมูลเพลิงแดง ตะไคร้แกง
•หางไหลขาว (โล่ติ่น) หางไหลแดง (กะเพียด) ยาสูบ (ยาฉุน)
•เถาบอระเพ็ด สาบเสือ พริกไทย ข่าแก่ ขมิ้นชัน ตะไคร้หอม
•โหระพา สะระแหน่ กระเทียม กระชาย กะเพรา
ตอนที่ 7.2 สมุนไพรที่มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัดหนอนชนิดต่าง ๆ
สมุนไพรที่มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัดหนอนชนิดต่าง ๆ ได้แก่
•สะเดา (ใบ+ผล) หนอนตายหยาก ใบดาวเรือง ใบมะเขือเทศ ใบคำแสด ใบน้อยหน่า ใบยอ หัวกลอย เมล็ดละหุ่ง
•หางไหลขาว (โล่ติ่น) หางไหลแดง (กะเพียด) ยาสูบ (ยาฉุน)
•ฝักคูณแก่ ใบเลี่ยน ควินิน (ใบ+ลูก) สบู่ต้น (ใบ+เมล็ด)
•ใบลูกเทียนหยด ใบมะเขือเทศ ใบยอ เข็มขาว เปลือกใบเข็มป่า
•เปลือกต้นจิกและจิกสวน ต้นส้มเช้า เมล็ดมันแกว เถาบอระเพ็ด
•สาบเสือ ขมิ้นชัน ข่าบ้าน บัวตอง สบู่ดำ โหระพา
•สะระเหน่ กระเทียม กระชาย กะเพรา
ดาวเรือง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tagetes erecta Linn.
ชื่อวงศ์ COMPOSITAE
ชื่อสามัญ African marigold
ชื่อท้องถิ่น ดาวเรือง
ถิ่นกำเนิด ประเทศเม็กซิโก อเมริกาใต้
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ปักชำยอด
ประโยชน์ของดาวเรือง
1. เมล็ดใช้ทำอาหารสัตว์ เนื่องจากดาวเรืองเป็นพืชที่สารแซธโธฟิล (Xanthophyll) สูง จึงสามารถนำไปเป็นส่วนผสมอาหารสัตว์ได้ดี โดยเฉพาะอาหารของของไก่ไข่จะทำให้ไข่แดงมีสีแดงสดใสน่ากินยิ่งขึ้น เนื่องจากดาวเรืองเป็นพืชที่สารแซธโธฟิล
2. ปลูกประดับเพื่อความสวยงาม
3. ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ในการป้องกันแมลง เนื่องจากดาวเรืองเป็นสารที่มีกลิ่นเหม็น (ฉุน) แมลงไม่ชอบ จึงสามารถใช้เป็นเกราะป้องกันแมลงให้แก่พืชอื่น ๆ ด้วย นอกจากนี้รากของดาวเรืองยังมีสารชนิดหนึ่งที่ช่วยลดปริมาณไส้เดือนฝอยในดินได้
4. ปลูกเพื่อจำหน่าย
ศัตรูเป้าหมาย
เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยหอย เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว ตั๊กแตนแมลงวันผลไม้ หนอนผีเสื้อกะโหลก หนอนใยผัก ไส้เดือนฝอย หนอนกะหล่ำปลี
ด้วงปีกแข็ง
วิธีทำน้ำดอกดาวเรืองสำหรับฉีดพ่นกำจัดศัตรูพืช
วิธีเตรียมและการใช้
1. นำดอกดาวเรืองจำนวน 500 กรัม ต้มในน้ำ 4 ลิตร
2. ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วกรองเอาน้ำด้วยผ้าขาวบาง ๆ
3. ผสมน้ำลงไปอีก 4 ลิตร
4. ก่อนนำไปใช้ให้ผสมสารจับใบ เช่น แฟ๊บ ซันไลด์ หรือ แชมพู ในอัตราส่วน 1 ช้อนโต๊ะ
5. ใช้ฉีดพ่นบริเวณต้นพืชที่มีศัตรูพืช 2 ครั้ง (วันละ 1 ครั้งติดต่อกัน 2 วัน)


กระเทียม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Allium sativum Linn.
ชื่อวงศ์ ALLIACEAE
ชื่อท้องถิ่น หอมเทียม ภาคเหนือ) เทียม หัวเทียม (ภาคใต้) กระเทียม (ภาคกลาง) กระเทียมขาว หอมขาว (อุดรธานี) ปะเซว้า (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน)
คุณค่าทางอาหารของกระเทียม
1. มีคาร์โบไฮเดรต 31 % ไขมัน 0.2 % โปรตีน 6 % และน้ำ 61 %
2. มีปริมาณเกลือแร่ในกระเทียม ดังตาราง 8

แสดงปริมาณเกลือแร่ต่อกระเทียม 100 กรัม

เกลือแร่ มิลลิกรัม (mg)
แคลเซียม 29
ฟอสฟอรัส 202
เหล็ก 0.5
โซเดียม 19
โพแทสเซียม 529
ที่มา : กระเทียม. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน, 2549, จาก http://www.geocities.com/psplant/ps_seminar_Chotima.htm
3. ปริมาณวิตามินในกระเทียมดิบ ดังตาราง 9
ตาราง 9 แสดงปริมาณวิตามินต่อกระเทียม 100 กรัม

วิตามิน มิลลิกรัม (mg)
A น้อย
B1 (ไทอามีน) 0.25
B2 (ไรโบฟลาวีน) 0.08
นิโคติมาไมด์ 0.5
C 15
ที่มา : กระเทียม. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน, 2549, จาก http://www.geocities.com/psplant/ps_seminar_Chotima.htm
ประโยชน์กระเทียม
1. การปลูกกระเทียมสลับกับพืชอื่น ชาวไร่มีวิธีการปลูกพืชหลายชนิดสลับร่องกัน เชื่อว่าพืชบางชนิดปลูกรวมกัน พืชอีกอย่างหนึ่งทำให้แมลงศัตรูพืชไม่มารบกวนพืชที่ปลูก พืชที่ใช้ไล่แมลง คือ กระเทียม กระเทียมต้องการเนื้อที่ไม่มากในการปลูก ดูแลไม่ยาก และกระเทียมไม่แย่งอาหารพืชหลัก และรากชอนไชไปได้ไม่ไกล บันทึกตั้งแต่โบราณกระเทียมสามารถ
ฆ่าแมลงศัตรูพืช
2. กระเทียมแปรรูป เช่น กระเทียมแคปซูลบรรจุน้ำมันกระเทียมบริสุทธิ์ไว้ กระเทียมโทนดองสมุนไพร
3. กระเทียมเป็นยาฆ่าแมลง มีสารออกฤทธิ์ต่อแมลงศัตรูพืชทั้งทางตรงและทางอ้อม
3.1 ทางตรง คือ แมลงได้รับสมุนไพรแล้วตายทันที
3.2 ทางอ้อม คือ แมลงได้รับสมุนไพรยังไม่ตายทันทีมีผลต่อระบบสรีระของแมลง ทำให้แมลงผิดปกติ เช่น ยับยั้งการกินอาหารมีผลต่อการเจริญเติบโต แมลงบางชนิดไม่สามารถลอกคราบ ไม่สามารถเจริญเป็นตัวเต็มวัยหรือไม่สามารถวางไข่ได้ การเก็บเกี่ยวพืชสมุนไพร เพื่อใช้ในการป้องกันแมลง พืชที่ใช้หัวและรากเก็บในระยะที่เริ่มมีดอก เพราะระยะนี้ต้นพืชจะมีการสะสมสารต่าง ๆ ไว้ที่รากเก็บในช่วงฤดูหนาวหรือปลายฤดูร้อน

กระเทียมกำจัดศัตรูพืช
ประสิทธิภาพของกระเทียมเป็นยาฆ่าแมลง สารขับไล่แมลง สารหยุดยั้งการกินอาหาร ยากันเชื้อรา แบคทีเรีย ไส้เดือนฝอยในดิน หมัด เห็บ

ศัตรูเป้าหมาย
เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว ไส้เดือนฝอย โรคราน้ำค้าง โรคราสนิม

การทำน้ำกระเทียมสำหรับฉีดพ่นกำจัดศัตรูพืชมี 2 วิธี คือ
วิธีที่ 1
โขลกกระเทียม 0.5 กิโลกรัม แช่ในน้ำมันก๊าด 80 ช้อนชา ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง
นำสบู่ละลายน้ำ 2.5 ลิตร เติมผสมน้ำ 1 เท่า ก่อนนำไปฉีดพ่น
วิธีที่ 2
บดกระเทียม 2 หัวใหญ่ และพริก 2 ช้อนชาให้ละเอียด ใส่ในน้ำร้อน 4 ลิตร
เติมสบู่ลงไปเล็กน้อย กรองแล้วนำไปใช้กับแมลงกระทู้ผลไม้

ตะไคร้หอม

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon nardus Rendie.
ชื่อวงศ์ GRAMINEAE
ชื่ออังกฤษ Citronella grass
ชื่อท้องถิ่น จะไคมะขูด ตะไครมะขูด ตะไคร้แดง
ประโยชน์ตะไคร้หอม
ใบและกาบใบมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมี Geraniol และ Citronellal เป็นส่วนประกอบสำคัญ มีฤทธิ์ในการไล่แมลง
ศัตรูเป้าหมาย
หนอนกระทู้ หนอนใยผัก

การทำน้ำตะไคร้หอมสำหรับฉีดพ่นกำจัดศัตรูพืช
วิธีเตรียมและการใช้
1. นำต้นตะไคร้หอม ใช้ทั้งเหง้าและใบหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วบดหรือโขลกให้ละเอียด จำนวน 400 กรัม
2. ผสมลงในน้ำ 8 ลิตร ทิ้งไว้นาน 24 ชั่วโมง
3. กรองเอาน้ำด้วยผ้าบางบาง
4. ก่อนนำไปใช้ให้ผสมกับสารจับใบ เช่น แฟ๊บ ซันไลด์ หรือแชมพู ในอัตราส่วน 1 ช้อนโต๊ะ
5. ใช้ฉีดพ่นทุก ๆ 7 วัน

บอระเพ็ด

ชื่อวิทยาศาสตร์ Tinospora crispa Miers
ชื่อวงศ์ MENISPERMACEAE
ชื่อท้องถิ่น
จุ่งจริงตัวแม่ เจ็ดมูลย่าน เจ็ดมูลหนาม จุ่งจิง เครือเขาฮ่อ ตัวเจ็ดมุลย่าน เถาหัวด้วน เจ็ดหมุนปลูก
ศัตรูเป้าหมาย
เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น หนอนกอ โรคยอดเหี่ยว โรคข้าวตายพราย โรคข้าวลีบ
การทำน้ำบอระเพ็ดสำหรับฉีดพ่นกำจัดศัตรูพืช
วิธีเตรียมและการใช้
1. นำเถาบอระเพ็ดสด 5 กิโลกรัม หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วบดหรือโขลกให้ละเอียด
2. ผสมน้ำ 12 ลิตร ทิ้งไว้นาน 2 ชั่วโมง
3. กรองเอาน้ำด้วยผ้าบางบาง
4. ก่อนนำไปใช้ให้ผสมกับสารจับใบ เช่น แฟ๊บ ซันไลด์ หรือแชมพู ในอัตราส่วน 1 ช้อนโต๊ะ
5. ใช้ฉีดพ่น 2 ครั้ง (วันละ 1 ครั้ง) เวลามีปัญหาศัตรูพืช

สาบเสือ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Chromolaena odoata ( Linn) R.M. King
ชื่อวงศ์ COMPOSITAE
ชื่อท้องถิ่น สาบเสือ หญ้าดงร้าง หญ้าดอกขาว หมาหลง บ้านร้าง
ศัตรูเป้าหมาย
เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยหอย เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ หนอนใยผัก
หนอนกระทู้กัดต้น หนอนกระทู้ควายพระอินทร์
การทำน้ำสาบเสือสำหรับฉีดพ่นกำจัดศัตรูพืช
วิธีเตรียมและการใช้
1. นำใบสาบเสือจำนวน 1 กิโลกรัม บดหรือโขลกให้ละเอียด
2. ผสมน้ำในอัตราส่วนใบสด 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 5 ลิตร หรือใบแห้ง 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ทิ้งไว้นาน 24 ชั่วโมง
3. กรองเอาน้ำด้วยผ้าบางบาง
4. ก่อนนำไปใช้ให้ผสมกับสารจับใบ เช่น แฟ๊บ ซันไลด์ หรือแชมพู ในอัตราส่วน ครึ่งช้อนโต๊ะต่อน้ำ 5 ลิตร หรือ 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร
5. ใช้ฉีดพ่นทุก ๆ 7 วันในช่วงเวลาเย็น

สะเดา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Azadirachta indica Juss. Var. siamensis Valeton
ชื่อวงศ์ MELLACEAE
ชื่อท้องถิ่น
กะเดา (ภาคใต้) จะตัง (ส่วย) สะเดา (ภาคกลาง)
สะเลียม (ภาคเหนือ) สะเดาบ้าน (ทั่วไป)
ศัตรูเป้าหมาย
ด้วงหมัดผัก เพลี้ยอ่อน เพลี้ยอ่อนฝ้าย เพลี้ยจักจั่นสีเขียว ผีเสื้อมวนหวาน ตั๊กแตนหนอนกอสีครีม หนอนกอ หนอนเจาะบัว หนอนมวนใบข้าว หนอนชอนใบส้ม
หนอนใยผัก ไส้เดือนฝอย แมลงในโรงเก็บ ฯลฯ
การทำน้ำสะเดาสำหรับฉีดพ่นกำจัดศัตรูพืช
วิธีเตรียมและการใช้
1. ต้องใช้ใบสะเดาที่สด (ใบสดจะมีสีเขียวเข้ม) ไม่น้อยกว่า 2 กิโลกรัม
2. บดหรือโขลกใบสะเดาให้ละเอียดก่อนนำไปแช่น้ำ 20 ลิตร ทิ้งไว้นาน 24 ชั่วโมง
3. ก่อนนำไปใช้ให้ผสมสารจับใบ เช่น ซันไลด์ หรือแชมพู ในอัตราส่วน 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 20 ลิตร
4. ใช้ฉีดพ่นทุกๆ 6 – 10 วัน ในช่วงเวลาเย็น

สรุปได้ว่า สมุนไพรไทยมีประโยชน์มากมายทั้งด้านการป้องกันรักษาคน และการกำจัดศัตรูพืช เช่น สะเดา ตะไคร้หอม ดาวเรือง ใบสาบเสือ กระเทียม มะเขือเทศ พริกไทย พริก น้อยหน่า เป็นต้น การนำสมุนไพรมาใช้กำจัดศัตรูพืชสามารถทำได้โดยวิธีที่ง่าย ๆ ไม่สิ้นเปลืองเงินทอง ใช้ได้ผลดี และไม่มีสารพิษตกค้าง

ไม่มีความคิดเห็น: