วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ปุ๋ยอินทรีย์

ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยธรรมชาติ(Organic Fertilizer) คือ ปุ๋ยที่ได้จากสิ่งมีชีวิตที่ตายและถูกทับถมกันนานๆ จนเกิด การเน่าเปื่อยสลายตัวและให้แร่ธาตุต่างๆ ที่พืชต้องการ
ปุ๋ยอินทรีย์แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
1) ปุ๋ยหมัก คือ ปุ๋ยที่ได้จากการหมักเศษพืช เช่น หญ้าแห้ง ใบไม้ ฟางข้าว ฯลฯ ให้เน่าเปื่อยเสียก่อนจึงนำไปใส่ในดินเป็นปุ๋ย หรือปุ๋ยที่เกิดจากการหมักซากพืชและซากสัตว์ มักจะใส่แอมโมเนียมซัลเฟต (NH4)2 SO4 และแคลเซียมคาร์บอเนต CaCO3 หรือแคลเซียมไฮดรอกไซด์ Ca(OH)2 ลงไปเพื่อเป็นอาหารของจุลินทรีย์ และปรับสภาพความเป็นกรดด่างของปุ๋ย
ปุ๋ยเทศบาลที่บรรจุถุงขายในชื่อของปุ๋ยอินทรีย์เบอร์ต่างๆ คือปุ๋ยหมักที่ได้จากการนำขยะจากเมือง พวกเศษพืช เศษอาหารเข้าโรงหมักเป็นขั้นเป็นตอนจนกลายเป็นปุ๋ย
2) ปุ๋ยคอก คือ ปุ๋ยที่ได้จากมูลสัตว์ เช่น หมู วัว ควาย เป็ด ไก่ ค้างคาว เป็นต้น
ปุ๋ยคอกมีปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมค่อนข้างต่ำ โดยหยาบๆ แล้วก็จะมีไนโตรเจนประมาณ 0.5 % N ฟอสฟอรัส 0.25% P2 05 และโพแทสเซียม 0.5% K2 0
ปุ๋ยขี้ไก่และขี้เป็ด จะมีปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าขี้หมู และขี้หมูจะมีปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าขี้วัวและขี้ควาย ปุ๋ยคอกใหม่ๆ จะมีปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าปุ๋ยคอกที่เก่าและเก็บไว้นาน
3) ปุ๋ยพืชสด คือ ปุ๋ยที่ได้จากการปลูกพืชบำรุงดิน ได้แก่ พืชตระกูลถั่วต่างๆ แล้วทำ การไถกลบเมื่อพืชเจริญเติบโตมากที่สุด ซึ่งเป็นช่วงที่กำลังออกดอก พืชตระกูลถั่วที่ควรใช้เป็นปุ๋ยควรมีอายุสั้น มีระบบรากลึก ทนแล้ง ทนโรคและแมลงได้ดี เป็นพืชที่ปลูกง่าย และมีเมล็ดมาก ตัวอย่างพืชเหล่านี้ได้แก่ ถั่วพุ่ม ถั่วเขียว ถั่วลาย ปอเทือง ถั่วขอ ถั่วแปบ และโสน เป็นต้น
ข้อดีของปุ๋ยอินทรีย์ คือ
- ราคาถูก
- ช่วยกำจัดของเสีย
- ช่วยปรับสภาพของดินให้ดีขึ้น โดยเฉพาะคุณสมบัติทางกายภาพของดิน เช่น ความโปร่ง ความร่วนซุย ความสามารถในการอุ้มน้ำ และการปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
- อยู่ในดินได้นานและค่อยๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารพืชอย่างช้าๆ จึงมีโอกาสสูยเสียน้อยกว่าปุ๋ยเคมี
- เมื่อใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมี จะส่งเสริมปุ๋ยเคมีให้เป็นประโยชน์แก่พืชอย่างมีประสิทธิภาพมีธาตุอาหารรอง/เสริม อยู่ครบถ้วนตามความต้องการของพืช
- ส่งเสริมให้จุลทรีย์ในดินโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกที่มีประโยชน์ต่อการบำรุงดินให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ข้อเสียของปุ๋ยอินทรีย์ คือ
- ให้แร่ธาตุต่ำ ต้องใช้ในปริมาณมาก
- ให้ผลช้ากว่าปุ๋ยเคมี ที่จะปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ให้แก่พืช
- ราคาแพงกว่าปุ๋ยเคมี เมื่อคิดเทียบในแง่ราคาต่อหน่วยน้ำหนักของธาตุอาหารพืช
- สิ้นเปลืองค่าแรงงานและค่าขนส่งสูง
- มีกลิ่น และอาจมีเชื้อรา เมล็ดวัชพืช ไส้เดือนฝอยปนมากับปุ๋ยได้
- หายาก พิจารณาในด้านเมื่อต้องการในปริมาณมาก
- ถ้าใส่สารอินทรีย์มากเกินไป เมื่อการชะล้างจะทำให้เกิดการสะสมของไนเตรตในน้ำใต้ดินซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้
- การใช้สารอินทรีย์ที่สลายตัวยาก เช่น เมื่อใช้ขี้เลื่อยสดเป็นวัสดุคลุมดิน จะทับถมกันแน่น เกิดสภาพดินไร้ออกซิเจน ทำให้อุณหภูมิสูงมาก
- การใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากของเหลือทิ้งจากท่อระบายน้ำโสโครกตามบ้านเรือน ก่อให้เกิดการปนเปื้อนของโลหะหนักหลายชนิดที่เป็นพิษ เช่น ตะกั่ว ปรอท
- การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ยังสลายตัวไม่เต็มที่หรือยังอยู่ระหว่างการย่อยสลายจะทำให้เกิดความร้อนจากการย่อยสลาย เป็นอันตรายต่อรากพืชได้
ปุ๋ยชีวภาพ (Biofertilizer) เป็นปุ๋ยที่เป็นสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะแบคทีเรียและสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่สามารถตรึกไนโตรเจนจากอากาศได้ นักวิทยาศาสตร์จึงได้นำสิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้มาใช้ประโยชน์กับพืช
การปลูกพืชตระกูลถั่งจะช่วยในการบำรุงดิน เพราะที่ปมรากของพืชตระกูลถั่วจะมีแบคทีเรียชื่อ ไรโซเบียม (Rhizobium) อาศัยอยู่ โดยแบคทีเรียชนิดนี้มีความสามารถสร้างปมที่รากของพืชตระกูลถั่ว ละไรโซเบียมภายในปมถั่วนี้จะทำงานร่วมกับถั่วในการตรึงไนโตรเจนได้ ไรโซเบียมแต่ละชนิดมีความสามารถในการทำงานเฉพระกับถั่วแต่ละพันธุ์หรือแต่ละสกุล
การตรึงไนโตรเจน (Nitrogen Fixation) เป็นกระบวนการที่จุลินทรีย์พวกหนึ่ง เช่น แบคทีเรีย สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินและแอคติโนมัยซิส สามารถที่จะเปลี่ยนแก็สไนโตรเจนในอากาศให้เป็นสารประกบของไนโตรเจนที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้
การตรึงไนโตรเจนของพืชตระกูลถั่วจะเกิดมากขึ้นพร้อม ๆ กับการเจริญเติบโตของพืช และการตรึงไนโตรเจนนี้จะเกิดสูงสุดในช่วงของการสร้างเมล็ด

ปมรากถั่วที่มีประสิทธิภาพในการตรึงแก็สไนโตรเจนจะมีลักษณะภายในเป็นสีชมพู ปมรากถั่วจะเกิดได้มากและทำหน้าที่ได้ดีเมื่อในดินมีเชื้อไรโซเบียมอยู่มากมีธาตุไนโตรเจนน้อย มีค่า pH ระหว่าง 5.5- 6.5 (ไม่เป็นกรดหรือเบสมากเกินไป) มีน้ำและธาตุอาหารในดินมากพอ โดยเฉพาะฟอสฟอรัส และรับแสงแดดมากพออุณหภูมิประมาณ 20-30 C
การปลูกพืชตระกูลถั่วเพื่อบำรุงดิน ควรคลุกเชื้อไรโซเบียมเสมอ ในกรณีต่อไปนี้
1) เมื่อปลูกถั่วชนิดนั้นเป็นครั้งแรก
2) เมื่อจะปลูกถั่วในดินที่ไม่เคยปลุกถั่วชนิดมาเป็นเวลาหลายปี
3) เมื่อจะปลูกถั่วในดินทราย ดินเปรี้ยว หรือดินที่มีความชุ่มชื้นมากเกินไป
กรณีข้างต้นการที่ต้องคลุกเชื้อไรโซเบียมเสมอเนื่องจากสภาพดินมักจะมัปริมาณเชื้อ
ไรโซเบียมอยู่ในดินน้อย
 ข้อควรคำนึงเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ย
1) ควรใช้ปุ๋ยเมื่อดินขาดธาตุอาหารเท่านั้น ไม่ควรใช้ปุ๋ยในกรณีที่ดินมีความอุดม
สมบูรณ์อยู่แล้ว เพราะจะไปทำให้พืชพืชเจริญเติบโตทางใบมาก แต่ผลผลิตจะลดลง เช่น ข้าว พืชตระกูลถั่ว และไม้ผลชนิดต่าง ๆ
2) ควรใช้ปุ๋ยในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะจะทำให้ได้ผลผลิตสูงกำไรมาก ไม่ควรใส่
ปุ๋ยมากเกินไปเพราะถึงแม้จะให้ผลผลิตสูง แต่ก็ทำให้ได้ต้นทุนสูงขึ้นไปด้วย และไม่ควรใส่ปุ๋ยน้อยเกินไป เพราะจะทำให้ได้ผลผลิตต่ำและกำไรน้อย
3) ไม่ควรใช้ปุ๋ยเคมีติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้ดินแข็ง เม็ดดินเกาะกันแน่นเกินไปเป็นผลให้การหมุนเวียนของน้ำ อากาศ และแร่ธาตุไม่สะดวก
ดั้งนั้นวิธีที่ดีที่สุดในการใช้ปุ๋ย ก็คือ ควรใช้ปุ๋ยธรรมชาติควบคู่ไปกับป๋ยเคมีในเวลาเดี่ยวกันในสัดส่วนที่พอเหมาะกับดินที่ขาดธาตุอาหารเท่านั้น

EM(Effective Microorganisms) เป็นปุ๋ยชีวภาพ เพราะประกอบด้วยจุลินทรีย์ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ การทำ EM เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2525 เพื่อปรับปรุงดินให้สมบูรณ์ ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช โดยขบวนการธรรมชาติที่จะไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง และได้มี การประยุกต์ใช้ในด้านปศุสัตว์ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การบำบัดขยะและสุขอนามัย จุลินทรีย์ EM ยังมีความสามารถพิเศษในกระบวนการบำบัดและปรับปรุงคุณภาพน้ำอีกด้วย
จุลินทรีย์ ใน EM ได้แก่
Photosynthetic Bacteria เป็นจุลินทรีย์หลักที่อยู่ใน EM ช่วยในการย่อยสลายสารที่เป็นอันตรายรวมทั้ง สังเคราะห์สารแอนติออกซิแดนท์ ได้ด้วย
Lactic Acid Bacteria ช่วยในกระบวนการหมักสังเคราะห์กรดอินทรีย์ที่ช่วยต้านทานโรค
Yeasts ช่วยในกระบวนการหมักและสังเคราะห์วิตามินและกรดอะมิโน(โปรตีน)

Fermentative Fungi ช่วยสังเคราะห์กรดอะมิโน แป้งและน้ำตาล ปกติจะช่วยใน
การหมักเหล้า สาเก และถั่วเหลือง
Actinomycetes เป็นจิลินทรีย์ที่หลากหลายในปุ๋ยหมักและดินที่อุดมสมบูรณ์ ช่วยในกระบวนการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุต่างๆ และยับยั้งเชื้อโรค

ไม่มีความคิดเห็น: