วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553

1.1 ปุ๋ยเคมี

ปุ๋ย(Fertilizers) คือ สารอินทรีย์หรือสารอนินทรีย์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือทำขึ้นเพื่อใช้เป็นธาตุอาหารให้แก่พืช หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในดิน เพื่อบำรุงการเจริญเติบโตของพืช
ปุ๋ยแบ่งได้เป็น 3 คือ
1. ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ เป็นต้น
2. ปุ๋ยเคมี ได้แก่ ปุ๋ยแอมโมเนีย ปุ๋ยยูเรีย เป็นต้น
3. ปุ๋ยชีวภาพ ได้แก่ EM เป็นต้น
ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอนินทรีย์(Tnorganic Fertilizer) คือ ปุ๋ยสังเคราะห์มาจากสารอนินทรีย์ต่างๆ รวมทั้งสารอินทรีย์สังเคราะห์บางชนิด ปุ๋ยเคมีแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่
1. ปุ๋ยเชิงเดี่ยว เป็นปุ๋ยเคมีที่ให้แร่ธาตุที่พืชใช้เป็นอาหารได้เพียงอย่างเดียว เช่น ปุ๋ย
ยูเรียซึ่งให้ไนโตรเจน(N) ได้อย่างเดียว ปุ๋ยแคลเซียมซุปเปอร์ฟอสเฟต ให้ฟอสฟอรัส(P) ได้อย่างเดียว เป็นต้น
2. ปุ๋ยเชิงผสม เป็นปุ๋ยเคมีที่ได้จากการผสมปุ๋ยเคมีชนิดต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้ธาตุอาหารต่างๆ ตามที่ต้องการ เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟต ให้ไนโตรเจนและฟอสเฟต ปุ๋ยสูตร 15-10-20 มีไนโตรเจน 15% ฟอสฟอรัส 10% และโพแทสเซียม 20% รวมเป็นเนื้อปุ๋ย 45% ส่วนที่เหลือ 55% เป็นวัสดุอื่นๆ เช่น ดิน ทราย ขี้เลื่อย เป็นต้น
3. ปุ๋ยเชิงประกอบ เป็นปุ๋ยเคมีที่ทำขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี และมีธาตุอาหารหลักอย่างน้อยสองธาตุขึ้นไป เช่น ปุ๋ยโพแทสเซียมฟอสเฟตให้ธาตุโพแทสเซียมและฟอสฟอรัส
4. ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีปุ๋ยเคมีผสมอยู่ด้วย แต่ไม่รวมถึงปูนขาก ดินมาร์ล ปูนพลาสเตอร์ หรือยิปซัม
ธาตุอาหารหลักที่พืชต้องการมากได้แก่ ธาตุไนโตรเจน(N) ฟอสฟอรัส(P) และโพแทสเซียม(K)
ข้อดีของปุ๋ยเคมี คือ ให้ผลรวดเร็ว ใช้ในปริมาณน้อย สามารถเลือกสูตรของปุ๋ยให้เหมาะสมกับชนิดของพืช ให้แร่ธาตุมากกว่าปุ๋ยอินทรีย์ ใช้ง่าย สะดวก และสามารถเลือกใช้ได้เฉพาะแร่ธาตุที่ต้องการ
ข้อเสียของปุ๋ยเคมี คือ ราคาแพง เก็บรักษายาก ปลอมแปลได้ง่าย และมักจะมีสารตกค้าง ถ้าใช้มากเกินไปจะมีผลทำให้ดินมีสมบัติเปลี่ยนไป เช่น ทำให้ดินแข็ง ทำให้ดินเป็นกรดหรือด่างมากเกินไป

28

การใช้ปุ๋ยควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1) คุณสมบัติของปุ๋ย ปุ๋ยแต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกัน เช่น ปุ๋ยไนเตรตเมื่อละลายน้ำจะทำให้เคลื่อนที่ได้ ปุ๋ยฟอสเฟตมักจะอยู่กับที่จึงทำให้เกิดการสะสม พืชจึงนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อย เป็นต้น
2) คุณสมบัติของดิน ก่อนใส่ปุ๋ยควรคำนึงถึงสมบัติของดิน ปริมาณของธาตุอาหารที่อยู่ในดิน รวมทั้งสภาพความเป็นกรด – ด่างของดิน เช่น ถ้าดินมีสภาพเป็นเบสสูง ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในรูปของแอมโมเนียม หรือดินอยู่ในสภาวะเป็นกรดก็ไม่ควรใช้ปุ๋ยที่มีผลตกค้างเป็นกรด เป็นต้น
3) สภาพภูมิอากาศ เช่น ปริมาณน้ำฝน น้ำในดิน น้ำที่จัดหาให้ ถ้ามีปริมาณต่ำไม่ควรใสปุ๋ยลงไปมากๆ เพราะสูญเสียโดยเปล่าประโยชน์ นอกจากนี้แสงแดดก็ต้องคำนึงถึงด้วย ถ้าแสงแดดจัดควรให้ปุ๋ยในปริมาณที่มาก โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน
4) ชนิดและอายุของพืช พืชต่างชนิดกันและในช่วงระยะการเจริญเติบโตต่างกัน ความต้องการธาตุอาหารจะแตกต่างกัน
5) ลักษณะการเตรียมดิน การเตรียมดินดีจะทำให้รากพืชแพร่กระจายไปทั่ว เมื่อใส่ปุ๋ยลงไปรากจะดูดซึมปุ๋ยไปใช้มาก และการให้ปุ๋ยแก่พืชที่ปลูกหนาแน่นและปลูกเว้นระยะห่างๆ กันก็แตกต่างกันโดยจะต้องให้ปุ๋ยในปริมาณมากแก่พืชที่ปลูกหนาแน่น และให้ปุ๋ยในปริมาณน้อยลงไปเมื่อเว้นระยะต้นพืชมากขึ้น)
ปุ๋ยเคมีมาตรฐาน คือ ปุ๋ยเคมีที่รัฐมาตรีประกาศกำหนดสูตรและปริมาณขั้นต่ำหรือขั้นสูงของธาตุอาหารหรือสารเป็นพิษ และลักษณะจำเป็นอย่างอื่นของปุ๋ยเคมีแต่ละชนิด และมีแร่ธาตุตรงตามสูตรปุ๋ยที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช บางทีเรียกว่า ปุ๋ยจริง
ปุ๋ยเคมีเสื่อมคุณภาพ คือ ปุ๋ยเคมีที่ล่วงอายุหรือถูกกระทบกระเทือนด้วยปัจจัยใดๆ อันทำให้เสื่อมคุณภาพโดยธาตุอาหารลดน้อยลงหรือเปลี่ยนสภาพไป
ปุ๋ยเคมีด้อยมาตรฐาน คือ ปุ๋ยที่มีส่วนประกอบของแร่ธาตุมากกว่าสิบเปอร์เซ็นต์ แต่ไม่เต็มตามจำนวน ที่กำหนดไว้
ปุ๋ยปลอม คือ ปุ๋ยที่ไม่มีธาตุอาหารหลักที่พืชต้องการมีแต่ดิน แคลเซียมคาร์บอเนต แคลเซียมไฮดรอกไซด์ หรือสารชนิดอื่น ซึ่งไม่เป็นประโยชน์ต่อพืช หรือเป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารหลักที่พืชต้องการ แต่มีปริมาณไม่ถึงสิบเปอร์เซ็นต์ของปริมาณที่บอกไว้
ปุ๋ยปลอมมักจะมีลักษณะเม็ดปุ๋ยไม่สม่ำเสมอ แข็ง และไม่แตกยุ่ยง่ายๆ ส่วนปุ๋ยจริงมักจะมีลักษณะเม็ดปุ๋ยสม่ำเสมอ แตกยุ่ยง่ายเมื่อใช้มือบีบหรือเปียกน้ำ
วิธีสังเกตลักษณะปุ๋ยปลอมอาจใช้วิธีต่อไปนี้
1. ราคาถูกกว่าปกติ
2. ไม่มีเลขที่อนุญาต ชื่อผู้ผลิตจำหน่าย
3. การระบุเปอร์เซ็นต์ธาตุอาหารแต่ละชนิดบนกระสอบปุ๋ยไม่ชัดเจน
4. ถุงที่บรรจุปุ๋ยมักจะฉีกขาดได้ง่าย และการเย็บปากถุงมักไม่เรียบร้อย
การตรวจสอบปุ๋ย สามารถตรวจสอบด้วยวิธีง่ายๆ มีดังนี้
1) สังเกตเม็ดปุ๋ย ถ้าเป็นปุ๋ยจริงขนาดของเม็ดปุ๋ยจะโตสม่ำเสมอกัน
2) ใช้นิ้วมือบีบ ถ้าเป็นปุ๋ยจริงจะแตกยุ่ยง่าย แต่ถ้าเป็นปุ๋ยปลอมจะแข็งไม่แตกยุ่ยง่าย
3) หยดน้ำไปบนเม็ดปุ๋ย ถ้าเป็นปุ๋ยปลอม เมื่อถูกน้ำจะอ่อนนุ่มทันทีและละลายน้ำได้ง่าย
4) นำเม็ดปุ๋ยมา 10 เม็ด แล้วหยดสารละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์ (Ca(OH)2) หรือน้ำปูนใสลงไปหรือจะใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) แทนก็ได้ แล้วทิ้งไว้สักครู่ ถ้าเป็นปุ๋ยจริงจะมีกลิ่นแอมโมเนียม ซึ่งแสดงว่าเป็นธาตุไนโตรเจน
5) นำปุ๋ยมาประมาณ 10 เม็ด หยดกรดแอซิติก(น้ำส้มสายชู) ลงไปที่เม็ดปุ๋ย ถ้ามีฟองแก๊สเกิดขึ้น แสดงว่าเป็นปุ๋ยปลอม ถ้าไม่มีฟองแก๊สแสดงว่าเป็นปุ๋ยจริง
หลักการใช้ปุ๋ย มีดังนี้
1. ใส่บริเวณรอบเขตของรากพืช แต่ไม่ชิดกับโคนต้นมากเกินไป
2. ควรใส่ในขณะที่ดินมีความชื้น หรือให้น้ำตามหลังจากใส่ปุ๋ย
3. ปรับปรุงสภาพดินที่เป็นกรด เป็นด่างให้เหมาะสมก่อนที่จะใส่ปุย
4. พื้นดินที่เป็นทราย ควรใส่ปุ๋ยทีละน้อยหลายๆ ครั้ง เพื่อป้องกันการชะล้าง
5. ถ้าใส่ปุ๋ยแบบหว่าน ควรไถกลบปุ๋ยนั้นด้วย
6. ปุ๋ยฟอสเฟตควรใส่ใกล้รากพืช เพื่อพืชจะได้ดูดซึมง่าย เพราะปุ๋ยฟอสเฟตเคลื่อนที่ได้ยาก
7. การใช้ปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพสูง ควรใช้ทั้งปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีร่วมกัน
Fertilizers. วัตถุที่ใส่ลงไปในดินเพื่อให้สารประกอบของธาตุที่จำเป็นต่อชีวิตของพืช; โดยเฉพาะก็มีธาตุไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม. ไนโตรเจนได้จากไนเตรต, เกลือแอมโมเนียต่างๆ, แคลเซียมไซยานาไมด์ เป็นต้น, ฟอสฟอรัสได้จาก superphosphate, basic slag, ฟอสเฟตต่างๆ ฯลฯ โพแทสเซียม. โพแทสเซียมได้จากเกลือโพแทสเซียมในธรรมชาติ, ผลผลิตจากการสลายตัวทางอินทรีย์ของของทิ้ง, มูลสัตว์ ฯลฯ, มีธาตุเหล่านี้และธาตุอย่างอื่นที่จำเป็นสำหรับพืช, และเป็นปุ๋ยได้อย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น: